Doji ต้องเข้าใจก่อนค่อยเทรด Forex

forex ต้องเข้าใจก่อนค่อยเทรด

Doji ต้องเข้าใจก่อนค่อยเทรด

                Candlestick pattern อีกอย่างที่นิยมกันคือ Doji  เป็นประเภทแท่งเทียนที่หลักการทั่วไปบอกถึงความไม่แน่นอน เกิดขึ้นว่าฝ่ายไหนชนะ เป็นทาง buyers หรือ sellers เพราะเมื่อเปิดราคามา ราคาสู้กันไปมาจนราคาปิดที่ราคาเดียวกับราคาเปิดหรือเป็นพื้นที่เดียวกันเป็นหลัก รูปแบบต่างๆ อาจต่างกันออกไป เช่นเรื่องของหางบาร์ (wick) ที่เกิดขึ้น ทั้งข้างไหนและขนาดต่างมีผลต่อการตีความหมายหมดประกอบกับจุดที่เกิดและปริบทที่เกิดขึ้นรอบๆ  แต่หลักสำคัญของแท่งเทียนประเภทที่เรียกว่า Doji ได้คือราคาเปิดและปิดต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

                Doji เป็นรูปแบบแท่งเทียนที่ถือจากการดูแท่งเทียนเดียวเป็นหลัก  (แท่งเทียนประกอบด้วยราคาเปิด ราคาสูง ราคาต่ำ และราคาปิด) แต่ถ้ามองที่ timeframe ย่อยลงไปอาจเป็นหลายแท่งเทียนประกอบกันเป็นเรื่องปกติของแท่งเทียนเมื่อมองต่าง timeframe  โดย Doji ก็จะมีเรียกชื่อต่างกันออกไปตามรูปแบบ เลข 1 เรียก Basic Doji โดยจะมีราคา สูง ต่ำ เปิด และ ปิด ไม่ห่างกันมาก, เลข 2 เรียก Long Ledged Doji ราคาเปิดและปิดจะแถวเดียวกันแถวตรงกลาง แต่จะมีส่วนที่เป็นหางบาร์ หรือ wick ที่ยื่นออกไปยาวทั้งสองข้าง, เลข 3 เรียก Dragon Fly Doji ราคาเปิดและปิดแถวเดียวกัน แต่ส่วนที่เป็นหางด้านล่างจะยื่นลงไปยาว ส่วนหางด้านบนหรือส่วนที่เป็น High จะอยู่พื้นที่เดียวกันราคาเปิดและปิด, เลข 4 เรียก Gravestone Doji ตรงข้ามกับประเภทที่ 3 คือราคาเปิดและปิดจะแถวเดียวกัน หางบาร์ส่วนด้านบนจะยาวส่วนด้านล่างจะไม่ค่อยมี และเลข 5 เรียก Four Price Doji เกิดจากการที่ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงและราคาต่ำของแท่งเทียนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

                Doji เนื่องจากเป็นรูปแบบ candlestick ที่เกิดขึ้น เหมือนแบบอื่นๆ เช่น Inside Bar, Engulfing Bar, Pin Bar เป็นต้น การจะเทรดแท่งเทียนพวกนี้จำเป็นต้องอ่านปริบทออก และจุดที่เกิดเป็นสำคัญไม่อาจเปิดมาแล้วเทรดเลยได้ ดังนั้นเมื่อยังไม่อ่านปริบทประกอบ อ่านแค่แท่งเทียน Doji ก็จะบอกว่า ตลาดตอนนั้นบอกไม่ได้ว่าฝ่าย buyers หรือ sellers เข้าควบคุมตลาด เลยมักจะตีความว่าเป็นช่วงที่ตลาดไม่แน่นอนว่าฝ่ายไหนชนะ เลยมักจะเอา Doji ไปใช้เทรดกับพวกแนวรับแนวต้าน พอเมื่อราคาไปถึงราคาหยุด บอกความไม่แน่นอนที่ราคาจะดันไปต่อได้ โอกาสที่ราคาจะเด้งจากแนวรับแนวต้านก็จะมี

                จุดที่ลูกศรชี้จะเป็นว่าเป็น Doji แบบแรกที่เห็นทั่วไป เมื่อมองจากแท่งเทียนอย่างเดียวก็จะอธิบายว่า แม้ราคาจะบอกไม่ได้ว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายคุมตลาด แม้ราคามาถึง swap level ก็ตาม ท่านต้องมองปริบทประกอบในที่นี้คือบาร์ยาวๆ ที่ดันราคามาถึงจุดนี้ เมื่อดู doji แบบนี้ก็จะมองตามปริบทว่าราคามาเทส แต่ช่วงเวลานั้นไม่เปิดเผยว่าฝ่ายไหนชนะ อาจเกิดเพราะการปิดกำไรที่ buy ขึ้นมาหรือเจอ limit orders เยอะมากพอที่จะหยุด แต่ไม่เห็น market orders เข้ามาหนุน แบบนี้จะมอง doji เป็นผลการเทรดว่าไม่มีเทรดเดอร์อยากเปิด sell ต่อ ถ้ามีโอกาสเปิด buy อีกรอบราคาก็จะไปได้ง่าย Doji แบบนี้จะเห็นตอนที่มีเทรนแรงๆ หรือตามหลัง Momentum ที่บอกการเข้าเทรดแรงๆ

