การเทรดบนมือถือ Mobile trading – cTrader (ตอน 1)

Mobile trading forex

Mobile trading – cTrader (ตอน 1)

               cTrader เป็นอีกทางเลือกที่โบรกเกอร์เสนอไปพร้อมกับ Metatrader 4/5 จะเห็นหลายๆ โบรกเกอร์ เช่นโบรกจากทางออสเตรเลีย (เช่น IC Markets, Pepperstone) cTrader ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่กำลังมีฐานเทรดเดอร์รายย่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง 3 เวอรชั่นให้เลือกเทรด Desktop, Web และ Mobile (ทั้งสำหรับ Android และ iOS)

เลือกติดตั้งจาก  Play Store (ของระบบปฏิบัติการ Andriod)

 

 

 

เนื่องจาก cTrader ให้ท่านต่อเชื่อม platform ผ่าน cTrader ID ท่านจึงจำเป็นต้องสมัครก่อน หรือถ้ามีอยู่แล้วก็ใช้ได้เลย ข้อดีของ cTrader ID คือ เป็น single account ที่เก็บไว้บนเว็บ สามารถเก็บ trading account/password ของท่านจาก brokers ต่างกันได้ ไว้ที่เดียวกันหมด ไม่ต้องจำเป็นรายการไปแบบเมื่อท่านเชื่อมต่อบัญชีเทรด Metrader 4/5 ที่ต้องจำเป็น รายการๆ ไปมี trading account, password และ trading server และ cTrader ID ท่านสามารถ ใช้กับ cTrader platform ของโบรกไหนก็ได้เลยทำให้ท่านจัดการเรื่อง trading accounts จากโบรกต่างๆ ได้ง่าย

เมื่อ sign in เข้า platform ได้ หน้าแรกที่ปรากฏจะเป็นแบบนี้

เลข 1 เป็น Main menu

เลข 2 บอกประเภทบัญชีเทรด D = Demo account และ L = Live account

เลข 3 บอก trading accounts เมื่อ tap ก็จะมีรายการ account ที่ต่อเชื่อมไว้กับ cTrader ID

เลข 4 ส่วนของค้นหา เพื่อเข้าถึงคู่เงินที่ต้องการเทรดได้ง่าย

เลข 5 tab รายการต่างๆ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงก็จะมี WHATCHLIST, POSITIONS, ORDERS, PRICE ALERTS, HISTORY และ TRANSACTIONS โดยท่านสามารถเลื่อนไปมาแล้ว tap หัวข้อพวกนี้ และก็จะแสดงผลด้านล่าง ที่กรอบเลข 7 รายละเอียดตามหัวข้อที่ท่าน tap

เลข 6 จะเป็น Watchlist (ถ้าเทียบกับของ Metatrader จะเป็น Market watch) เมื่อท่าน tap ที่ชื่อก็จะแสดงรายการ whatlishs อื่นๆ ขึ้นมา ไอคอน + เมื่อต้องการเพิ่ม Watchlist และ ไอคอนดินสอ เมื่อต้องการแก้ไข Watchlist

เลข 7 เป็นพื้นที่แสดงผลหลักของ cTrader platform ข้อมูลที่แสดงก็จะต่างกันไปตามรายการ tap ด้านบน ที่อยู่ในเลข 5 ก็จะแสดงผลเป็นส่วนๆ ไป

เลข 8 สำหรับ Create Order (แบบเดียวกัน New Order ใน Metatrader mobile edition) ก็จะมี รายการออเดอร์ คือ MARKET, LIMIT, STOP และ STP LIMIT แต่ละประเภทก็จะมีรายละเอียดให้ท่านกำหนด

เลข 9  เป็นส่วนบอกสถานะบัญชีเทรดนั้นๆ ก็จะมี Balance, Equidity, Gross and Net Profit and Loss, Magin detials, Stop Out, Trading Sessions และเวลาปัจจุบัน

              การแสดงผลหลัก ของ cTrader จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนบนบอกรายการต่างๆ ส่วนหลัก ที่แสดงข้อมูลตามรายการที่เลือกและส่วนล่างบอก สถานะ รายละเอียดบัญชีเทรดนั้นๆ

               ส่วนแรก WATCHLISTS ให้ท่านเลือกคู่เงินที่ท่านทำการเทรด  แบบแยกเป็น watchlist เพื่อให้ท่านง่ายต่อการเข้าถึงและไม่ได้จำกัดว่าท่านจะสร้าง watchlists เท่าไร และก็ไม่ได้จำกัดจำนวนคู่เงินแต่ละ watchlist ด้วย โดยเมื่อท่านเปิดโปรแกรมขึ้นมาครั้งแรกจะเป็น default watchlist ใช้ชื่อว่า Popular Markets  ท่านสามารถสร้าง Watchlist ใหม่ด้วยการ tap ที่ไอคอน + หรือสามารถ copy รายการ watchlists แล้วเพิ่มหรือลบคู่เงินตามต้องการได้

