การดู correlation เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ (กรณีศึกษา GBP)

correlation

การดู correlation เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ (กรณีศึกษา GBP)

               ช่วงนี้ข่าวเรื่อง Brexit ยังปั่นป่วนค่าเงินอังกฤษเกือบทุกอาทิตย์

               การเทรดคู่เงินที่สัมพันธ์กับ GBP เช่น GBPUSD, GBPJPY, GBPCAD,GBPCHF,GBPAUD,EURGBP จะเห็นว่าบางวันวิ่งแรงมากแพราะความไม่แน่นอนของอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องออกจากยุโรปหรือ BREXIT การเทรดคู่เงินพวกนี้ต้องระวัง แต่ไม่ได้หมายความว่าเทรดไม่ได้ เพราะจากการวิ่งแรงๆ แสดงว่ามีการเข้าเทรดเยอะ แสดงว่ามีขาใหญ่ที่ใช้สถานการณ์นี้เทรดสวนรายย่อยได้ง่าย เมื่อวาน (11 มีนาคม 2560) ถือว่าวิ่งเยอะ GBPUSD วิ่งไป 300 กว่าปีบ GBPJPY วิ่งไป 400 บีบ GBPCAD วิ่งไป 400 กว่า GBPAUD วิ่งไป 380 กว่า GBPCHF วิ่งไป 360 กว่า และ EURGBP วิ่งไป 190 กว่าปีบได้

               หากมองดูจาก price structure ของทั้ง 6 คู่เงิน  เมื่อวานราคาเคลื่อนไหวเยอะเพราะข่าวที่เรื่อง Brexit  แต่ถ้าเราตัดเรื่องของข่าวออกไป มองจาก price structure ของแต่ละคู่เงินล้วนๆ เมื่อวานน trade setup ที่เกิดขึ้นถือว่าชัดมาก และท่านยังสามารถเปิดคู่เงินที่สัมพันธ์กันเป็นตัวยืนยัน demand/supply ได้ด้วย ดูตัวอย่างประกอบการอ่าน

               เมื่อท่านเปิดชาร์ต D1 มาจะเห็นว่าโครงสร้าง swap demand ของ 5 คู่แรกและ swap supply ของ EURGBP ไม่แตกต่างกัน จะเห็นลักษณะราคาเบรคและเทสคล้ายๆ กัน นี่บอกอะไรบางอย่าง คือว่าตรงพื้นที่นี้มีการเข้าเทรดอย่างจริงจังของขาใหญ่ที่เปิดเผยให้เป็น ถ้าท่านตัดเรื่องข่าวออกไป ทั้ง 6 จุดถือว่าเป็น demands และคู่สุดท้ายเป็น supply ที่มีโครงสร้างดีมากคือไม่ demand/supply base นานเกินไปจากราคาที่กลับมา ทุกโครงสร้างมี trapped traders หมด ถ้าราคากลับมาพื้นที่ risk:reward ก็ถือว่าดีหมด และสำคัญชาร์ตต่างยืนยันชาร์ตอื่น

               เมื่อท่านเห็นภาพรวมแล้วลงมาดูรายละเอียดแต่ละคู่เงินว่าเป็นไปทางเดียวกันหรือเปล่าก่อนจะเทรด

เริ่มที่ GBPUSD

พอเปิดมาวันจันทร์จะเห็น market gap ที่มักจะเกิดขึ้นประจำสำหรับตลาดฟอเรก เมื่อตลาดปิดวันศุกร์และมาเปิดวันจันทร์ ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับ market gap ประเภทนี้มีเกือบทุกอาทิตย์  สิ่งที่เรามองคือ price structure ที่สัมพันธ์กับ D1 Demand ราคาถือว่าอยู่ในกรอบ D1 Demand ทั้งหมด จากภาพแรกที่ยกจุดเทรดมา ราคายังวิ่งมาหาพื้นที่เราควจจะมองหา โอกาสเปิด buy สำหรับ GBP- และเปิด Sell สำหรับ –GBP แต่เราต้องการ trade setup trigger ที่บ่งชี้ว่าราคาน่าจะขึ้นวันนี้หรือเปล่า เราจะเห็น supply ที่ใกล้สุดคือก่อนที่จะเกิด Gap ลงไปอีกรอบและ supply ด้านบนขึ้นมาจะเป็นพื้นที่ take profit ที่มีระยะห่างประมาณ 100 บีบได้  เวลาผ่านไปราคายังไม่ลงไปต่อแต่ราคาไม่สามารถปิดบน supply 1 ได้จนกว่าเวลา server ที่ 11.00 ราคาจึงมาถึงพื้นที่ๆ เราถือว่าเป็น trade setup triggers สำหรับคู่เงินทั้งหมดตรงเส้น vertical lines ทั้ง 6 ชาร์ต

