กรณีศึกษา price rejection
Price rejection หรือราคาเด้งออก ได้บอกนัยยะ 2 อย่างหลักๆ คือ การกดดันจากข้างใดข้างหนึ่งที่พยายามจะเอาชนะ (trading pressure) และยังได้ซึมชับ limit orders (liquidity absorption ) ที่ราคาวิ่งไปแล้วเกิด trading pressure ตีกลับด้วย การเข้าใจหลักการแล้วยังต้องดูพื้นที่ประกอบด้วยว่าดูอย่างไร สิ่งหนึ่งที่เป็นผลพลอยได้จาก price rejection เมื่อราคาวิ่งกลับมาอีกรอบราคาก็จะวิ่งไปทางนั้นได้ง่ายเพราะ limit orders มีการใช้ไปแล้ว
ออเดอร์ทำงาน ราคาหยุดเพราะมี liquidity ที่ราคานั้นๆ มากพอที่จะหยุดราคาจาก market orders ที่วิ่งมา liquidity เป็น limit orders ที่ตรงข้ามกับฝั่ง market orders ที่วิ่งมา อย่างกรณีเลข 1 ที่เปิดเผยว่าเป็นพื้นที่ price rejection เพราะ market orders ที่เข้ามาก็จากบาร์ยาวๆ สีน้ำเงินทิ่วิ่งขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ราคาไปหยุดตรงนั้นเพราะ Limit orders ในที่นี้ก็คือ sell limit orders และจาก take-profit orders จากเทรดเดอร์ที่เปิด long positions ด้านล่างแล้วกำไรต้องการจะออก ส่วนมากก็จะเป็นขาใหญ่ที่เปิดทำกำไรเป็นหลัก เพราะ take-profit orders ก็เป็น limit orders ที่เกิดขึ้นจากการปิดกำไรออเดอร์ที่เปิดอยู่ในตลาด และเกิดขึ้นเพิ่มที่เลข 1 ราคาแถวนั้นเลยมี liquidity เยอะถ้า market orders ขึ้นไปถึงก็จะหยุดและ match-and-fill กับ buy market ordrs เลยลดจำนวน buy market orders ถ้าขาใหญ่ปิดทำกำไรมา เลยมี liquidity จาก take profit orders แถวนั้นเยอะ
ราคาลงมาที่เลข 2 และเห็น price rejection อีกรอบและดันราคาขึ้นไปได้ด้วยเพราะพื้นที่เป็น price rejection ที่มองว่าเป็นแนวต้านหรือ supply นั้นมีการใช้ออเดอร์ไปราคาเลยดันเกินไปได้แต่ไม่ไกลมากและมีการเข้าเทรดอีกเพราะราคาเบรค high แต่ราคาก็ไป rejection ด้านบนอีกที่เลข 4 ใต้เลข 4 จะเห็นกรอบสีเขียวเลข 3 ที่บอก price rejection เกิดขึ้น เลยทำให้บาร์ที่ลูกศรลงแรงได้และยังเกินพื้นที่เลข 2 ด้วยเพราะพื้นที่เกิดแบบ price rejection
ดังนั้นเมื่อราคาลงมาทำไม price rejection จึงเกิดที่พื้นที่เลข 5 เพราะเลข 3 เป็นพื้นที่ rejection สีเขียวที่บอกราคาขึ้น (ต้องไม่ลืมว่าเมื่อเกิด absorption และ rejection พื้นที่ตรงนั้นๆ กลายมาเป็นพื้นที่ short/long postions ที่เปิดอยู่ ถ้าราคาวิ่งสวนทางไหนทางนั้นก็จะเดือดร้อน) เราก็มองพื้นที่ price rection เป็นจุดอ้างอิงในการ rejection ของตัวใหม่ที่เกิดขึ้น โดยพื้นที่ price rejection ก็จะประกอบด้วยราคา high และ low ของพื้นที่ดังนั้นเวลามองต้องมองเป็นกรอบดูภาพที่ตีกรอบ A ประกอบ ที่ราคาไม่สามารถไปขึ้นทำ rejection แถวเลข 4 อีกรอบได้เหตุผลหลักๆ เพราะ trapped traders ที่เกิดขึ้นที่เลข 3 เพราะพวกเขาเห็นราคาลงไปแรงและเกินพื้นที่เลข 2 ด้วย ราคากลับมาแล้วเด้งแถวนี้อีกดูบาร์แรกที่กลับมาหลังจากที่ราคาเบรคลงไปอย่างรวดเร็วเลยทำให้เทรดเดอร์พวกนี้ออกเป็นหลัก
