การวิเคราะห์คู่เงินเดียว ราคาเดียวกันในหลายกรอบเวลา (Multiple Time Frame Analysis)

การวิเคราะห์คู่เงินเดียว ราคาเดียวกันในหลายกรอบเวลา (Multiple Time Frame Analysis)

Multiple Time Frame Analysis

ตอนนี้ ขอนำเสนอ แนว Multiple Time Frame Analysis  ก็คือการวิเคราะห์คู่เงินเดียว ราคาเดียวกันในหลาย Time Frame หรือในกรอบเวลาที่แตกต่างกันนั่นเอง
อย่าลืมว่าแต่ละคู่เงินมีหลายกรอบเวลา อย่างกราฟรายวัน รายชั่วโมง 15 นาทีหรือแม้แต่ 1 นาที ซึ่งหมายความว่านักลงทุนอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันในการเทรดคู่เงินเดียว กัน และความเห็นของพวกเขาทั้งสองก็เป็นความเห็นที่ถูกต้องเหมือนกัน อย่างเช่น พรนภา อาจจะเห็นว่า EUR/USD นั้นอยู่ในแนวโน้มขาลงในกราฟ 4 ชั่วโมง แต่อัครเทพ นั้นเทรดในกราฟ 5 นาที และเห็นว่าราคายังวิ่งอยู่ในกรอบราคาขึ้นๆลงๆ  และความเห็นของพวกเขาทั้งสองต่างก็ถูกต้อง  
และด้วยเหตุนี้เองที่สร้างปัญหาให้การ เทรดเกิดความสับสนในบางครั้ง เมื่อมองดูราคาที่กราฟ 4 ชั่วโมง เห็นว่ามีสัญญาณขายแล้วก็ไปดูที่ กราฟรายชั่วโมงแล้วเห็นว่าราคายังค่อยๆปรับตัวขึ้น  แล้วทีนี้จะทำอย่างไร ??  ให้ยึดกรอบเวลาใดกรอบเวลาหนึ่งเป็นหลัก ใช้สัญญาณจากกรอบเวลานั้นในการเทรดโดยไม่ต้องสนใจกรอบเวลาอื่นหรือว่าอย่าง ไร
ในบทความนี้เราจะพูดถึงว่าคุณควรโฟกัส ไปที่กรอบเวลาไหน เทรดเดอร์แต่ละคนควรเลือกเทรดในกรอบเวลาใดกรอบเวลาหนึ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งจะพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง และประการที่สองก็คือวิธีการวิเคราะห์ในกรอบเวลาที่แตกต่างกันเพื่อช่วยให้ มีการตัดสินใจซื้อขายที่ดีขึ้น
 
กรอบเวลาไหนที่คุณควรเทรด
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนมือใหม่ ไม่ทำในสิ่งที่พวกเขาควรทำก็คือ พวกเขาเทรดในกรอบเวลาที่ไม่เหมาะสมกับบุคลิกหรือตัวตนของพวกเขา เทรดเดอร์มือใหม่มักจะอยากรวยอย่างรวดเร็ว ทำให้พวกเขาเริ่มเทรดในกรอบเวลาเล็กๆอย่าง 1 นาที หรือ 5 นาที แล้วก็จบลงด้วยความผิดหวังเมื่อพวกเขาเทรดในกรอบเวลาที่ไม่เหมาะกับตัวเอง
และสำหรับเทรดเดอร์บางคนกลับรู้สึกสบาย กว่าที่จะเทรดในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกรอบเวลาที่นานกว่าแต่ก็ไม่ได้นานจนเกินไป สัญญาณการซื้อขายมีน้อยลง แต่ก็ไม่น้อยเกินไป การเทรดในกรอบเวลานี้จะช่วยมีเวลามากขึ้นในการวิเคราะห์ตลาดและไม่ต้องรีบ ร้อนตัดสินใจจนเกินไปนัก

