กลยุทธ์เทรดที่นิยมกัน

กลยุทธ์เทรดที่นิยมกัน

กลยุทธ์เทรดที่นิยมกัน

                กลยุทธ์เทรดที่นิยมกันมีหลายๆ อย่างแตกต่างกันออกไป ที่เป็นที่นิยมหลังจากประยุกต์ความรู้ความเข้าใจตลาด มีไม่กี่อย่างหลักๆ แต่ละอย่างก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันออกไป แล้วแต่เทรดเดอร์เป็นหลัก

                กลยุทธ์เทรดแบบ Breakouts

                การเทรด Breakouts น่าจะเป็นวิธีการที่นิยมกันมากสุด วิธีการก็จะเริ่มด้วยการหา price levels ที่ราคามาแตะหลายๆ รอบหรือราคาแทงหางเกินให้เป็นเพราะการซึมซับออเดอร์ ที่เปิดเผยว่า limit orders มีการใช้ไปแล้ว และการที่ราคาจะกลับมาการเด้งล่าสุดเด้งได้นิดดียว หลักการเทรดก็จะเป็นการตั้ง Pending order หรือ limit orders เป็นหลักเหนือที่ high หรือต่ำกว่า Low พื้นที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบหลัก หรือบอกได้ว่าเป็นพี้นที่เดียวกับ stop loss ก็ว่าได้

หลักการเทรด breakout จะเห็นว่าเน้นหลักการ open positons ที่เกิดขึ้นในตลาดและได้ limit orders ประกอบเมื่อราคาไปทางไหน พื้นที่ตรงที่วาง limit orders ก็จะมี stop loss ของอีกฝั่งตรงข้ามอยู่เมื่อราคามาแตะ ถ้า stop loss เยอะก็จะทำให้เกิด market orders เยอะแบบทันทีเลยเปิดโอกาสให้เปิดเทรดตาม market orders ที่เกิดพราะสถานการณ์แบบนี้ stop loss ของออเดอร์ที่เป็น short positons ก็จะเป็นเหนือกรอบขึ้นไปและ stop loss ของ long positions ก็จะอยู่ใต้กรอบลงมาเป็นหลัก

                กลยุทธ์เทรดแบบ Retracements หรือ pullbacks

                การเทรดการย่อตัวหรือ retracements เป็นอีกวิธีที่นิยมแต่การหาจุดเทรดการย่อตัวก็จะต่างกันออกไปขึ้นกับความรู้ของเทรดเดอร์เพื่อหาจุดข้าเช่นเรื่อง Fibonacci Retracements เพือ่หาว่าจะเข้าตรงไหน หรือ swap level ที่เกิดจากการเบรค ของ support/resistance หรือ แนว demand/supply หลักการเทรดแบบ retracements เกิดจากหลักการที่ว่าเมื่อราคาวิ่งไปทางได้ทางหนึ่งแรงๆ มักจะมีการกลับตัวชั่วคราวเพราะการปิดทำกำไรและรายย่อยพยามเทรดสวนเทรนด้วย เลยเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ขาใหญ่ที่เทรดตอนราคาเคลื่อนไหวไปทางใดทางหนึ่งครั้งแรกได้เทรดอีกหรือดันเทรนไปต่อ หรืออีกอย่างเป็นวิธีการกระจายออเดอร์ของขาใหญ่ที่ต้องการเทรดเพิ่มเพราะออเดอร์ฝั่งตรงข้ามไม่มากพอ แต่เมื่อพวกเขาต้องการหรือให้ออเดอร์ใหม่เขามาอีกก่อนค่อยจะเปิดเพิ่มได้  วิธีการง่ายๆ คือเมื่อราคาวิ่งไปแล้วทำให้ราคากลับมาที่เดิมอีกรอบ หลักสำคัญของการเทรด retracement หรือ pullbacks คือการหา initial move ที่เป็นประเภท Impulsive move เพราะบอกว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่แล้วก็เทรดตามหรืออาจมองว่าเป็นกลยุธ์การเทรดอีกแบบที่ใช้ข้อมูลจาก Breakout เกิดขึ้นก่อนก็ว่าได้

