Multi-charts ใช้อย่างไรบ้าง ตอน 2

Multi-charts ใช้อย่างไรบ้าง ตอน 2

Multi-charts ใช้อย่างไรบ้าง ตอน 2

                จากตอนแรกที่ได้เสนอไปว่า การใช้หลายชาร์ต ช่วยให้เข้าใจการทำงานของ price action รูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นและช่วยให้เทรดด้วยความมั่นใจขึ้นเพราะเห็นแหล่งที่มาออเดอร์ที่จะเกิดขึ้นเช่น จาก trapped traders ในส่วนของ pin bar หรือ engulfing หรือใช้ประกอบการหาต้นตอ หรือเรียกได้ว่าเป็นจุด decision point ของพื้นที่ในกรอบพื้นที่เช่น demand/suppl zone และ support/resistance

ข้อ 3. ใช้ multi-charts ช่วย price structure ที่เกิดขึ้นเพราะมองเห็นภาพรวมราคามากขึ้นกว่า

เพราะการมอง price structure เพื่อดูการเคลื่อนไหวของราคา ไม่ใช่แค่การมองจุด swing highs/lows เท่านั้น เมื่อท่านกำหนดจุดเทรดได้ จำเป็นต้องลงรายละเอียดเพื่อดูทางที่ราคาจะวิ่งเป็นไปอย่างไร สิ่งที่ท่านต้องการเห็นคือ path of least resistance การมองรายละอียดใน timeframe ย่อยลงไปจะทำให้ท่านเห็นหมดในทางที่ท่านต้องการเปิดเทรดไป

                ดูอย่าง USDCHF ตอนที่ราคาวิ่งขึ้นไปหาจุดที่จะเทรดด้านบนดู structure ที่เกิดขึ้น ด้านช้ายเป็นชาร์ต D1 และด้านขวาเป็นชาร์ต M30 เพื่อดูรายละเอียด price structure ที่เกิดขึ้นกับแท่งเทียนของชาร์ต D1 เป็นอย่างไร ในโครงสร้างพวกนี้ไม่มี demand ตัวไหนที่ถือว่าแข็งสักตัวเลย อย่างแรกมองสิ่งที่เป็น impulsive move ตามตัวเลขก่อนจะเห็นว่าไม่ได้มี momentum ที่บอกว่ามีการเทรดเข้าเยอะมาก แค่พอเกิน high ก่อนแล้วราคาก็ consolidation เป็นหลักสะสม positions ไปเรื่อยๆ และราคาย่อตัวมาที่ swap level หรือจุดที่ราคาเบรคขึ้นไปก็ไม่ได้ขึ้นอย่างแรง ราคาสามารถอยู่ในพื้นที่ได้นานหรือมองผ่านบาร์เป็นหลายบาร์ ทำให้รู้ว่าไม่มี buy market orders มากพอ และขณะเดียวกันราคาลงไปพื้นที่พวกนี้ทุกครั้งและอยู่ในพื้นที่นานได้ ทำให้เกิดการใช้หรือซึมซับ buy limit orders หรือ unfilled orders ที่เหลืออยู่ในพื้นที่พวกนี้ไปด้วย  ดังนั้นตัวที่จะหยดุราคาหรือตัวต้านทานไม่ให้ราคาไปต่อได้ง่ายคือ buy limit orders ได้ใช้ไปแล้ว ก็จะทำให้เกิดราคาผ่านได้ง่ายหรือเกิด path of least resistance ได้พื้นที่นี้ถ้าราคาลงมาอีกรอบ นี่เลยทำให้บาร์ D1 2 บาร์ที่ลงอย่างเดียวและบาร์ยาวๆ เกิดขึ้นได้

                ข้อ 4. ใช้ multi-charts ช่วยในการวิคราะห์การเทรดและเข้าเทรด วิธีการนี้น่าจะเห็นใช้กันทั่วไป เพราะการวิเคราะห์หลักการต้องเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นก่อนหรือเรียกว่าเป็น major overview สำหรับคู่เงินที่จะเทรดว่าราคาเปิดเผยอย่างไรตอนที่ trade setup เกิดขึ้น การมองภาพรวมจะเป็นกรอบกันความผิดพลาด และถือว่าเป็นจุดรับการเสี่ยงหรือเปลี่ยนใจขั้นสุดท้ายถ้า price structure เปลี่ยน การใช้การวิเคราะห์หลาย timeframe ประกอบกันจะทำให้ท่านมองออกว่าการเทรดของท่านอยู่ตรงไหนของภาพที่ท่านกำหนดเป็นกรอบการเทรดเช่น อย่างกรณีเทรดด้วยการกำหนด D1 เป็น Major overview แล้วท่านก็กำหนด timeframe สำหรับกำหนด trade setup เช่น H1 ที่สัมพันธ์กับภาพใหญ่ท่านที่ชาร์ต D1 และกำหนด timeframe สำหรับเข้าและออกเช่น M5/M15 เป็นต้น

