OandaX ทางเลือกสำหรับ Oanda Order Book สำหรับ Metatrader ตอน 2
ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วเรื่อง OandaX ที่มีทั้งส่วนที่เป็นอีเอสำหรับจัดการการดาวน์โหลดข้อมูลจากเว็บ Oanda และส่วนที่เป็นอินดิเคเตอร์ช่วยแสดงผลข้อมูลที่ใช้สำหรับชาร์ต Metatrader 4
ส่วนที่จะนำเสนอในที่นี้เป็นส่วนเพิ่มขยายของโค้ดจากที่เจ้าของโปรแกรมทำออกมาให้ฟรี แต่เพิ่มเติมและแก้ไขด้วยตัวผู้เขียนเอง โดยเป็นการแก้ไขจากเวอร์ชั่นที่เป็น OandaX OrderBook Chart Multi จาก https://www.mql5.com/en/blogs/post/687809 เพื่อเข้าการเข้าถึงและการใช้งานให้ง่ายและรวดเร็ว
โดยเวอร์ชั่นเดิมดังกล่าวจะแสดงเป็นแบบ orders หรือ postions อย่างใดอย่างหนึ่งและเลือกจำนวนที่จะแสดง เลือกทั้ง orders และ positions พร้อมกันไม่ได้ การแสดงผลก็จะอิงจากบาร์ที่ Orderbook อยู่ประกอบ
เวอร์ชั่นที่เพิ่มเติม โดยส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาจะเป็นเรื่องง่ายต่อการเข้าถึงค่าที่ settings ต่างๆ ที่อยู่ในอินดิเคเตอร์ด้วยการใช้ฟังก์ชั่นปุ่มเข้ามาให้กดเลือกแทน เพื่อง่ายต่อการใช้งานและที่สำคัญท่านสามารถแสดงทั้งส่วนที่เป็น Open Orders และ Open Positions ในชาร์ตเดียวกันได้เลย
ที่เลข 1 จะบอกสถานะและใช้เม้าส์ลากไปมาได้ ส่วนอื่นๆ ก็จะตามไปด้วยเป็นกลุ่มๆ ที่เลข 2 เลือกเวลาที่จะแสดงของ Order Book ถ้ากดลงไปจะมีเส้น vertical line ขึ้นมาที่ชาร์ตให้ท่านเลือกเพื่อเปลี่ยนเวลาของการแสดงผล Order Book ได้ค่าปกติ จะแสดงผลของ Order Book ล่าสุด เลข 3 จะเป็นส่วนแสดงผล Open Orders ให้กดลงไปส่วนด้านล่างมี 2 ปุ่มคือ Non (Non-Cumulative) และ Ne (Net) เลข 4 เป็นส่วนแสดงผลของ Open Positions ด้านล่างก็มี 2 ปุ่มแบบเดียวกัน ส่วนที่เป็นปุ่มเลข 1 และปุ่มเลข 2 เหนือปุ่ม Positions เป็นการเลือกโหมดแสดงผลว่าแบบ 1 หรือ 2 ส่วนพื้นที่ สำหรับ (Orders และ Positions)
เช่นเมื่อท่านกด Orders ส่วนที่เป็น Open Orders ก็จะแสดงผลทางด้านช้าย มีการแสดงผลข้อมูลแบบ Non-Cumulative (Non) ที่เลือก และท่านเลือก Positions ด้วย ส่วนที่เป็น Open Positions ก็จะแสดงด้านขวา มีการเลือกการแสดงผลแบบ Non-Cumulative ด้วย และปุ่มที่อยู่บน Positions เลือกเป็นเลข 2 แสดงว่าเลือกการแสดงผลทั้ง Open Orders และ Open Positions จะเห็นว่าการใช้งานเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่มาจาก OandaX Download Manager ค่อนข้างจะง่ายและรวดเร็ว
ข้อดีต่างๆ ที่ช่วยในการเข้าถึงคือ
- สามารถเลือกแสดง เปิด หรือปิด แต่ละส่วนได้ หรือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Open Orders หรือ Open Positions ได้ง่ายด้วยการคลิกที่ปุ่ม
- อินดิเคเตอร์จะหาพื้นที่ orders หรือ positions ให้เองบนชาร์ต เพราะเป็นการคำนวณจาก Order Book ให้สัมพันธ์กับราคาที่ชาร์ต เลยช่วยให้หาพื้นที่พวกนี้ได้ง่าย
