Ichimoku ขั้นพื้นฐาน กับ วิธีการตั้งค่าและเทคนิคลับ

Ichimoku ขั้นพื้นฐาน กับ วิธีการตั้งค่าและเทคนิคลับ

กลยุทธิ์และอินดี้ยอดนิยมของโค้ชทั้งหลาย Ichimoku หรือที่เรียกกันในอีกนามคือ ระบบ “ก้อนเมฆ” ระบบหรืออินดิเคเตอร์ชนิดนี้ถือว่าเป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานค่อนข้างง่าย อีกทั้งยังมีความแม่นยำที่ค่อนข้างสูง…หากเปรียบเทียบกับอินดิเคเตอร์หลายๆตัวไม่ว่าจะเป็น MACD หรือแม้กระทั่ง Bollinger Bands ในบางครั้งก็ยังจำเป็นจะต้องใช้ควบคู่กับเทคนิคและอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ แต่อินดิเคเตอร์ชนิดนี้ เพียวๆก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างสบายใจ

อันด้วยความสามารถของ Ichimoku หรือระบบ “ก้อนเมฆ”นั้นมีความพิเศษที่หลากหลายซึ่งโดยส่วนมากคนนิยมมาใช้ในรูปแบบของการ ช่วยระบุแนวรับแนวต้าน อีกทั้งยังมีความสามารถในการบอกเทรนด์ได้แม่นยำยิ่งหากใช้พิจารณาในหลายทามเฟรมก็ยิ่งทำให้แม่นยำได้มากขึ้นไปอีกครับและในวันนี้ผมก็จะมาบอกถึงวิธีการและเทคนิคลับในการใช้งานซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นเทคนิคผสมผสานกับอะไรน่าสนใจมากแค่ไหนไปรับชมกันได้ครับ

“ถ้าล้มเราอาจจะได้แผล ถ้ายอมแพ้เราอาจจะไม่ได้อะไรเลย”


ความเป็นมาของ Ichimoku

Ichimoku มีชื่อเรียกเต็มๆว่า Ichimoku Kinko Hyo indicator ซึ่งคนไทยนิยมเรียกกันว่าระบบ ก็อนเมฆ อันเนื่องมาจากรูปร่างของอินดิเคเตอร์ตัวนี้มีลักษณะเหมือนกับก็อนเมฆนั่นเองครับซึ่งสามารถที่จะดูตัวอย่างดังรูปภาพด้านล่างประกอบได้ครับ โดยที Ichimoku หรือ Ichimoku Cloud นั้นถูกคิดค้นขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดย Goichi Hosoda ซึ่งใช้เวลายาวนานถึง 30 ปีในการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์และได้นำออกมาเผยแพร่ให้ได้ใช้งานกันในช่วงราวๆทศวรรษที่ 1960

รูปที่ 1 Ichimoku อินดิเตอร์ยอดนิยมในประเทศไทย
รูปที่ 1 Ichimoku อินดิเตอร์ยอดนิยมในประเทศไทย

จะเห็นได้ว่า indicator ชนิดนี้เมื่อเราเลือกตกแต่งเส้นและสีตามความต้องการแล้วนอกจากจะใช้งานได้อย่างดีเยี่ยมแล้วยังมีความสวยงามอีกด้วยนะครับ(อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน) โดยผมจะสอนวิธีการตั้งค่าและอธิบายหลักการทำงานในหัวข้อถัดไปจากนี้ครับ

วิธีคำนวณ สูตร Ichimoku

Ichimoku Kinko Hyo indicator จะมีสูตรที่ค่อนข้างมากครับอันเนื่องมาจากส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์ตัวนี้มีมากถึง 4 ส่วนประกอบหลักด้วยกันครับ โดยผมจะขออธิบายส่วนประกอบของแต่ละส่วนไปทีละข้อเพื่อที่จะได้ไม่สับสนและให้ทางผู้อ่านทำการดูรูปภาพด้านล่างประกอบไปด้วยดังนี้ครับ

รูปที่ 2 ส่วนประกอบของ Ichimoku Kinko Hyo indicator
รูปที่ 2 ส่วนประกอบของ Ichimoku Kinko Hyo indicator

Tenkan-sen คือ เส้นของการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้น

สูตรคำนวน = (9-period high + 9-period low)/2))

ความหมายคือ  คล้ายคลึงกับเส้น MA แบบ Fast EMA มีความสามารถในการบอกโมเมนตัมในระยะสั้น เมื่อมีการตัดขึ้นเหนือ Kijun-sen จะเป็นการบอกสัญญาณ Bullish

Kijun-sen คือ เส้นของการเคลื่อนไหวของราคาในระยะกลาง

สูตรคำนวณ = (26-period high + 26-period low)/2))

ความหมายคือ  คล้ายคลึงกับเส้น MA แบบ Slow EMA มีความสามารถในการบอกโมเมนตัมในระยะกลางโดยจะใช้ควบคู่กับเส้น Tenkan-sen ในการบอกสัญญาณครอสโอเวอร์นั่นเองครับ

