Mobile trading – Metatrader 4 (ตอน 2)
เรื่อง objects ช่วยในการวิเคราะห์ Metatrader 4 mobile trading มีให้ท่านถึง 24 objects สามารถเลือกใช้ได้ประกอบกับชาร์ต 3 การเรียกใช้ objects สำหรับ Metatrader 4 การ tap พื้นที่ชาร์ตปล่า ดังนั้นท่านต้อง tap ด้านล่าง ตรงไอคอนชาร์ตเพื่อเข้าชาร์ตโหมดก่อน
แล้วจะมีรายการ objects ต่างๆ ขึ้นมา แบ่งตามประเภท Lines, Channels, Gann, Fibonacci, Elliott, Shapes
วิธีการใช้ objects ขึ้นกับแต่ละจุดที่เปลี่ยนของแต่ละ objects ยกตัวอย่างเช่น horizontal มีค่าเดียวคือราคา เมื่อท่าน tap เพื่อเลือกแล้ว โปรแกรมจะกลับไปที่หน้าชาร์ต แล้วท่านก็ไป tap ตำแหน่งที่ราคาท่านต้องการ หรือถ้าต้องการเปลี่ยนค่าท่านก็ tap เพื่อเลือก object แล้วก็ลากไปที่ราคาท่านต้องการ หลักการทำงานก็ไม่ต่างจากเวอรชั่น Desktop แต่ใน Mobile edition จะใช้การ tap แทนการคลิกเม้าส์ และกดค้างไว้แล้วลากไปมาแบบใช้เม้าส์ ส่วนการตั้งค่า objects อื่นๆ ท่านก็ tap พื้นที่ชาร์ตแล้ว tap ที่ objects จาก Radial menu จากนั้นก็ tap รายการ object ที่ท่านต้องการปรับเปลี่ยนอื่นๆ แล้วก็ tap ตรงคำว่า DONE ด้านขวาบน
ในส่วน objects ถ้ามี ojects อยู่แล้วท่าน tap มาจาก Radial menu โปรแกรมจะโชว์รายการ objects ต่างๆ ที่ท่านสร้าง ท่านสามารถ tap เพื่อปรับเปลี่ยนค่า หรือ tap ด้านบนเพื่อเพิ่ม objects ใหม่ หรือเพื่อลบ objects ออกจากชาร์ต
ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างการใช้ objects
อีกอย่าง เมื่อท่านอยูในโหมดการแสดงชาร์ต เมื่อท่านปรับจอเป็นแนวนอน จะเป็นการเสนอชาร์ตแบบ full screen เมื่อท่าน tap ที่ชาร์ตจะไม่มี Radial Menu แต่มีรายการ อื่นๆ ขึ้นมาข้างช้ายและขวา ก็แบบเดิมแต่การนำเสนอต่างออกไป แต่ที่เพิ่มคือมี chart types ด้านขวา จะมี Bar chart, candlesticks, และ line chart ให้ท่านเลือกได้ง่ายแทนที่จะไปเปลี่ยนที่ Settings
การเพิ่มอินเคเตอร์ที่มาพร้อมกับ Mobile editon ของ Metatrader 4 มีทั้งหมด 30 การใช้งานก็ไม่ต่างจากเวอรชั่น Desktop
เมื่อท่าน tap ครั้งแรกโปรแกรมจะโชว์รายการอินดิเคเตอร์ที่โปรแกรมให้มา จัดเป็นหมวดหมู่มี Trend, Oscillators, Volumes และ Bill Williams พอท่าน tap อินเดิเคเตอร์ที่ท่านต้องการใช้โปรแกรมก็จะโชว์ค่า default ให้ท่านปรับแต่งและจากนั้นท่านก็ tap คำว่า DONE ด้านบนขวา ก็เป็นการเพิ่มอินดิเคเตอร์เช้าชาร์ตเรียบร้อย
เมื่อท่าน tap ครั้งแรก ยังไม่มีอินดิเคเตอร์จะเป็บแบบนี้ เช่น ท่านเลือกใช้ CCI โปรแกรมก็จะแสดงค่า default มาก่อนเผื่อท่านจะปรับเปลี่ยนค่าและอื่นๆ เมื่อเสร็จท่านก็ tap คำว่า DONE ด้านบนเป็นการจบ
เช่นเลือก CCI พร้อมด้วยค่า Default ท่านสามารถปรับค่าได้หรือถ้ากลับมาใช้ค่า Default ด้วยการ Reset ด้านล่างได้ หลักการก็ไม่ต่างจากเวอรชั่นที่เป็น Desktop
เมื่อเสร็จก็จะได้แบบที่คุ้นเคยในเวอรขั่น Desktop