- เมื่อเปิดทั้ง Open Orders และ Open Positions พร้อมกัน สามารถเห็นทั้งข้อมูลส่วนที่เป็น Open Orders ไม่ว่าจะเป็น Limit Orders, Stop Loss, Orders, Stop Orders, Take Profit orders ได้หมด หรือหาว่ามีเทรดเดอร์ถือ long/short positions อยู่ตรงไหนเยอะ ไม่ว่าจะกำลังกำไรหรือกำลังติดลบ
- ง่ายต่อการดู Order Book ย้อนหลัง เมื่อกดที่ปุ่ม Time ช่วยให้ท่านเห็นตัวอย่างจากเหตุการณ์ Order Book ที่จุดต่างๆ ก่อนเวลาปัจจุบัน ช่วยให้ศึกษาและเข้าใจการทำงานและช่วยให้ศึกษาตลาดได้เร็ว
ต้องไม่ลืมว่า Open orders บอกอะไร
- เลข 1 บอก sell limit orders ที่รอเข้าตลาด และ take profit orders จากเทรดเดอร์ที่เปิด long positions ที่เลข 8
- เลข 2 บอก stop loss orders จากเทรดเดอร์ที่เปิด long positions ที่เลข 7 และ sell stop orders จากเทรดเดอร์ที่รอเข้าตลาด
- เลข 3 บอก stop loss orders จากเทรดเดอร์ที่เปิด short positions ที่เลข 6 และ buy stop orders จากเทรดเดอร์ที่รอเข้าตลาด
- เลข 4 บอก take profit จากเทรดเดอร์ที่เปิด short positions ที่เลข 5 และ buy limit orders จากเทรดเดอร์ที่รอเข้าตลาด
และส่วนที่เกี่ยวกับ Open Positions คือ positions ที่เปิดอยู่ในตลาด มีดังนี้
- เลข 5 บอก Short positions ที่เหนือราคาปัจจุบัน บอกว่ากำลังกำไร อยู่ตรงไหนบ้าง ตรงไหนมากหรือน้อย
- เลข 6 บอก Short positions ที่ใต้ราคาปัจจุบัน บอกว่ากำลังขาดทุนหรือติดลบ อยู่ตรงไหนบ้าง ตรงไหนมากหรือน้อย
- เลข 7 บอก Long positions ที่เหนือราคาปัจจุบัน บอกว่ากำลังติดลบ อยู่ตรงไหนบ้าง ตรงไหนมากหรือน้อย
- เลข 8 บอก Long positรons ที่ใต้ราคาปัจจุบัน บอกว่ากำลังกำไร อยู่ตรงไหนบ้าง ตรงไหนมากหรือน้อย
การมองหาพื้นที่ที่จะเข้าเทรดหรือจะออกจากการเทรดต้องมอง Order Book แบบสัมพันธ์กันเช่น ถ้าราคาไปแตะพื้นที่ stop loss เลข 3 นั่นหมายความว่าพื้นที่แสดงก็ต้องหายไปเพราะ stop loss orders พวกนี้มาจากเทรดเดอร์ที่ถือ short positions ที่เลข 6 ด้วย ตรงส่วนนั้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
สำหรับการดู Order Book ย้อนหลัง ท่านสามารถคลิกที่ปุ่ม Time เพื่อเปลี่ยนเวลา Order Book ก็จะมีเส้น vertical line สีแดงขึ้นมาท่านลากมาที่ตรงตามตัวอย่าง เมื่อตรงนั้นราคาตลาดก็จะอยู่ที่ตัวเลขราคาสีน้ำเงิน จะเห็นว่าด้านช้ายที่เป็น Open Orders ด้านล่างมี Stop orders เยอะ (stop loss orders และ sell stop orders ) เมื่อราคาดันลงมา แล้วราคาหยุด พอราคาแตะ stop orders ช่วงนั้นได้ จะเห็นว่าบาร์ยาวๆ ลงจนกว่ามาหยุดด้านล่าง นี่เป็นตัวอย่างว่าเมื่อเข้าใจออเดอร์ทำงานและหาพื้นที่เป็น ว่าขาใหญ่ใช้ stop orders ตรงนี้ดันราคาลงไปอย่างไร
สำหรับส่วน settings แทบไม่ต้องกำหนดอะไรเลยแค่สีพื้นที่ และระยะห่างของการแสดงผลของ Open Orders และ Open Positions จากตำแหน่งบาร์ปัจจุบัน เพราะอินดิเคเตอร์ตัวนี้ปรับแต่งเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่มาจาก OandaX Download Manager เพื่อช่วยการแสดงผลในชาร์ต Metatrader ให้ดูง่ายกว่าเดิม แทนที่จะเห็นเป็นโหมดรูปภาพที่แสดงใน OandaX OrderBook Image History
ทีมงาน : thaiforexbroker.com