กรอบเวลาเทรด

และในทางตรงกันข้ามเราอาจมีเพื่อนคน หนึ่งที่ไม่เคยเทรดในกรอบเวลา 1 ชั่วโมงเลย เขาก็จะรู้สึกว่าเวลา 1 ชั่วโมงมันช้ามากสำหรับเขา เขาก็จะรู้สึกอึดอัดแล้วอยากทำการซื้อขายที่กราฟ 15 นาที ซึ่งมันก็ทำให้เขามีเวลามากพอแต่ไม่มากเกินไปที่จะตัดสินใจตามแผนการเทรดของ เขา ในขณะที่เพื่อนของเราอีกคนหนึ่งไม่รู้ว่าจะเทรดที่กรอบเวลา 1 ชั่วโมงได้อย่างไร เพราะเขาคิดว่ามันเร็วเกินไป เพราะเขาเทรดที่กรอบเวลารายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน
ตอนนี้อาจจะมีคำถามว่าแล่วกรอบเวลา ไหนที่เหมาะสมกับคุณ ก่อนอื่นควรดูที่บุคลิกของตัวเอง ต้องรู้สึกสบายไม่อึดอัดกับกรอบเวลาที่คุณเทรด เรามักจะมีความรู้สึกที่กดดันหรือขัดแย้งบ้างเมื่อคุณเทรดกับเงินจริง ซึ่งมันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เราไม่ควรจะรู้สึกกดดันจากสาเหตุที่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเร็วเกินไปและ ทำให้ยากที่จะตัดสินใจซื้อขาย หรือมีการตัดสินใจที่ช้าเกินไปและทำให้พลาดได้เมื่อเราเทรดใหม่ๆ เราไม่สามารถยึดติดอยู่กับกรอบเวลา เราควรเริ่มกับกรอบเวลา 15 นาที จากนั้นก็ 5 นาที จากนั้นเราจะพยายามเทรดที่ 1 ชั่วโมง กราฟรายวัน และ 4 ชั่วโมง สิ่งนี้จะเป็นไปตามธรรมชาติของเทรดเดอร์ใหม่ จนกว่าจะพบว่าโซนกรอบเวลาไหนที่เราเทรดแล้วรู้สึกสบาย  และขอแนะนำว่าให้ลองเทรดในหลายๆกรอบเวลาในบัญชีเดโม่ก่อน เพื่อดูว่ากรอบเวลาไหนที่เหมาะสมกับเราที่สุด

รายละเอียดของกรอบเวลา
การเทรดมันก็เหมือนกับสิ่งอื่นในชีวิต ของเราเอง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคุณ ถ้าคุณชอบอะไรที่ไปช้าๆไม่เร่งรีบในการเทรดแต่ละครั้ง  คุณก็อาจเลือกกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นในการเทรด  หรือหากคุณชอบความเร็วที่ตื่นเต้นเร้าใจ คุณก็อาจเลือกเทรดที่กรอบเวลา 5 นาที
ต่อไปนี้คือความแตกต่างระหว่างกรอบเวลาขั้นพื้นฐานที่แตกต่างกัน

เทรดระยะยาว (Long term)
เทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวมักจะดูกราฟที่ กรอบเวลารายวันและรายสัปดาห์ กราฟรายสัปดาห์จะทำให้เห็นมุมมองในระยะยาวและช่วยสนับสนุนในการเข้าออเดอร์ ในกราฟรายวันซึ่งเป็นระยะที่เวลาที่สั้นเข้ามา ระยะเวลาในการถือออเดอร์อาจกินเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือนหรือบางทีอาจ จะถึงปี

ข้อได้เปรียบ ก็ คือ ไม่ต้องดูกราฟในระหว่างวัน และการซื้อขายก็ครั้งน้อยลง ซึ่งก็ลดจำนวนการจ่ายค่าสเปรดลงด้วยและมีเวลามากขึ้นในการพิจารณาแผนการเทรด แต่ละครั้ง
ข้อเสียเปรียบ คือ รอบการสวิงของราคาจะมีขนาดใหญ่ ปรกติจะอยู่ที่ 1-2 ปี ดังนั้นเทรดเดอร์จะต้องอดทนรอ การค้าที่มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องรอสวิงในระยะยาวและบ่อยครั้งที่ต้องอดทนรอใน ช่วงที่ติดลบระยะยาวเป็นเดือนๆ
เทรดระยะสั้น หรือ สวิงเทรด (Short-term)
การเทรดระยะสั้นมักจะใช้กรอบเวลาที่ 1 ชั่วโมง และถือออเดอร์หลายชั่วโมง อาจจะถึงวันไปจนถึงสัปดาห์  
ข้อได้เปรียบ คือ มีโอกาสในการซื้อขายมากขึ้น มีโอกาสน้อยเสียทั้งเดือน ไม่ต้องรอที่จะเทรดเพื่อทำกำไรแค่ 1-2 ครั้งต่อปี