แต่เมื่อท่านใส่อินเคเตอร์ตัวอื่นเพิ่มอีก พอท่าน tap เข้ามาหน้าตาจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย ด้านบนจอจะมีไอคอนถังขยะที่เลข 1 ถ้าท่านต้องการลบอินดิเคเตอร์ออกจากชาร์ต ท่านก็ tap แล้วโปรแกรมจะมีให้ท่าน tap เพื่อเลือก และเลข 2 จะเป็นการเพิ่มอินดิเคเตอร์ตัวอื่นเช้ากับชาร์ต เลข 3 เป็นการเพิ่มอินดิเคเตอร์เข้ากับส่วนของอินดิเคตอร์ตัวนั้นๆ
การลบอินดิเคเตอร์ออกท่านสามารถทำได้ด้วยการ tap ที่ถังขยะ แล้วเลือกรายการที่ต้องการและก็ tap ที่ถังขยะอีกที หรือ ท่านสามารถกดที่อินดิเคเตอร์นั้นค้างไว้ก็จะมีเมนูขึ้นมา มี Edit และ Delete สามารถทำจากตรงนี้ได้เลย
ส่วนที่เป็นเรื่องของการเทรด เมื่อท่าน tap ไอคอนที่ 3 ด้านล่าง ก็จะโชว์รายการเทรดต่างๆ ทั้งที่เป็น Positons (คือออเดอร์ที่เปิดอยู่) และ Orders (คือ pending orders เช่น buy limit, buy stop, sell limit, sell stop) ก็ไม่ต่างจาก terminal ของเวอร์ชั่น Desktop
นี่เป็นเวอรชั่น mobile trading
ก็จะมีเพิ่มที่เลข 1 สำหรับ tap เพื่อจัดเรียงการแสดงผล ก็จะมีเรียงอันดับตาม Order, Time, Symbol และ Profit
เลข 2 ไอคอนสำหรับ tap เพื่อ New order
เลข 3 เมื่อท่าน slide ออเดอร์นั้นๆ มาทางขวามือ ไอคอนแรกที่สามารถ tap ได้จะเป็น Close order ไอคอนถัดมาเป็น Modify order และไอคอนสุดท้ายเป็นเปิดชาร์ตคู่นั้นๆ หรือเมื่อท่านกดที่ออเดอร์นั้นๆ ค้างไว้ก็จะมีเมนูขึ้นมา
มีรายการคำสั่งให้ท่านเลือก tap คือ Close oder, New order, Modify order และ Chart
หรือเมื่อท่าน tap ออเดอร์นั้นๆ ทีเดียวก็จะมีรายละเอียดขึ้นมาหมดให้ท่านเห็น เช่น
เลข 1 เป็นชื่อคู่เงินที่เทรด
เลข 2 เป็นการเปิด
เลข 3 เป็นจำนวนล็อตที่เปิด
เลข 4 เป็นราคาที่เปิด
เลข 5 เป็นราคาปัจจุบันของคู่เงิน
เลข 6 เป็น Profit/loss ของ position
เลข 7 เป็นเวลาที่เปิด position
เลข 8 เป็นค่า stop-loss
เลข 9 เป็นค่า take-profit
เลข 10 เป็น ID สำหรับ position
เลข 11 เป็นค่า swap
เลข 12 เป็นค่าคอมมิชั่นสำหรับการเปิด position ที่โบรกเกอร์ต้องการ
ส่วน History ที่แสดงผลการเทรดของบัญชีเทรดนั้นๆ
เลข 1 จะเป็นคู่เงินที่ต้องการแสดงหรือจะเลือกทั้งหมด
เลข 2 เป็นการเรียงอันดับการแสดงผลมี Symbol, Order, Opening time, Closing time และ Profit
เลข 3 เลือกช่วงเวลาที่ต้องการแสดงผล มี Today, Last week, Last month, Last 3 months และ Custom period (กำหนดช่วงเวลาเอง)
นอกจากนั้นเมื่อท่าน tap ที่ position นั้นๆ 1 ครั้ง ก็จะโชว์รายละเอียดแต่ละรายการขึ้นมา
ส่วนที่เป็น News และ Chat มีการนำเสนอทั่วๆ ไป ไม่มีอะไรที่ซับช้อน
จากที่อธิบายมาท่านจะเห็นว่าหลักการทำงานของ Metatrader 4 Mobile edition ไม่ได้ต่างจาก Desktop ที่เทรดบนวินโดวส์ แต่อาจมีการปรับรูปแบบนำเสนอ และการเข้าถึงที่ต่างออกไปตาม platform นั้นๆ เช่นเรื่อง tap เพื่อเลือกก็เท่ากับ click ด้วยเม้าส์ที่เวอรชั่น Desktop หรืออื่นๆ และการนำเสนออาจมีพื้นที่จำกัดบ้างเป็นธรรมดาเพราะ mobile platform มีพื้นที่การนำเสนอจำกัดเมื่อเทียบกับเวอร์ชั่นที่เป็น Desktop แต่ก็ถือว่าบริษัทที่ผลิต MetaQuotes Software ทำได้ดีเพราะไม่มีช่องว่างในการเรียนรู้มากเกินไป
ทีมงาน : thaiforexbroker.com