หาพื้นที่เทรด จากร่องรอยขาใหญ่
เมื่อเข้าใจตลาดทำงานอย่างไร โดยเฉพาะออเดอร์ทำงานอย่างไร ตัวเทรดเดอรมีสำคัญอย่างไร ก่อนอื่นต้องลงรายละเอียดประเภทเทรดเดอร์เพิ่ม แบ่งง่ายๆ แบบอิงออเดอร์เป็นหลัก จะมี ขาใหญ่กับรายย่อย เทรดเดอร์ประเภทขาใหญ่ เช่น พวก สถาบันการเงิน เฮดฟันด์ เพราะพวกนี้เทรดด้วยจำนวน วอลลูมต่อออเดอร์มาก เลยทำให้คนพวกนี้จำเป็นต้องหาจุดเข้าเทรด หรือออกตรงพื้นที่ที่เขาเห็นว่ามีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามมากพอกับสิ่งที่พวกเขาจะทำ เช่น ถ้าเปิด Sell ต้องมี Buy orders ตรงพื้นๆ ที่จะเปิดมากพอ หรือถ้าออเดอร์ฝั่งตรงข้ามไม่พอ พวกเขาจะเทรดพื้นที่ตรงนี้เพิ่ม จริงๆ แล้วพวกเขาจะทำอย่างไร ถ้าเรามองจากชารตย้อนหลังเพื่อศึกษาร่องรอยการเทรด วิธีการที่เห็นคือการกระจายออเดอร์ แล้วการเข้าเทรดในพื้นที่เดียวกันอีก หรือ หลังจากเปิดครั้งเริ่มต้น ปิดทำกำไรบางส่วนเหมือนราคาจะเด้งกลับ ล่อเพื่อให้ออเดอร์ใหม่เข้ามา แล้วจะได้เปิดออเดอร์เพิ่มอีก แล้วดันราคาไปต่อ
เปิด Sell ที่ เลข 1 แล้วลงไป ปิดกำไร เด้งมาหน่อย ค่อยเปิด ต่อที่ เลข 2 หรือ เปิด Buy เทรดครั้งแรกที่ 3 เพื่อเข้าตลาด เทรดครั้งที่ 4 5 6 จะเห็นการเข้าพื้นที่เดียวกัน
วิธีการเทรดแบบนี้และร่องรอยที่เปิด เปิดโอกาสให้เรารายย่อยที่อ่านราคาจากชาร์ต และเข้าใจตลาดทำงาน และเข้าใจการเทรดของขาใหญ่ สามารถเทรดไปกับขาใหญ่ได้แบบไม่ยากเกินไป
จากร่อยรอยชาร์ต เราจะพบการเทรดเกิดเป็นพื้นที่ ดังนี้หาจุดเทรดบนชาร์ตเราจะมองเป็นพื้นที่เป็นหลัก เพราะวิธีการวางและจัดการออเดอร์ของเทรดเดอร์ต่างกันไปตามการวิเคราะห์ ระยะห่างพื้นที่เลยต่างกันไป เช่น ถ้ามองพื้นที่การเทรด จาก H4 หรือ D1 ขึ้น พื้นที่เทรดก็จะมากกว่าพื้นที่ที่มาจากมุมมอง M5/M15 ของชาร์ต แต่การมองหาจุดเทรดที่มาจากแนวรับ แนวต้าน ก็แบบเดียวกัน เราต้องมองเป็นพื้นมีร่องรอยโต้ตอบ และดูการโต้อตอบล่าสุดประกอบ
การโต้ตอบล่าสุดแต่ละพื้นที่สำคัญมาก เพราะราคาจะบอกว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น อาจมองผ่านลักษณะผลหลังราคาถึงพื้นที่แล้วโต้ตอบ หรือ มองผ่านแท่งเทียน เช่นอย่าง Pin Bar หรือ Engulfing Bar (การมองผ่านแท่งเทียน แนะให้ดู 2-3 timeframes) เมื่อพวกนี้เกิดขึ้นเราต้องมองวิเคราะห์ว่าออเดอร์ที่จะเกิดตามมาจะมาทางที่เราเทรดหรือไม่ ทั้งจากเทรดเดอร์ที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดเพื่อหาโอกาสออก ถ้าเห็นพวกนี้ชัด ความเป็นไปได้จุดที่เราเทรดก็จะสูงขึ้น โอกาสเทรดและกำไรก็มากขึ้น
จากภาพแรก เราจะเห็นว่าถ้าเราเป็นรายย่อย บางจุดเราจะเห็นโอกาสเทรดยาก เข่น เลข 1 3 และ 4 เพราะด้วยจำนวนออเดอร์เราที่เป็นรายยอ่ย ไม่มากแบบขาใหญ่ แต่ ตรงจุดเลข 2 5 6 เป็นจุดที่เทรดง่ายเพราะร่องรอยเปิดเผยชัดเจน พร้อมด้วยเงื่อนไขออเดอร์ที่จะตามมา จะเปิดโอกาสให้เราเทรดไปกับขาใหญ่ได้ง่าย
