มองออเดอร์สัมพันธ์กับชาร์ตเปล่าอย่างไร ตอน 2

มองออเดอร์สัมพันธ์กับชาร์ตเปล่าอย่างไร ตอน 2

มองออเดอร์สัมพันธ์กับชาร์ตเปล่าอย่างไร ตอน 2

เมื่อเข้าใจว่า การเพิ่มและลดออเดอร์ส่งผลต่อ liquidity ที่เกิดขึ้นในตลาดอย่างไร ดังนั้นเมื่อขาใหญ่ต้องการจะเทรด สิ่งแรกที่พวกเขาต้องการคือ ออเดอร์ฝ่ายตรงข้ามที่มากพอเพราะ trading transaction จะเกิดขึ้นได้ที่ราคาต้องการเทรดหรือออกเทรดได้ ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ฝ่ายตรงข้ามที่ราคานั้นๆ มากพอ

มองเรื่องออเดอร์ลงย่อย มามองที่แท่งเทียน

การมองเรื่องออเดอร์ที่แต่ละแท่งเทียนน่าจะลงมาเป็นหน่วยย่อยที่สุดสำหรับการมองเรื่องออเดอร์ก็ว่าได้ อย่างเช่นเรื่องของ Pin Bar ที่ชาร์ต D1 เมื่อท่านมองมาทางขวามือที่เป็นชาร์ต H1 เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดชาร์ต D1 pin bar ท่านจะมองเป็น trading transactions ที่เกิดขึ้น เทรดเดอร์ได้เปิด sell และเทรดเดอร์ได้เปิด buy ทำให้เกิด short และ long positions ขึ้นในพื้นที่แท่งเทียน pin bar

เมื่อราคาเบรค high คือจุดที่ราคาเอาชนะพื้นที่ที่มีการเทรดกันตั้งแต่เปิดแท่งเทียน D1 ลงไปจนล่าสุดที่ตอนแรกเป็นราคาลงไปและราคาขึ้นมา ก็มีการเข้าเทรดอีกเพื่อจะดันราคาลงไปต่อ ดูกรอบสีชมพูที่บอก trading transactions ที่เกิดขึ้น จนกว่าราคาเบรค High ที่วงกลมเอาไว้ เทรดเดอร์ที่เปิด sell หรือที่ถือ short positions เดือดร้อนเพราะราคาวิ่งสวน

แท่งเทียนที่เบรคขึ้นไปนอกจากทำให้เทรดเดอร์ที่ถือ short positions กลายเป็น trapped traders แล้ว ยังส่งข้อความไปหาเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดด้วย และแท่งทียนที่เบรคขึ้นมายังได้ทำให้ออเดอร์ของพวก breakout traders ได้เข้าตลาดที่จุดเดียวกันด้วย เทรดเดอร์ที่ตัวเองกลายเป็น trapped traders

เมื่อเห็นราคาไม่ลงมา ก็จะหันมาออกเป็นหลัก ก็จะทำให้เกิด buy market orders เข้ามาก่อน จะเห็นว่าราคาลงมา แต่ก็ไม่สามารถผ่านจุดเบรคได้ แสดงว่า buy orders ที่เกิดขึ้นตรงนี้มากพอที่จะซึมชับ sell orders ที่เข้ามา จุดที่ทำให้เทรดเดอร์ที่ถือ short positions ที่มี stop loss

ส่วนมากจะอยู่ที่เลข 2 นี่คือเหตุผลว่าทำไมเมื่อเกิด pin bar ยิ่งเห็นเป็นหางบาร์ยาวๆ ยิ่งทำงานดีที่จุดแนวรับหรือแนวต้าน เพราะเทรดเดอร์กลุ่มแรกที่ดันราคาคือ trapped traders ที่เกิดตอนเกิด pin bar นั้นเอง เป็นฝ่ายออกเลยทำให้เกิด market orders เข้ามาทันทีตอนนั้น

หาพื้นที่ orders เพื่อกำหนด support และ resistance

 

จากที่ผ่านมาได้อธิบายเรื่องเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาด ที่สามารถทำให้เกิด market orders ได้นั้น การมองหาแนวรับหรือแนวต้านก็ไม่ยากเมื่อท่านเข้าใจเรื่องออเดอร์ทั้งแนวรับหรือแนวต้านก็จะเป็นพื้นที่มี limit ordersที่สามารถหยุดราคาได้โดยส่วนมากก็เมื่อกล่าวถึงพื้นที่พวกนี้จะหมายถึงกองออเดอร์อยู่แถวนั้น

หรือ cluster of orders ต้องไม่ลืมเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดแล้วจะเป็นกลุ่มแรกที่ราคาวิ่งไปหาพวกเขาแล้วไม่ไปต่อก็จะออกจากตลาดหรือเทรดเดอร์อีกกลุ่มที่เทรดถูกทางเห็นราคากำลังวิ่งเข้าไปหากลุ่มเทรดเดอร์พวกนั้นต้องรีบออกก่อน

