รู้ตลาด sideway ก่อนจะเทรดอย่างไร
ตลาด sideway คือช่วงที่ตลาดวิ่งอยู่ในกรอบระหว่าง support/resistance ที่เกิดขึ้นไม่เห็นมีการสร้างเทรนที่ชัดเจนให้เห็น ทั้งรูปแบบ price action ที่บอกว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายคุมตลาดก็ไม่เปิดเผย จะเห็นช่วงที่เกิดความสมดุลย์ระหว่างออเดอร์จากทั้งฝ่าย sellers และ buyers ต่างฝ่ายต่างได้เทรดแต่ราคาไม่ไปไหน ส่วนมากจะเป็นผลจากความพยายามของขาใหญ่ที่ต้องการสะสม positions แล้วค่อยดันราคาไปต่อ
ตลาดมี 2 สถานะคือ ทำเทรน (trending) และวิ่งอยู่ในกรอบ (sideway)
การเข้าใจตลาดตอนนั้นๆเป็นอย่างไรมีผลต่อtrade setupที่เกิดขึ้นหมดตลาดที่กำลังทำเทรนก็จะง่ายต่อการเทรดเพราะเห็นความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เกิดขึ้นหรือเกิดimpulsive moveเป็นทางนำมาก่อนให้เห็นว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายคุมตลาดการทำเทรนดูด้วยprice actionด้วยการพัฒนาการเรื่องของswing highs/lows เช่นเทรนขึ้นจะเห็นราคาทำHigher Highก่อนแล้วตามด้วยHigher Lowและตามด้วยHigher High ใหม่อีกรอบเป็นเรื่อยๆ
จะเห็นว่าตัวแปรที่ต้องการเห็นของเรื่องของเทรนขึ้นคือต้องเบรคHighก่อนให้ได้เพราะบอกว่ายังมีเทรดเดอร์อยากเทรดทางนั้นอยู่เลยทำให้เกิดการเบรคได้ยังมีbuy market ordersเกินอยู่เลยทำให้ราคาขึ้นได้ ส่วนมากก็จะเป็นผลจากการเข้ามีส่วนร่วมของขาใหญ่เพราะสามารถดันราคาไปได้แต่เมื่อไรก็ตามที่ราคาไม่สามารถเบรคHighไปต่อได้ต้องตีความใหม่ทันทีส่วนมากก็จะเกิดตอนปลายเทรนหรือเทรนวิ่งไปสักระยะพอที่ขาใหญ่จะเปิดทำกำไรได้แล้วปั่นราคาให้อีกรอบ
จุดที่วงกลมตรงที่เกิดHigher Highที่เลข1เป็นผลจากการปิดทำกำไรเป็นหลักเพราะราคาวิ่งมาเยอะและขาใหญที่เปิดแต่ต้นเทรนกำไรมากพอเลยปิดสะสมและก็ได้ซึมซับหรือใช้ไปbuy market ordersที่มาจากรายย่อยที่เปิดเทรดตอนปลายเทรนพอดีก็เลยช่วยให้ขาใหญ่ได้ปิดกำไรตามจุดที่ต้องการตรงวงกลมเลยกลายเป็นโครงสร้างส่วนแรกของการเข้า sideway market
แต่เรายังไม่อาจยืยยันว่าจะทำsidewayจริงหรือเปล่าต้องดูว่าราคาลงทำ Higher Low ตามปกติเรื่องของการทำเทรนที่ถือว่าตรงนี้เป็นsupportแต่พอราคากลับขึ้นไปไม่สามารถเบรคHighได้แค่พื้นที่แถวเดิม ที่เลข3ตรงพื้นที่ด้านบนเลยกลายเป็นresistanceพอราคาลงมาอีกรอบแล้วเด้งกลับตอนนี้จะถือว่าตลาดเข้าสู่โหมดsideway market(หรือ choppy market/range-bound market) จากผลความไม่สมดุลย์ออเดอร์ที่ทำให้เกิดเทรนก็กลับมาสู่ความสมดุลย์ระหว่างออเดอร์ตลาดไม่ได้เปิดเผยว่าฝ่ายคุมตลาดกลายมาเป็น sideway
Sideway markets ทำให้เกิด order accumulation ในพื้นที่
สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงตลาดเกิดsidway marketคือเกิดการเทรดไปด้วยทั้ง2 ฝั่งมีการจับคู่ผ่านช่วงเวลาถ้าผ่านช่วงเวลาเยอะก็จะทำให้เกิดการสะสมออเดอร์เกิดขึ้นพื้นที่ตรงนั้นเยอะขึ้นไปได้เช่น sideway marketในชาร์ตH4/D1จะเห็นผลชัดเมื่อเกิดการbreakoutขึ้นเรื่องของaccumulationนี้อาจไปทางเทรนที่ทำมาก่อนหรือสวนเทรนก็ได้ต้องดู Breakout ที่เกิดขึ้นประกอบและมักจะมีfalse breakoutเกิดขึ้นก่อนประจำแล้วตามด้วย breakout จริงเพราะขาใหญ่ต้องการใช้เงื่อนไขที่ทำให้เกิดmarket ordersจากเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาด จึงมักจะมีการใช้กลยุทธ์การเทรดBreakoutสำหรับราคาเบรคresistanceหรือsupportเกิดขึ้นและการเทรดในกรอบ