ข้อเสียเปรียบ คือ มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เพราะต้องจ่ายค่าสเปรดมากขึ้น (ในการเทรดแต่ละครั้ง) มีความเสี่ยงชั่วข้ามคืนซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มขึ้นมาในการถือออเดอร์ข้าม คืน หรือหลายๆวัน
เทรดระหว่างวัน (Intraday) 
เทรดเดอร์ที่เทรดระหว่างวัน มักจะใช้กราฟรายนาที เช่น 1 นาทีหรือ 15 นาที ในการเทรดระหว่างวัน และปิดออเดอร์แบบวันต่อวัน
ข้อได้เปรียบ คือ มีโอกาสในการซื้อขายมาก มีโอกาสน้อยที่จะเสียทั้งเดือน ไม่มีความเสี่ยงข้ามคืน
ข้อเสียเปรียบ คือ มีรายจ่ายในการซื้อขายที่สูงมาก เพราะต้องเสียค่าสเปรดทุกครั้งที่ทำการซื้อขาย เกิดความสับสนในการตัดสินใจมากขึ้น เนื่องจากต้องเปลี่ยนทัศนคติบ่อยๆในการเทรด (เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง) ผลกำไรจะถูกจำกัดเพราะต้องออกจากตลาดเมื่อสิ้นสุดวัน

นอก จากนี้แล้วยังต้องพิจารณาจำนวนเงินทุนในการเทรดด้วย ในการเทรดระยะสั้นทำให้สามารถตั้งจุดตัดขาดทุนที่น้อยกว่า ในการเทรดในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าก็จำเป็นต้องมีจุดตัดขาดทุนที่มากกว่าตามไป ด้วย จึงควรมีขนาดบัญชีการซื้อขายที่ใหญ่ เพื่อให้คุณสามารถเล่นกับราคาที่สวิงขึ้นลงของตลาดได้ โดยไม่ต้องเจอกับ margin call สิ่งที่ สำคัญที่สุดที่ต้องจำไว้คือ ไม่ว่าจะเลือกเทรดในกรอบเวลาใดก็แล้วแต่ มันก็ควรเป็นเหมาะกับบุคลิกของตัวคุณเองซึ่งจะทำให้คุณเทรดได้แบบเป็น ธรรมชาติไม่อึดอัดหรือเร่งรีบจนเกินไป หากยังรู้สึกตกใจอยู่บ้างในการเทรด นั่นก็อาจเป็นเพราะว่ากรอบเวลาที่เลือกเทรดนั้นไม่เหมาะสมกับเรา และนี่ก็คือสาเหตุว่าทำไมเราจึงแนะนำให้ลองเทรดในบัญชีเดโม่ก่อนเพื่อ เลือกกรอบเวลาที่เหมาะสมกับตัวคุณเองก่อนที่จะเทรดในกรอบเวลาที่เหมาะสมใน บัญชีจริง ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดได้
และเมื่อเลือกรอบ เวลาที่เหมาะสมได้แล้วทีนี้ก็จะเทรดได้ด้วยความรู้สึกที่สบายๆ เริ่มที่จะสนุกกัยการเทรดมากขึ้น ที่นี้ก็สามารถเริ่มมองราคาในกรอบเวลาอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ตลาดได้ดีขึ้น
ส่วนมากเรามักเคยชินกับการดูกราฟที่ 15 นาที  เราไม่เคยเข้าใจเลยว่าในเมื่อทุกอย่างมันดูดี ดูถูกต้องแล้วทันใดนั้นราคาก็มีการกลับตัวหรือวิ่งไซด์เวย์ เราไม่เคยเข้าใจว่าควรจะดูในกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นเพื่อดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น บ่อยครั้งที่เมื่อมีการไซด์เวย์หรือกลับตัวในกราฟ 15 นาที มักจะเป็นเพราะราคาในกรอบราคาที่ใหญ่กว่าได้วิ่งชนแนวรับหรือแนวต้าน และคุณควรจำไว้ว่า แนวรับหรือแนวต้านในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่านั้นมีนัยยะที่สำคัญมากกว่าในการต้านราคา
การดูกราฟในหลายกรอบเวลาอาจช่วยให้เรา ผิดพลาดได้น้อยกว่าการที่เทรดในกรอบเวลาเดียว และช่วยให้สามารถถืออเดอร์ได้นานขึ้นเพราะสามารถเห็นตำแหน่งของคุณได้ ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเทียบในภาพที่ใหญ่กว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการเทรด ในกรอบเวลาเดียว และยึดกับกรอบเวลาเดียวนั้นกับ Indicators ที่พวกเขาใช้ โดยไม่สนใจกราฟในกรอบเวลาอื่นๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ บ่อยครั้งที่พวกเขาจะเจ็บตัวกับเทรนใหม่ที่มาจากกรอบเวลาอื่นๆที่ใหญ่กว่า ที่พวกเขาไม่ได้ใส่ใจ