พื้นที่ที่เกิดการเทรดและร่องรอยที่เปิดเผย จึงจะเป็นสิ่งสำคัญ Technical analysis ตรงนี้อาจอธิบายด้วยแนว Supply/Demand ได้ง่ายขึ้น เพราะเวาลมองพื้นที่ออเดอร์ เราจะมองเป็น order clustering หรือออเดอร์สะสมกันมากอยู่แถวไหนเยอะ เพราะก่อนจะเกิด ความไม่สมดุลย์ออเดอร์ (ยิ่งมากยิ่งดี) ที่เป็นตัวยืนยัน ว่า ฝ่ายไหนชนะ ระหว่า Buy Orders และ Sell Orders พื้นที่ก่อนความสมดุลย์เกิดขึ้นเรืยกว่า Base เลยทำให้เกิดรูปแบบต่างๆ ของ Demand/Supply คือ Drop-Base-Rally/Rally-Base-Rally สำหรับ Demand และ Rally-Base-Drop/Drop-Base-Drop สำหรับ Supply โดยดูโครงสร้างการเคลื่อนไหวราคาก่อนและหลัง Base เป็นหลัก
หลักการของ Supply/Demand ดูลักษณะความไม่สมดุลที่เกิด ที่เป็น market orders ที่เข้ามามากและต่อเนื่องช่วงนั้น ถ้าดูจากแท่งเทียนประกอบจะเห็นแท่งเทียนที่ยาวๆ ไม่กี่แท่ง หรือใช้เวลาไม่นานในการสร้างความไม่สมดุลย์ เราก็มองไปที่ต้นตอ หรือพื้นที่ราคาสู้กัน หรือ Base ก่อนเกิด ความไม่สมดุลย์ พื้นที่ Base ก็สำคัญถ้าจำนวน Market orders ที่เข้ามาเยอะ เกิน Limit orders หลายเท่า เราก็จะเห็นพื่นที่ Base จำนวนบาร์น้อย เราก็จะได้ต้นตอ หรือจุดอ้างอิงการหาโอกาสเทรด Supply/Demand เมื่อราคากลับมาพื้นที่นั้นอีกรอบ เพราะเมื่อความไม่สมดุลย์เกิดขึ้น ข้อมูลในการวิเคระห์ของเทรดเดอร์เพื่อรอเข้าตลาดเปลี่ยนไป และพวกที่เข้าเทรดตอนความไม่สมดุลย์และราคาได้วิ่งสวนกับทางคาดการณ์มาระยะหนึ่ง (trapped traders) แบกรับความกดดันเพราะติดลบ พอราคากลับมาที่เดิมอีกรอบ ถ้าข้อมูลที่เปิดเผยจากการโต้ตอบของราคา ไม่เป็นอย่างที่พวกเขาคาดการณ์ เทรดเดอร์ (trapped traders) ที่ติดลบพวกนี้ก็จะเริ่มออกจากตลาดเป็นหลัก เพราะไม่อยากติดลบอีก หรือปิดเสียให้น้อยที่สุด 1. การกระทำแบบนี้ของพวก trapped traders ก็จะป้อนออเดอรตรงข้ามที่เขาติดลบเข้าตลาดมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าจำนวนออเดอร์พวกนี้เยอะ ออเดอร์ที่เกิดจากการออกจากตลาดก็จะเข้ามาเยอะ 2. กลุ่มที่เห็น Demand/Supply เกิดขึ้นแล้ว รอเทรดเมื่อราคากลับมาก็จะได้โอกาสเข้าเทรด และ 3. ออเดอร์ขาใหญ่ที่ต้องการเปิดเพิ่มอีก ออเดอร์ที่มาจากเหตผลเหล่านี้ก็จะทำให้ราคาเด้งจาก Supply/Demand ได้เร็ว
อีกอย่างที่ต้องใส่ใจคือโครงสร้างราคาที่เกิดขึ้นตอนราคาวิ่งเข้าหา พื้นที่เป็น Supply/Demand ว่ามีการสร้าง Supply/Demand ย่อยใหม่เกิดขึ้นเปล่า หรือเกิดขึ้นจริงแต่มี Market orders เข้าไปลดจำนวนตาม Base ย่อย ตอนราคามาหา Supply/Demand ถ้ากรณีหลังเกิดขึ้น ก็จะทำให้ราคาขึ้น-ลงไม่ยากเพราะ limit orders ตาม Base ที่เกิดตอนราคาวิ่งมาโดน filled ไปแล้ว. และหลังจากวิเคระห์และคาดการณ์ว่าจะเปิดออเดอร์ไปทางไหนแล้วก็ทำการเปิดออเดอร์ เราต้องมองว่าทางที่ราคาจะวิ่งไป วิ่งไปง่ายเปล่า เช่นมี limit orders ที่ใช้ไปแล้ว และ มีออเดอร์ใหม่เข้ามาต่อเนื่องในทางที่เราเปิดหรือไม่ ทั้งจากคนที่รอเข้าเพื่อเทรดหลังราคาเคลื่อนไปทางเราเทรด หรือ คนที่รอออกที่ต้องการจำกัดการสูญเสีย
Support/Resistance หรือ Supply/Demand เป็นผลจากการเกิดออเดอรที่เข้ามาทั้งจากเทรดเดอร์รอเข้าและเทเรดเดอร์จำพวก Trapped traders ที่คอยหาโอกาสออกเพื่อจำกัดการสูญเสีย ตรงพื้นที่นี้ก็จะมี liquidity มาก เพราะมีออเดอร์มากพอที่ขาใหญ่สามารถเข้าตลาดและจัดการออเดอร์ได้ง่าย ตัวอย่างการวิเคราะห์เทรด ด้วยความเข้าใจออเดอร์และมองแบบ Supply/Demand
ทีมงาน : thaiforexbroker.com