Kumu หรือ “ก้อนเมฆ” คือ พื้นที่ระหว่าง Senko Span A และ Senko Span B

  • Senko Span A สูตรคำนวณ (Conversion Line + Base Line)/2))
  • Senko Span B สูตรคำนวณ (52-period high + 52-period low)/2))

ความหมายคือ
เมื่อ Senko Span A > B จะเท่ากับ Up Kumo  จะบอกแนวโน้มขาขั้น

และ เมื่อ  Senko Span B > A จะเท่ากับ Down Kumo จะบอกแนวโน้มขาลง
(ทริปคือ เมฆก้อนแคบ ผันผวนน้อย / เมฆก้อนใหญ่กว้าง ผันผวนมาก) คล้ายกับ Bollinger Bands

Chikou Span คือ ตัวคุมภาพรวมในการเทรดระยะสั้นทั้งหมด

สูตรคำนวณ = Close plotted 26 days in the past, Plot ช้าไป 26 วัน

ความหมายคือ มีประโยชน์ในด้านการยืนยันสัญญาณการครอสโอเวอร์ของ เส้น Tenkan-sen และ Kijun-sen โดยวิธีการใช้งานผมก็จะขอกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไปนะครับ

ระบบเทรด Ichimoku ที่แนะนำ

เมื่อได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสูตรความเป็นมาและวิธีการคำนวนเบื้องต้นแล้วตอนนี้ผมก็จะมาสอนวิธีการใช้งาน Ichimoku เบื้องต้นกันก่อนนะครับโดยให้ดูจากรูปภาพด้านล่างประกอบดังนี้ครับ

รูปที่ 3 วิธีการใช้งาน Ichimoku เบื้องต้นในการบอกเทรนด์ขาขึ้น
รูปที่ 3 วิธีการใช้งาน Ichimoku เบื้องต้นในการบอกเทรนด์ขาขึ้น

จากที่เห็นดังรูปก็จะเป็นใช้งาน Ichimoku ในการบอกเทรนด์เป็นส่วนใหญ่ โดยวิธีการพิจารณาการดูเทรนด์ขาขึ้นมีดังนี้

  1. เริ่มจากการที่ กราฟแท่งเทียนนั้นโผล่ขึ้นมาเหนือเมฆ
  2. เส้น Tenkan-sen ตัดกับ Kijun-sen และทำการโผล่ขึ้นมาเหนือเมฆ
  3. เส้น Chikou Span อยู่เหนือกราฟแท่งเทียนและเหนือเมฆ
  4. เกิดก้อนเมฆเป็นชนิดของ Up kumo หรือก็คือ Senko Span A > B

เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อแล้วก็จะเป็นการระบุเทรนด์ได้ว่า ณ ตอนนี้กราฟกำลังทำราคาในแนวเทรนด์ขาขึ้นอยู่นั้นเองครับ…แต่ก็ต้องพึงควรระวังเนื่องจากอินดิเคเตอร์ตัวนี้ไม่สามารถเล่นได้ในกรณีที่เป็น Side way ได้เนื่องจากความแม่นยำในการบอกข้อมูลค่อนข้างน้อยครับซึ่งผมก็จะขอกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัด

วิธีตั้งค่า Ichimoku พื้นฐาน

วิธีตั้งค่า Ichimoku พื้นฐานทั่วไป

ให้เราทำการเรียกใช้งาน Ichimoku โดยเริ่มจากเข้า MT4 เลือก Insert >Indicators>Trend> Ichimoku Kinko Hyo indicator

รูปที่ 4 เรียกใช้งาน Ichimoku Kinko Hyo indicator ในMT4
รูปที่ 4 เรียกใช้งาน Ichimoku Kinko Hyo indicator ในMT4

หลังจากนั้นผมก็จะทำการตั้งค่าพารามิเตอร์ Tenkan-sen(9) , Kijun-sen(9) และ Senkou Span B(52) ตามลำดับและทำการตั้งสีต่างๆดังตัวอย่างรูปภาพด้านล่างเลยครับ

รูปที่ 5 ตั้งค่าพารามิเตอร์ Ichimoku Kinko Hyo indicator ในMT4
รูปที่ 5 ตั้งค่าพารามิเตอร์ Ichimoku Kinko Hyo indicator ในMT4

วิธีตั้งค่า การตั้งค่า MACD ใช่ร่วมกับ Ichimoku

ให้เราทำการเปิด MACD ขึ้นมาโดยผมจะใช้ค่าพารามิเตอร์ดั้งเดิมของ MACD นะครับซึ่งสามารถดูรูปภาพประกอบตามด้านล่างนี้ได้เลยครับ

รูปที่ 6 การตั้งค่า MACD ใช่ร่วมกับ Ichimoku
รูปที่ 6 การตั้งค่า MACD ใช่ร่วมกับ Ichimoku

เงื่อนไขการ Buys

เทคนิคนี้เนื้องจากมีเงื่อนไขที่มากและซับซ้อนดังนั้นให้ขอทุกท่านดูรูปภาพประกอบด้านล่างพร้อมกับการดูเงื่อนไขเข้าไม้ตามไปทีละข้อดังนี้ครับ