               บางเทรดเดอร์เมื่อเป็นแบบนี้อาจตัดสินใจเปิดออเดอร์เลยเพราะราคาเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามใกล้สุดได้ และเป็นการโต้ตอบของ D1 Demand ที่ภาพที่ 2 ด้านบนที่บอกว่าชาร์ตยืนยันชาร์ต ถ้าราคาย่อตัวมาก็อาจเปิดเพิ่ม แต่สำหรับเทรดเดอร์อีกกลุ่มที่รอ trade setup trigger พอเวลา 11.00 สิ่งนี้ก็เกิดขึ้นที่เหลือก็แค่หาจังหวะว่าจะเข้าตรงไหนตอนไหน โอกาสเกิด 2 ชั่วโมงต่อมาเมื่อราคาดันลงไปแต่ไม่สามารถปิดต่ำกว่า low เมื่อเช้าได้ ตอนที่เกิด market gap ลงไปทุกชาร์ตเกิดลักษณะเดียวกันหมดและที่สำคัญตรงนี้เกิดหลังจากที่ traset setup trigger ได้เกิดขึ้น โอกาสเปิดเทรด buy จะชัดเจนขึ้นมากถ้า trigger เกิดขึ้น และราคาย่อลงไปแล้วรีบขึ้นมา ชาร์ตยืนยันทั้งหมดได้เวลาเปิด buy ที่บาร์ลูกศร (หลังจากราคาทำ higher high ตามด้วย higher low จึงถือว่าจบ corrective move ได้เวลา)

               เมื่อมองไปแต่ละจุดหลังจากที่เข้าเทรด ที่มีออเดอร์ตรงข้ามอยู่ จะเห็นว่าระยะห่าง 100 บีบขึ้นไปทั้งนั้น มากเพียงพอที่จะทำกำไร พอราคามาถึงให้ท่านดูว่าราคามาถึงพื้นที่ดังกล่าวอย่างไร เจาะพื้นที่โซนได้มากแค่ไหน ถ้าเกิด rejection เด้งมาอย่างไร ท่านจะเห็นว่าบาร์ยาวๆ ล้วนวิ่งเข้าหาโซน และราคาปิดเกือบหรือปิดเกินส่วนที่เป็น distal line ของพื้นที่ demand และ supply zones หมด (พื้นที่ demand/supply ประกอบด้วยราคา 2 พื้นที่ที่บอกความกว้างของพื้นที่โซน พื้นที่ใกล้สุดเรียก proximal line price และไกลสุดเรียก distal line price) บอกว่าไม่มี sell limit orders ที่ supply มากพอและยังบอกว่า buy market orders ยังต่อเนื่องและแรงไม่งั้นบาร์ดังกล่าวไม่เกิดขึ้น (เทรดสิ่งที่เห็น ไม่ได้เทรดสิ่งที่คิด)  จะเห็นว่าราคาไปหยุดที่พื้นที่ supply ตัวบนสุดมากกว่า

               จากตัวอย่างที่ยกมา แม้ว่าจะมีข่าวแรงเรื่อง Brexit จะเป็นตัวเร่งราคาถ้าเกิดการสิ่งมักจะวิ่งแรงๆ แต่ไม่ได้หมายความว่ายากที่จะเทรดเกินไป เราสามารถใช้หลักการ correlation คู่เงินต่างๆ ประกอบเพื่อหาพื้นที่ price levels ในตัวอย่างที่ยกมาเป็น demands และ supply เพื่อบอกว่ามีการเข้าเทรดตรงไหน และเพื่อดู strength ว่าเกิดขึ้นพื้นที่เดียวกันหรือเปล่าเพื่อยืนยันเมื่อการเข้าเทรดที่ demand/supply ที่เจอหลังจากที่เกิด trade setup trigger เกิดขึ้น การ correlation แบบนี้จะช่วยให้ท่านเห็นว่า market orders เข้ามาตรงพื้นที่เดียวกันหรือเปล่า ท่านต้องการเห็นพื้นที่เดียวกัน อย่างเดียวกัน ยิ่งชาร์ตยืนยันชาร์ตด้วย นั่นหมายความว่ามีแต่ market orders นั้นๆ ทางเดียวเลยทำให้ราคาวิ่งไปได้ง่าย

ทีมงาน : thaiforexbroker.com