                อีกรูปแบบ Dragon Fly Doji ความรู้ทั่วๆ ไปบอกว่า ราคาลงมาด้วยการดันของ sellers แต่สุดท้ายราคาตีกลับมาเป็นฝ่าย buyers ชนะ จะเห็นว่ามีแค่ Doji ที่เลข 3 ที่ดันราคาไปต่อได้ หลังจากที่แท่งเทียนบอกว่าฝ่ายไหนกำลังคุมตลาด และราคาหลังจากนั้นก็ขึ้นเป็นหลัก แต่ทำไมที่เลข 1 และ 2 ราคาไม่ได้ขึ้นไปเพราะเมื่อดูรูปแบบก็ไม่ต่างกัน  

ท่านจำเป็นต้องเพิ่มตัวกรองเข้าไปและอธิบายด้วยเรื่องออเดอร์ทำงานอย่างไรเป็นหลัก แล้วท่านจะเข้าใจ Doji  ด้วยการที่เปิดการเทรดจาก sellers ก็เรียก sell market orders และจาก buyers เรียก buy market orders แทน ราคาจะไปต่อทางไหนได้ก็ต่อเมื่อ market orders เกินอีกฝั่งที่ราคานั้นๆ ก็จะทำให้ market orders ไปหาออเดอร์ฝั่งข้ามข้ามที่ราคาต่อไป การเปิดเทรด (trading transaction) จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ฝั่งตรงข้าม และอีกอย่างการออกจากเทรด เช่นการปิดทำกำไร หรือปิดเสียแล้วแต่ เมื่อท่านปิด position นั้นๆ ที่อยู่ในตลาด ก็เท่ากับท่านกดเปิด market order ฝั่งตรงข้ามที่เปิด position เช่นเมื่อเปิด short positions  ดังในรูป เมื่อได้กำไรมาปิดแถวๆ ที่เกิดหางบาร์หรือที่เกิด Doji ที่เลข 1 บอกได้ว่ามี buy market orders เข้ามา ราคาดันขึ้นไปอีกบาร์ก็ลงมาไม่มี buy market orders ดันต่อ แล้วมาที่ Doji ที่เลข 2 ก็บอกมี buy market orders เข้ามาแต่ไม่สามารถดันราคาไปต่อได้ หลักๆ เพราะ buy market orders พวกนี้เกิดจากการปิด ทำกำไรของ short positions ที่ด้านบนเป็น market orders ที่เกิดจากการออกจากตลาด แต่ที่เลข 3 เป็น buy market orders ที่เกิดจากการเข้าเทรดเพื่อเข้าตลาด เพราะเป็นการเทรดที่ต้นตออีกรอบ บอกว่าขาใหญ่เข้าเทรดก่อน แล้วมีการเปิดเทรดเพิ่ม เพราะถ้าเป็น market orders ที่มาจากการเข้าเทรดจริงๆ จะเห็นราคาสามารถเอาชนะฝั่งตรงข้ามได้

อีกอย่างการดูท่านไม่อาจดูแค่ว่าเป็น Bullish หรือ Bearish Doji ด้วย ต้องดูให้ออกว่าบ่งบอกว่าเป็นการเข้าเทรดหรือเป็นการออกจากการเทรด ยิ่งเป็น Doji ที่เกิดขึ้นกับ impulsive move ก็ยิ่งจะเพิ่มความเป็นไปได้เข้าไปอีก เพราะจะสอดคล้องกับที่ขาใหญ่เข้าเทรดตอนแรก และกระจายออเดอร์เพื่อเข้าเทรดอีก อย่างที่เลข 3 เป็นการเทรดอีกรอบหลังจากเกิด Impulsive move

                อีกตัวอย่าง Gravestone Doji ก็หลักการเดียวกันอย่างที่อธิบายมา แค่มองให้ออกว่าหางบาร์เกิดที่ไหน (เช่นแนวรับ-แนวต้าน หรือ supply/demand) ดูปริบทประกอบดูว่า trading pressure ที่ทำให้เกิด Doji ได้เป็นเพราะเกิดจากการปิดทำกำไรหรือเพราะการเข้าเทรดจริงเป็นสำคัญ ค่อยจะทำให้ท่านเทรด Doji สัมพันธ์กับตลาดที่กำลังบอกท่านว่าควรจะเทรดไปทางไหน

                เมื่อเข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลัง Doji แม้มีรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็จะรู้ว่าเมื่อเกิด Doji ขึ้น ก็จะหาโอกาสเทรดเป็นว่าจะเทรดทางไหนและอย่างไรตาม trade setup ของแต่ละรูปแบบการเทรด

ทีมงาน : thaiforexbroker.com