การเทรด retracement ที่เลข 1 หลังจากราคาเบรคขึ้นไปทำ higher high และย่อตัวกลับมาตรงจุดที่เบรคที่กลายไปเป็น demand ใหม่ การเทรดที่เลข 2  ก็หลักการเดียวกัน การเทรดที่เลข 3 ราคาลงมายืนยันการเปิด supply ใหม่เข้าเทรดเมื่อราคากลับมา และครั้งที่ 4 ก็เทรดตอนราคากลับมาหรือ retracement อีกรอบที่ supply เดิม

                จะเห็นว่าการเทรด retracemets ข้อมูลในการช่วยกรองการเข้าเทรดก็จะมากกว่าการเทรดแบบ Breakouts เพราะมีร่องรอยการเข้าเทรดของขาใหญ่ให้เห็นด้วย

               กลยุทธ์เทรดแบบ Reversal

                เทรดสวนเทรนหรือการเคลื่อนไหวของราคาปัจจุบัน ก็เป็นที่นิยมกัน เช่นกรณี เลข 1. ราคาวิ่งอยู่ในกรอบ หรือ ranging ระหว่าง high และ low แต่ช่องว่างมากพอที่จะเทรดสะสมกำไรได้สั้นๆ ก็จะเปิด sell เมื่อราคากลับมาที่ high และ take profit ก่อนถึง low และก็จะเปิด buy เมื่อราคามาถึง low และ take profit ก่อนถึง high กรณี เลข 2 เป็นการเทรดสวนเทรนระยะสั้น เป็นการเทรดเมื่อราคาเกิด impulsive move เพราะต้องมีการปิดทำกำไรจากขาใหญ่ที่เข้าเทรด หรือแนวเทรดที่ว่าเมื่อเกิด impulsive move มักจะตามด้วย corrective move ก็เปิดเทรดตอนที่ราคาไปมากพอที่ว่าเป็น impulsive move แล้วเทรดสวนตามตอนขาใหญ่ปิดทำกำไร และเทรดเพิ่มเพื่อจะดึงออเดอร์เข้ามาเพื่อเข้าเทรดต่อ

และกรณี เลข 2 จะเป็นการเทรดสวนเทรนเลย ประเภทสุดท้ายมักจะเป็นขาใหญ่ที่เข้าเทรดเป็นหลัก เพราะเงื่อนไขการเทรดของพวกเขาจะเข้าเทรดเมื่อออเดอร์ตรงข้ามมากพอและมีคนเสียเมื่อพวกเขาดันราคาต่อเพื่อเข้าเทรด

                กลยุทธ์การเทรด Momentum

                วิธีการเทรดแบบนี้เน้นเมื่อเห็นว่ามีการเข้าเทรดจากขาใหญ่ เห็นเกิดขึ้นตอนไหนก็จะเข้าพร้อมตอนนั้นเลย ส่วนมากก็จะเน้นการเข้าเทรดที่ราคาปัจจุบัน เพื่อจะได้เข้าตามทัน momentum ที่เกิดขึ้นและเทรดไปตาม momentum แบบทันที โดยจะไม่สนใจว่าราคาจะ breakout หรือจะย่อตัวมา แต่เห็นเกิด momentum ก็เข้าเลย หลักการเทรดแบบนี้จะเห็นบ่อยพราะผลของพวกข่าวที่เกี่ยวกับ fundamental news ของค่าเงินนั้นๆ เป็นหลัก และอาจมีการใช้อินดิเคเตอร์ประกอบเพื่อดูเรื่อง moving averages และ oscillators เพื่อหาว่าสัญญาณเทรดเกิดตอนไหนก็จะเข้าเลย

                กลยุทธ์แบบ position trading

                การเทรดแบบนี้มักจะดูจุด swing highs/lows ประกอบเป็นหลัก แล้วเน้นถือรอนานๆ เป็นหลายวัน อาทิตย์หรือเดือน เป็นการเทรดภาพรวมที่ใหญ่ขึ้นของการเคลื่อนไหวราคา เพราะเทรดเดอร์พวกนี้เชื่อว่าการเคลื่อนไหวระยะยาวเป็นเรื่องปกติที่จะมี retracement ระยะสั้น หรือมีการปรับ market sentiment ไปบ้างแต่ละวัน แต่สุดท้ายราคาก็จะกลับมาตามเทรนยาวหรือตามจุด swing อยู่ดี ส่วนมากการเทรดแบบ position trading มักจะอิงพวก fundamental information เป็นหลัก

ทีมงาน : thaiforexbroker.com