กลยุทธเทรดช่วง sideway markets
แม้ว่าราคาไม่ได้ทำเทรนแบบ tredning market ที่สามารถแกะรอยขาใหญ่แล้วเทรดตาม impulsive move ที่เกิดขึ้น แต่เทรดเดอร์ก็นิยมการเทรดตลาด sideway มี 2 แบบหลักๆ สำหรับตลาดแบบนี้ อย่างแรกคือเทรดในกรอบแนวรับที่อยู่ด้านล่างกรอบและแนวต้านที่อยู่ด้านบนกรอบ แต่สำคัญคือระยะห่างระหว่างแนวรับและแนวต้านต้องมากพอ หรือ risk:reward เช่น การดูกรอบ sideway market จาก timeframe ใหญ่เช่น H4 D1 หรือ W1 เป็นต้น ข้อดีของการเทรด ตอนที่ตลาดทำ sideway คือเห็นว่าแนวรับแนวต้านอยู่ตรงไหน เช่นอย่าง EURGBP เป็นการยกตัวอย่าง sideway ที่มาจากชาร์ต D1 ระยะห่างจากแนวต้านและแนวรับประมาณ 100 บีบ จะเห็นว่าระยะห่างมากพอการเทรดค่อนข้างจะไม่ยาก เช่นเปิดเทรด Buy เมื่อราคาลงมาที่ support กำหนด Stop loss ต่ำกว่า low ของแนวรับและ take profit ก่อนถึงแนวต้านด้านบน หรือทางกลับกัน ถ้าจะเปิด sell เมื่อราคาขึ้นมากรอบบน stop loss เหนือ high ของพื้นที่แนวต้านและ take profit ก่อนถึงพื้นที่แนวรับหรือ support เหตุผลที่ทำให้การเทรดทำงานได้ เพราะว่าเทรดเดอร์ที่เทรดทางแนวรับ ก็ไม่อยากให้ราคาลงไปเบรคพอราคากลับมาก็เปิด buy เพิ่มอีก และในทางกลับกันเทรดเดอร์ที่เปิด sell เมื่อราคากลับมาก็ไม่อยากให้ resistance โดนเบรคก็เปิด sell เพิ่มอีก เลยทำให้ราคาวิ่งอยู่ในกรอบ การเทรดในกรอบแบบนี้ส่วนมากก็จะดู sideway จาก timeframe ใหญ่แล้วดู price structure ใน timeframe ย่อยเพื่อเทรด
กลยุทธ์เทรดเมื่อตลาดเบรคช่วง sideway markets
อีกกลยุทธ์การเทรดที่นิยมกันเมื่อเห็นตลาด sideway คือเปิดเทรดเมื่อเห็นตลาด Breakout ที่กรอบราคานี้ จะเห็นการเบรคกรอบด้านบนหรือ resistance หรือกรอบด้านล่าง หรือ support เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะเรียกว่า Breakout traders ก็จะกำหนด buy stop orders หรือ sell stop orders เป็นหลักพื้นที่เดียวกันกับ stop loss orders ของเทรดเดอร์ที่เปิดอยู่ในกรอบแต่ละข้าง buy stop orders ก็จะตั้งอยู่พื้นที่เดียวกันกับ stop loss orders ของเทรดเดอร์ที่เปิด sell positions หรือ sell stop orders ก็จะตั้งอยู่ที่พื้นที่เดียวกันกับ stop loss orders ของเทรดเดอร์ที่เปิด long positions ที่ต่ำกว่า support ไปลงหน่อย ทั้ง stop loss orders และ sell/buy stop orders เรียกกันรวมๆ ว่า stop orders ก็จะทำงานเมื่อราคาตลาด วิ่งไปแตะทั้ง 2 แหล่งที่มาออเดอร์ก็จะกลายมาเป็น market orders ทันที ก็จะกลายเป็นตัวเร่งราคาให้เร็วขึ้นกว่าเดิม กลุยทธ์เทรดแบบ breakout นี้เป็นการใช้ประโยชน์จากเทรดเดอร์ที่ติดอยู่ในตลาดเป็นหลัก คือเทรดเดอร์พวกนี้ก็จะมีการกำหนด stop loss เข้าไปกับ postions ที่ตัวเองถืออยู่ในตลาด เพราะอย่างที่รู้เมื่อตลาด sideway ไม่ไปทางไหน ก็จะเกิดการสะสม positions ราคาไม่ได้ทำเทรน เทรดเดอร์ที่เปิด positions ต้องจำกัดความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ เลยตั้ง stop loss เลยทำให้คำสั่งพวกนี้ไปตั้งเงื่อนไขกับตลาด คำสั่งพวกนี้จะทำงาน ก็ต่อเมื่อราคาวิ่งไปถึงราคาที่ตั้งเงื่อนไข ขาใหญ่เลยใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขตลาดแบบนี้เสมอ