Price rejection ก็จะกลายเป็นพื้นที่อ้างอิงที่เกิดขึ้นแบบไดนามิดตลอดเมื่อมีราคาเบรคไปทางใดทางหนึ่ง อาจจะมองพื้นที่ price rejection เป็น dynamice support/resistance ที่เกิดขึ้นก็ว่าได้
การมองความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ price rejection ทำให้ท่านเข้าใจว่าตลาดทำงานอย่างไร ออเดอร์มาจากไหนเพราะ market orders ไม่ได้มาแค่การเทรดของเทรดเดอร์ที่รอเปิดเพื่อเข้าตลาด แต่ยังมาจากเทรดเดอร์ที่ออกจากตลาด โดยเฉพาะที่จำต้องออกจากตลาด
Price rejection นอกจากบอกเรื่อง trading pressure และ order absorption ที่พื้นที่นั้นๆ แล้ว ยังบอกว่า open positions อยู่ตรงไหน ทั้งที่เป็น long/short positions ทำให้รู้ว่าเทรดเดอร์ได้เปิดเทรดตรงไหนเลยคาดการณ์ได้ไม่ยากสำหรับขาใหญ่ อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อขาใหญ่ดันราคาสวน open positions พวกนี้ ทำให้เทรดเดอร์ที่ถือ open positions พวกนี้กลายเป็น trapped traders จึงไม่แปลกที่หลังจากราคาเบรคที่เลข 1 ราคาเลยลงเร็ว หลักการเทรดคือเทรดเมื่อเห็นราคาทำ Impuslive move ก่อนแล้วค่อยเทรดตามมาเรื่อยๆ ในที่นี้เน้นเรื่อง price rejection ว่าเปิดโอกาสให้เทรดตามหลังจากที่เข้าตอนราคากลับมาต้นตอ impulsive move ที่เข้าเทรดเป็นครั้งแรกแล้วหาโอกาสเทรดต่อไปอีก ดังนั้นการเปิดเทรดที่เลข 2 เพราะ impuslive move ทั้ง 2 จุดที่ต่อเนื่องกัน
มาถึงจุดที่เลข 3 เกิด price rejection แต่เห็นว่ามี buying pressure เข้ามาเป็น buy market orders ที่เกิดจากการปิดทำกำไร แม้ราคาเด้งกลับมาแต่เรายังไม่สนใจเพราะราคายังไม่ได้เปิดเผยว่าเป็น impulsive move ว่าเป็นผลจากการเข้าเทรดไม่ใช่ออเดอร์ที่มาจากผลการปิดทำกำไร
ทำไมต้องสนใจว่า price rejection เป็นผลจากการปิดทำกำไรหรือการเข้าเทรด
หลักการออเดอร์ไม่ต่างกันแต่ต่างกันที่การตัดสินใจ อย่างกรณีที่เลข 3 ไม่ว่าจะเป็นการปิดทำกำไรหรือเข้าเทรดทำให้ราคาขึ้นไปทั้ง 2 อย่างล้วนเป็นการเปิด buy market orders ขาใหญ่ต้องการสิ่งเดียวกันคือออเดอร์ฝั่งตรงข้ามที่มากพอ แต่ถ้าเป็น price rejection ที่เป็นผลจากการตัดสินใจเข้าเทรด ขาใหญ่ก็จะเทรดตรงนั้นอีกหรือจุดอื่นๆ พื้นที่เดียวกันอีกเพื่อดันราคา ถ้าเป็นออเดอร์ที่มาจากการตัดสินใจเข้าเทรด ก็จะเห็นราคาเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามให้เห็นเป็นร่องรอยที่ขาใหญ่ไม่สามารถปกปิดได้ ดังนั้นทำไมเราจึงให้ความสำคัญกับ impulsive move ประกอบ จะเห็นว่าจนกว่าการเข้าเทรดที่วงกลมที่แรงและวิ่งไปถึงส่วน high เลข 2 ได้ราคา rejection ลงมาก็ไม่ต่ำกว่านั้น จนกว่าจะมีการล่า stop hunt 1 ที่เกิดขึ้นแล้วราคาก็เด้งไปหา price rejection ที่เลข 4 และมีการ absorption และ rejection อีกรอบก็มีการล่า stop hunt 2 อีกครั้งแล้วก็ดันราคาขึ้นไปจนเกินเลข 2 ขึ้นไปเลยจะเห็นว่า buy zone 2 มักจะเกิดขึ้นประจำและเป็นโอกาสที่จะเปิดเทรดต่อได้หรือเทรดอีกรอบได้ หลังจากที่ buy zone 1 ที่อาจมีเรื่องล่า stop hunt มาประกอบ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com