เพราะถ้าราคาไปถึงตรงนั้นถ้าฝ่ายทางที่ออกมากกว่าทำให้ market orders ที่มาจากเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุดถ้ามากกว่าก็จะซึมซับออเดอร์ทางที่กำไรวิ่งไปอย่างเร็ว ถ้าออกก็จะไม่ได้ราคาที่ต้องการ ส่วนมากเทรดเดอร์พวกนี้ก็จะกำหนด take profit ก่อนพื้นที่เป็นหลัก

เมื่อดู Oanda Order Book ประกอบ ท่านจะเข้าใจว่าท่านได้กำหนด stop loss และ take profit ตามที่การเปิด USDJPY ด้านบนเพราะถ้าเกินจุดที่ tp ลงมาจะมีแต่ buy limit orders ถ้าราคาไปถึงก็จะเปิดขึ้นและซึมซับ sell orders อย่างรวดเร็ว ถ้ามี buy market orders เข้ามาอีกก็จะขึ้นหรือพักตัวต่อนั้น

แต่ตอนนี้ที่เห็นคือว่ามีออเดอร์อยู่ตรงนั้นที่จะหยุดราคา ก็ให้ tp ปิดกำไรสะสมหรือปิดเองก็ได้แล้วแต่กลยุทธ์ พอราคาไปถึงตรงนั้นค่อยดูว่า price structure เกิดขึ้นอย่างไร ค่อยหาที่มาออเดอร์ประกอบใหม่ เพราะออเดอร์เป็นเรื่องไดนามิคเปลี่ยนแปลงไปตามตลาดที่เกิดขึ้น

ใช้ประโยชน์เทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดแบบขาใหญ่

วิธีการหนึ่งที่ขาใหญ่นิยมคือ stop hunt พวกขาใหญ่เข้าใจเรื่องการทำงานออเดอร์และเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดเป็นอย่างไรแต่ละ trade setup ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเปิดเทรดก็จะตามมาด้วยการกำหนด stop loss และ take profit การจำกัดความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ต้องรีบทำเมื่อเปิดเทรด

แต่เพราะการทำงานของ stop loss ไม่ได้แค่เพิ่ม liquidity เข้าตลาดที่ราคามีการกำหนด stop loss สำหรับ positions เท่านั้น เมื่อราคาไปแตะ stop loss พวกนี้จะกลายมาเป็น market orders ด้วย โดยขาใหญ่จะใช้วิธีการนี้เพื่อเข้าเทรดที่ราคาที่ดีกว่า และเมื่อพวกเขาเข้าเทรดได้ก็จะใช้ positions ของ trapped traders

เพื่อเร่งราคาให้วิ่งไปเร็ว อาจเพื่อกำไรมากขึ้นหรือเพื่อเร่งราคาไปทางจุดที่พวกเขาต้องการเทรดให้เร็วขึ้นก็ได้เพราะ market orders โดยเฉพาะที่เกิดจาก stop loss เกิดขึ้นเพราะเงื่อนไขที่กำหนด positions นั้นๆ เกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเทรดเดอร์เข้าเทรดหรือออกเทรดเอง

เมื่อราคาไปแตะเงื่อนไขได้ตลาดจะเป็นฝ่ายเปิดออเดอร์พวกนี้ให้เอง มีทางเดียวถ้าราคาไปแตะต้องทำงานเว้นแต่ราคาไปไม่ถึงเท่านั้น

จากตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าขาใหญ่ใช้ประโยชน์จาก positions เพื่อช่วยเร่งราคาให้พวกเขาทั้งทำกำไรมากขึ้นและได้เข้าเทรดที่จุดที่ดีกว่า

การเทรดจำเป็นต้องมองให้ออกว่าอะไรซ่อนอยู่ข้างหลังแต่ละ trade setup เช่นการเทรด price levels ไม่ว่าจะเป็นแนวรับแนวต้าน supply/demand หรือเป็นการเทรด chart patterns ต่างๆ ก็ตาม ต้องให้รู้ว่าเมื่อเปิดเทรด เงื่อนไขที่จะทำให้เกิด market orders

ทางที่เปิดต้องมากและเกิดต่อเนื่องราคาค่อยวิ่งไปได้ การมองพื้นที่ชาร์ตเห็นเรื่องออเดอร์ประกอบด้วยก็จะช่วยได้มากเพราะ market orders ที่ทำให้ราคาวิ่งไปทางใดทางหนึ่งไม่ได้มาจากการเข้าเทรดอย่างเดียวแต่มาจากการออกเทรดด้วยอย่าให้ความสำคัญแค่trade setup แล้วมองเห็นแค่ว่าราคาจะเกิดเพราะแนวรับแนวต้าน

หรือเพราะเกิดราคาเบรค แต่มองให้เห็นเกินนั้น ดูปริบทประกอบว่ามีเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ถ้าเกิด trade setup ที่ท่านรอเทรด พวกเขาจะเดือดร้อนตรงไหนและเมื่อไรด้วย

ทีมงาน : thaiforexbroker.com