                D1 สำหรับภาพรวมที่ต้องการหาโอกาสเทรดให้สัมพันธ์ H1 (หรือ M30) สำหรับกำหนด trade setup ก็จะมีการกำหนดเงื่อนไขเข้าไปว่าเทรดอย่างไร สำคัญคือเรื่อง risk:reward ต้องไม่ต่ำกว่า 1:3 หรือมากกว่า ส่วน reward ยิ่งมากยิ่งดี เพราะจะทำให้ความเป็นไปได้ของการเทรดท่านประสบความสำเร็จสูง และ timeframe สำหรับเข้าและออกเทรด อาจกำหนดเป็น M5/M15 เป็นต้น

                ตัวอย่างการเทรดด้านบนเป็นการเทรดแบบใช้การวิเคราะห์หลาย timeframe ประกอบอย่างที่ยกตัวอย่างมาคือ D1 สำหรับ major overview ชาร์ต H1 สำหรับกำหนด trade setup และ timeframe M15 สำหรับเข้าเทรด การเทรดด้านบนเป็นการเทรด swap level ในที่นี้คือจาก support กลายมาเป็น resistance ตรงที่ราคาเบรค เพราะลักษณะการเบรคด้วยบาร์ที่แรงและปิดด้านล่างและบาร์ต่อมาอีกไปทางเดียวกันและเป็น momentum บาร์ได้อย่างชัดเจนทั้ง 2 บาร์ บอกถึงการเข้าเทรดของขาใหญ่เพื่อจะเอาชนะ ดังนั้นจากสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่าจะเทรดตรงไหน แล้วรอว่าราคากลับมาตอนเมื่อไร แล้วกำหนด trade setup อย่างไร  ถ้าเกิดตรงนี้ risk:reward ถึงด้าน Low ของ D1 ก่อนที่จะขึ้นมามีมากพอที่จะทำกำไรได้ ดังนั้นพอราคามาถึงที่จุดต้องการไม่ใช่ว่าจะเปิดเทรดเลย เพราะเป็นการกำหนด trade setup จาก D1 ต้องรอให้ price structure เปิดเผยประกอบที่จุดตรง trade setup ด้วย จะเห็นว่าก่อนราคาจะถึง D1 resistance เมื่อมองที่ชาร์ต H1 จะเห็นว่าราคาได้สร้าง support หรือ demand ขึ้นมาตรงนี้ด้วย แม้ว่า trade setup เกิดขึ้นได้ แต่ท่านจะพบว่า timing สำหรับการเปิดออเดอร์ยังไม่ได้เพราะยังมี demand หรือ support ตรงนี้อยู่ เพราะราคาอาจไปต่อก็ได้ อย่าลืมว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ จะเห็นว่าที่เลข 1 และ 2 ราคาลงมาแต่ไม่อาจผ่านไปได้ ถ้าท่านเปิดเทรดก่อนท่านอาจได้กำไรบ้างนิดหน่อย แต่ราคาก็เด้งกลับไปอีกและก็ทำ consolidation ก่อนหลายบาร์ก่อนจะลงและ timing ในการเข้าเทรดเมื่อราคาเบรค demand ตรงนี้ หลังที่เลข 3 ตรงที่วงกลมเอาไว้ ที่ชาร์ต H1 และ M15  แล้วท่านก็มาดูที่ M15 ก็ได้เวลาเปิดเทรด ที่เหลือปล่อยเป็นเรื่องของเวลาและความอดทน

                การใช้ Multi-charts หรือหลายชาร์ต มีประโยชน์หลายอย่างๆ ที่อธิบายมา แต่ก็อย่าเปิดหลายชาร์ตมากเกินไป เช่นไม่ควรเกิน 3-4 ชาร์ต และสำคัญต้องรู้ทันและไม่หลงภาพหลักที่ท่านมองในการวิเคราะห์ ว่าจะเทรดแนวไหนและอย่างไร เพราะเมื่อท่านเปิดหลายชาร์ตเกินไป ถ้าไม่เข้าใจภาพรวมและกรอบที่ท่านกำหนดเป็นตัวกำหนดนำ เมื่อท่านมองชาร์ต timeframe เล็กกับใหญ่ก็อาจจะเห็นราคาสวนทางกัน และการมอง price structure ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเทรนของราคาก็จะทำให้ท่านหลงได้                    

ทีมงาน : thaiforexbroker.com