ข้อดีและข้อเสียของตลาด sideway
แต่ข้อดีของการเทรดตลาด sideway ก็มีเมื่อเห็นว่าเรื่องของ risk:reward มากพอ ส่วนมากก็จะมองตลาด sideway จาก timeframe ที่เห็นเป็นกรอบนำ ข้อดีคือก็จะเห็นจุดเข้าและจุดออกชัดเจน เพราะแค่กำหนดที่จุดเข้าและออกที่ แนวรับและแนวต้านของกรอบตลาด sideway ง่ายๆ คือ buy ที่ support กำหนด stop loss ต่ำกว่า support และ take profit ก่อนถึง resistance หรือ sell ที่ resistance กำหนด stop loss เหนือ resistance และ take profit ก่อนถึง support หรือบางเทรดเดอร์ต้องการเทรดในกรอบแคบๆ อาจประยุกต์การเทรดแบบ scalping เข้าไป ไม่คอยต้องมามองหาหรือวิเคราะห์แนวรับแนวต้านที่เกิดขึ้นแบบไดนามิคเหมือนตอนตลาดทำเทรน ข้อเสียของ sideway เมื่อเทียบกับตลาด trending เนื่องจากราคาวิ่งอยู่ในกรอบ โอกาสการเปิดเทรดเลยเกิดขึ้นบ่อย ถ้าเปิดเทรดบ่อยๆ ตามก็จะทำให้เสียค่าคอมมิสชั่นมากขึ้นได้ และไม่สามารถปล่อยให้กำไรวิ่งไปได้เมื่อเทรดถูกทางเพราะระยะจำกัดของราคาที่วิ่งอยู่ในกรอบ และข้อเสียอีกอย่างเมื่อเปิดเทรดตลาด sideway ก็จะทำให้ถือ position รอนาน ทำให้เกิดความเสี่ยงได้ เพราะไม่รู้ว่าตลาดจะ breakout ตอนไหน
รู้อย่างไรว่าตลาด sideway จบแล้ว
ที่กำหนดตลาด sideway เพราะราคาวิ่งอยู่ในกรอบที่เป็นแนวรับและแนวต้าน เมื่อไรก็ตามที่ตลาดเบรค แนวต้านหรือ resistance และทำ Higher High ถือว่าตลาด sideway จบ และเปลี่ยนเข้าสู่ตลาดที่ Buyers เป็นฝ่ายคุม หรือเมื่อราคาเบรคแนวรับหรือ support และราคาทำ Lower Low ก็เปลี่ยนเข้าสู่โหมดตลาดขาลงหรือ Sellers เป็นฝ่ายคุม
ขาใหญ่หาโอกาสจากตลาด sideway อย่างไร
ขาใหญ่เนื่องจากเทรดด้วยจำนวนออเดอร์เยอะ และการเทรดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ตรงข้ามมากพอที่จะเปิดเทรด สำหรับรายย่อยอาจไม่เห็นความสำคัญเรื่องจำนวนออเดอร์ตรงข้ามที่มากพอที่จะเปิดเทรด เพราะเทรดเดอร์รายย่อยเปิดเทรดด้วยจำนวนน้อยเปิดตอนไหนก็มีออเดอร์ตรงข้ามเสมอ แต่ขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะมาก เมื่อจะเปิดเทรดพวกเขาต้องหาว่าพื้นที่ตรงไหน มีออเดอร์ตรงข้ามมากพอ ถ้าไม่พอพวกเขาจะทำอย่างไร วิธีการสะสมหรือ accumulation เป็นวิธีการที่ขาใหญ่นิยมใช้กัน
จะเห็นว่าราคาลงไปแล้วตามมาด้วย sideway หรือ consolidation เกิดขึ้นหลายบาร์ของแท่งเทียน H4 เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดก็ได้เปิด positions ในกรอบนี้แต่ราคาไม่ไปไหนมากวิ่งอยู่ในกรอบ support/resistance แคบๆ หรือ sideway จนกว่าเกิด stop hunt หรือ false break ทำให้รู้ว่าขาใหญ่สะสม positions ทางข้างไหน เพราะพวกเขาต้องการล่า stop loss ของเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดในกรอบเพื่อจะได้เข้าเทรดได้อีกทางที่พวกเขาดันกลับมาเป็น false break แล้วก็ตามมาด้วยการดันราคาไปทางตรงกันข้าม และยังเป็นการใช้ stop loss ของฝ่ายที่เปิด short positions เพื่อเร่งราคา และ buy stop orders ก็ยังมาจาก breakout traders อีกด้วย
ทีมงาน : thaiforexbroker.com