รูปภาพที่ 7 การเข้าไม้ Buy ด้วยเทคนิค Ichimoku และ MACD
รูปภาพที่ 7 การเข้าไม้ Buy ด้วยเทคนิค Ichimoku และ MACD

1.เริ่มจากการที่ กราฟแท่งเทียนนั้นโผล่ขึ้นมาเหนือเมฆ

2.เส้น Tenkan-sen ตัดขึ้นกับ Kijun-sen และทำการโผล่ขึ้นมาเหนือเมฆ

3.เส้น Chikou Span อยู่เหนือกราฟแท่งเทียนและเหนือเมฆ

4.เกิดก้อนเมฆเป็นชนิดของ Up kumo หรือก็คือ Senko Span A > B

5.สัญญา Histogram ของ MACD ณ ขณะนั้นจะต้องอยู่เหนือกว่าระดับ 0

6.รอจนกว่ากราฟราคาจะทำการปิดราคาอยู่ใต้ Tenkan-sen หรือ Kijun-sen และรอจนกว่ากราฟราคาจะทำการปิดเหนือ Tenkan-sen หรือ Kijun-sen อีกครั้งก็ให้ทำการเปิดไม้ Buy แล้วทำการวาง SL ไว้ที่ Swing low ล่าสุดและวาง TP ไว้ที่ RR 1 : 1

เงื่อนไขการ Sells

เงื่อนไขการเข้าไม้ Sell นั้นก็จะตรงข้ามกับเงื่อนไขการเข้าไม้ Buy ดังนี้

รูปภาพที่ 8 การเข้าไม้ Sell ด้วยเทคนิค Ichimoku และ MACD
รูปภาพที่ 8 การเข้าไม้ Sell ด้วยเทคนิค Ichimoku และ MACD

1.เริ่มจากการที่ กราฟแท่งเทียนนั้นโผล่ลงไปใต้เมฆ

2.เส้น Tenkan-sen ตัดลงกับ Kijun-sen และทำการโผล่ลงไปใต้เมฆ

3.เส้น Chikou Span อยู่ใต้กราฟแท่งเทียนและใต้เมฆ

4.เกิดก้อนเมฆเป็นชนิดของ Down kumo หรือก็คือ Senko Span B > A

5.สัญญา Histogram ของ MACD ณ ขณะนั้นจะต้องอยู่ใต้ระดับ 0

6.รอจนกว่ากราฟราคาจะทำการปิดราคาอยู่เหนือ Tenkan-sen หรือ Kijun-sen และรอจนกว่ากราฟราคาจะทำการปิดใต้ Tenkan-sen หรือ Kijun-sen อีกครั้งก็ให้ทำการเปิดไม้ Sell แล้วทำการวาง SL ไว้ที่ Swing high ล่าสุดและวาง TP ไว้ที่ RR 1 : 1

ข้อควรระวังในการใช้ Ichimoku

ข้อควรระวังคือไม่ควรเล่น Ichimoku ในช่วงที่กราฟราคาอยู่ภายในเมฆเนื่องจากเราจะไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าทิศทางราคานั้นจะหันเหไปทางไหนโดยให้ดูรูปภาพด้านล่างประกอบ

รูปที่ 9 กราฟราคาอยู่ภายในเมฆ Ichimoku
รูปที่ 9 กราฟราคาอยู่ภายในเมฆ Ichimoku

ให้สังเกตกราฟที่มีหลายเลข 1 ปรากฎจะสังเกตได้ว่ากราฟนั้นเป็นขาลงมาตลอดจนกระกราฟกลับเข้าสู่เมฆอีกครั้งโดยทำ Sideway อยู่ช่วงหนึ่ง หากสังเกตดีๆแล้วนั้นเมฆ ณ ตอนนั้นยังคงเป็นขาลงอยู่ก็จริงครับแต่ Tenkan-sen กับ Chikou Span ขึ้นไปอยู่เหนือเมฆเรียบร้อบแล้วหากมาในลักษณะนี้ก็จะมีโอกาสที่ลงไปต่อก็ได้หรืออาจจะกลับตัวขึ้นไปอย่างรุนแรงดังตัวอย่างรูปด้านล่างได้เช่นกันครับ

รูปที่ 10 กราฟกลับตัว Ichimoku
รูปที่ 10 กราฟกลับตัว Ichimoku

สรุป

อินดิเคเตอร์ Ichimoku Kinko Hyo indicator นั้นเป็นอินดี้ยอดนิยมและแม่นยำอย่างมากเลยละครับสำหรับการดูเทรนด์ทั้งนี้แน่นอนว่ายังคงมีข้อควรระวังอยู่บ้างเพราะฉะนั้นก่อนจะนำไปใช้ควรศึกษาวิธีการใช้รวมไปถึงลักษณะคู่เงินนั้นๆด้วยจะดีมากครับ

อ้างอิง

https://thaibrokerforex.com/ichimoku-kinko-hyo-คืออะไร/

https://thaibrokerforex.com/การใช้-indicator-ต่าง-ๆ-ichimoku-kinko-hyo/

https://forexthai.in.th/ichimoku-cloud-indicator-คืออะไร/

 

สารบัญบทความ