               ส่วนหลักที่น่าจะสนใจคือ Symbol ว่ามีอะไรนำเสนอบ้าง คือ Symbol name, Daily change, Daily High/Low และ New Order

เมื่อท่าน tap ที่พื้นที่ ส่วนค่าเงินนั้นๆ ที่ไม่ใช่ส่วน SELL หรือ BUY ก็จะเปลี่ยนเป็นส่วน Overview สังเกตดูตรงส่วนที่เป็น WATCHLIST tab ด้านบนจะเปลี่ยนเป็น Overview จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

ส่วน 1 – Symbol Status bar ก็จะมี เลข 1 เพื่อเพิ่มหรือลบออกจาก Watchlist  เลข 2 บอกสถานะว่าเปิดให้เทรดได้ เลข 3 บอก Daily change เลข 4 กำหนดล็อตสำหรับเทรด เลข 5 เปิด sell market order เลข 6 เปิด buy market order

ส่วน 2 – Charts ก็จะมีที่เลข 7 เพื่อเปลี่ยนเป็น Full-screen และเลข 8 ก็จะให้เปลี่ยน timeframes  ในส่วนชาร์ต ถ้ามี positions หรือ orders ก็จะแสดงด้วย และเลข 9 สำหรับ Create order  ให้ท่านเทรด market order หรือกำหนด pending orders (sell limit, buy limt, sell stop, buy stop, sell stop limit, buy stop limit) ได้ ส่วนที่เพิ่มเติ่มเข้ามาคือเมื่อท่าน tap เพื่อเข้า full screen mode จะมีไอคอนสำหรับ tap ด้านล่างเพื่อเปลี่ยน timeframe เปลี่ยนประเภทชาร์ต (Bar Chart, Candlesticks, Line Chart, Dots Chart และ Area) เพิ่มหรือลบอินดิเคเตอร์ เพิ่มหรือลบ Drawings (ใน Metatrader  ใช้คำว่า objects สำหรับส่วนนี้)  และสุดท้าย settings  สำหรับแสดง Ask Price Line, Bid Price Line, Grid, Period Separators และ Tick Volumne หรือเปล่า และ crosshair ด้านขวาสุด

ส่วนที่ 3 เป็นเรื่อง Sentiment ก็จะแสดง percent ของ positions ที่เปิดอยู่ของบัญชีเทรดเดอร์ต่างๆ ของนักเทรด หรือ ที่เชื่อมต่อ liquidity provider ตรงส่วนนี้จะช่วยให้ข้อมูลว่าตลาดกำลังเทรดอย่างไรในตอนนี้ เช่นขาใหญ่อาจใช้ข้อมูลส่วนนี้เพื่อใช้กับกลยุทธ์เทรดสวนเทรน เพราะส่วนมาก sentiment พวกนี้จะบอกว่าเทรดเดอร์รายย่อยกำลังทำอะไรอยู่ ดังนั้นเมื่อ sentiment ด้านใดด้านหนึ่งมากไป เช่น 70-30 ให้พึงระวังว่าราคาอาจถึงจุดใกล้กลับเทรน

Symbol Details – แสดงข้อมูลโดยละเอียดของคู่เงินนั้นๆ พร้อมทั้งราคา Bid และ Ask

Market Hours – สำหรับดูว่าตลาดไหนกำลังเปิดหรือปิด สำหรับคู่เงิน ถ้าเป็นช่วงเวลาเปิดก็จะไฮไลท์ด้วยสีเขียว

Links – ลิงค์สำหรับแหล่งข้อมูลทางการเงินหลักๆ ที่เกี่ยวกับคู่เงิน  ท่านสามารถ tap เพื่อจะเปิดใน browser ได้

Trade Statistics – แสดงสถิติรายละเอียด การเทรด สำหรับคู่เงินนั้นๆ ก็จะมี เช่น Net profit, Total trades, Losing และ Winning trades, Total และ Average pips วอลลูมที่เทรด เป็นต้น

Leverage –  leverage สำหรับคู่เงิน

ส่วนเพิ่มเติ่มสำหรับ Full-screen mode ที่อธิบายในส่วนที่ 2

 

เลข 1 – เปลี่ยน timeframes

เลข 2- เปลี่ยนประเภทชาร์ต

เลข 3 เพิ่มหรือลบอินดิเคเตอร์

เลข 4 เพื่อหรือลบ drawings (Horizontal line, Vertical line, Trend Line, Ray, Fibonaccic Retracment, Equidistant Price Channel)

เลข 5 Settings สำหรับแสดง Ask Price Line, Bid Price Line, Grid, Period Separators และ Tick Volumne หรือเปล่า

เลข 6 เมื่อต้องการใช้ crosshair

ทีมงาน : thaiforexbroker.com