การผสมผสานระหว่างกรอบเวลา
การเทรดโดยการวิเคราะห์ราคาจากหลายกรอบเวลาหรือหลายทามเฟรม คุณไม่ควรที่จะดูเฉพาะกรอบเวลาที่คุณต้องการเทรด แต่ควรจะซูมเข้าซูมออกเพื่อดูในกรอบราคาที่เล็กและใหญ่กว่าด้วย
ก่อนอื่นให้ดูว่ากว่ามันเกิดอะไรขึ้นในกราฟ อย่าพยายามซูมเข้าไปดูที่จุดเล็กๆ แต่ควรดูจากมุมกว้าง ดูจากภาพรวมกว้างๆของตลาด จงจำไว้ว่า การเทรดในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่า ทำให้มีเวลามากขึ้นในการวิเคราะห์และวางแผน ซึ่งก็หมายความว่ามันจะเป็นการเทรดในการเคลื่อนไหวหรือสวิงในตลาดที่มีระยะ ยาวกว่า และก็ยังมีแนวรับ-แนวต้านที่มีความสำคัญมากขึ้นในกรอบเวลามี่นานกว่าด้วยเริ่มต้นด้วยการเลือกกรอบเวลาที่คุณ ต้องการและจากนั้นเลื่อนไปดูในกรอบเวลาที่สูงขึ้น ทีนี้คุณก็สามารถตัดสินใจได้ได้ว่าจะซื้อหรือขาย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่ใช้และแนวโน้มที่มีในตลาด จากนั้นก็กลับไปที่กรอบเวลาที่ต้องการ (หรือแม้กระทั่งต่ำกว่า) และใช้กลยุทธ์ทางเทคนิคในตัดสินใจเลือกจุดที่จะเข้า-ออกออเดอร์ (ตั้งเป้าหมายกำไร กำหนดจุดขาดทุน)
และนี่ก็คือประโยชน์อย่างหนึ่งของการเท รดโดยใช้การวิเคราะห์จากหลายกรอบเวลา เราจะสามารถหาจุดเข้าออกออเดอร์ที่ดีกว่าได้ด้วยการซูมเข้าไปดูในกรอบเวลา ที่เล็กลง โดยการเพิ่มมิติของเวลาในการวิเคราะห์ ช่วยให้คุณสามารถช่วยให้เห็นอะไรที่มากกว่าการเทรดในกรอบเวลาเดียว
กรอบเวลาที่ ใหญ่ที่สุด เราจะใช้เพื่อพิจารณาแนวโน้มหลักของเรา ซึ่งจะแสดงให้เห็นภาพใหญ่ของคู่เงินที่เราต้องการเทรด กรอบเวลาต่อไปคือกรอบที่ต่ำลงมาซึ่งเป็นกรอบเวลาปรกติของเรา และมันจะส่งสัญญาณซื้อขายในระยะกลาง และกรอบเวลาเล็กสุด ที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มระยะสั้นและช่วยเราในการหาจุดเข้าออกออเดอร์ที่ดี ทีสุด
ซึง สามารถเลือกใช้กรอบเวลาไหนก็ได้ตามที่ต้องการ เมื่อแต่ละกรอบเวลาที่เลือกมีระยะเวลาที่แตกต่างกันมากพอที่จะเห็นการ เคลื่อนไหวของราคาที่แตกต่างกันในแต่ละกรอบเวลา ซึ่งเราอาจใช้
1 นาที, 5 นาที และ 30 นาที

  • 5 นาที, 30 นาที และ 4 ชั่วโมง
  • 15 นาที, 1 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง
  • 1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง และ 1วัน
  • 4 ชั่วโมง, 1วัน และรายสัปดาห์ หรือ อื่น ๆ

เวลาที่พยายามที่จะตัดสินใจว่า ควรเลือกระยะเวลาที่แตกต่างกันแค่ไหนระหว่างกราฟ  ควรแน่ใจว่ามีความแตกต่างมากพอสำหรับ การเคลื่อนไหวขึ้นลงในกรอบเวลาที่มีขนาดเล็กสุดที่จะไม่สะท้อนให้เห็นถึงการ เคลื่อนไหวในกรอบราคาที่ใหญ่ที่สุดของคุณ หากกรอบเวลาที่เลือกนั้นอยู่ใกล้กันเกินไปมันก็อาจจะไม่สามารถบอกถึงความ แตกต่างระหว่างกรอบเวลาได้ ซึ่งก็จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง  ส่วนตัวก้ใช้ แนวกลาง ๆ ครับ กราฟ 1 hr , 4hr  ครับ 

ทีมงาน : thaiforexbroker.com