การปรับฐาน แท่งเทียนเล็กๆจิ๋วๆแดงเขียวสลับกัน (Corrective move)

foreแท่งเทียน

Corrective move

               สิ่งที่เกิดคู่กับ impulsive move คือ corrective move ที่มักจะเกิดขึ้นตอนราคาทำเทรนเพราะราคาต้องการมาเทสแล้วไปต่อส่วนมากก็จะเปิดตอนเริ่มเทรนหรือช่วงเทรนแรงๆ และในโครงสร้างใหญ่ก็มีโครงสร้างย่อยประกอบก็จะมี impulsive move ตามด้วย corrective move เป็นประจำ

               Impulsive move บอกถึงการเข้าเทรดของขาใหญ่ ลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาก็จะไปทางใดทางหนึ่งอย่างแรงในระยะเวลาอันสั้น เพราะเป็นผลจากความไม่สมดุลย์ระหว่าง sellers และ buyers เป็นเพราะผลจากการเข้าเทรดของขาใหญ่เป็นหลัก impulsive move  มักจะเห็นมีการเอาชนะพื้นที่ๆ เป็นตัวต้านทานฝ่ายตรงข้ามประกอบ อาจเปิดตอนเริ่มต้นเทรนหรือไปต่อก็ได้ ลักษณะหลักๆ ของ impulsive move เมื่อดูผ่านแท่งเทียนก็จะมี  1. แท่งเทียนส่วนที่เป็น bodies ก็จะยาวๆ (large candles/bodies) 2. แท่งทียนพวกนี้ก็ไปไปทางเดียวกันหรือถ้าเป็นสีก็สีเดียวกัน และ 3. ราคาก็จะปิดทาง highs/lows ที่ราคาวิ่งไปของการเคลื่อนไหว

               ที่บอกว่า large bodies เพราะเป็นเรื่องการเข้าเทรดของขาใหญ่ หมายถึงบอกความไม่สมดุลย์อย่างแรง ดังนั้นเมื่อเป็นแท่งเทียนที่ขนาด bodies ใหญ่หลายแท่งและไปทางเดียวกัน  เลยเป็นการบอกถึงการเข้าเทรดของขาใหญ่ มักจะเห็นว่ามีการเอาชนะพื้นที่ฝ่ายตรงข้ามประกอบ เมื่อเห็นเช่นนี้เลยเป็นการบอกนัยสำคัญว่าขาใหญ่เข้าเทรดตรงนั้น แท่งเทียนถ้าจะให้ดีเป็นแบบลักษณะเดียวกันเช่น bullish bar ทั้งหมดหรือ bearish bars จะดี เพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักว่าฝ่ายไหนครองตลาด และสุดท้ายเรื่องราคาปิด ให้เห็นว่าราคาปิดทางที่เป็น high/lows ของการเคลื่อนไหวไปจะดี เพราะบอกว่าเป็นการเข้าเทรดอย่างต่อเนื่องและมาก เพราะยิ่งถ้ามีหางบาร์น้อยทางที่ราคาวิ่งไปยิ่งดี เป็นการปิดเกือบที่เป็น highs หรือ Lows ยิ่งดี เพราะถ้ามีหางบาร์ทางที่ราคาวิ่งไปน้อยบอกว่ามีการปิดทำกำไรน้อยยังมีแต่อยากเปิดเทรดเพิ่มเป็นหลัก หรือยังไม่มี market orders อีกฝั่งมายิ่งจะเพิ่มน้ำหนักการกรอง impulsive move ขึ้นไปอีก

               ที่จำเป็นต้องอธิบาย impulsive move ก่อนเพราะ corrective move คือการที่ราคาวิ่งสวน เทรนหลักที่เกิดจาก impulsive move ดังนั้นอาจเรียกได้ว่า corrective move เป็น pullback ก็ได้ สิ่งที่เป็นตัวประกอบของ corrective move จึงไม่ยากที่จะกำหนด เพราะหลักๆ ก็เป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามจาก impulsive move

               Corrective moves ก็มักจะมี  1. ขนาดแท่งเทียนก็จะเล็กกว่า 2. มักจะมีการผสมระหว่าง bull candles และ bear candles กันไปและ 3. ราคาปิดมักจะห่างจาก Highs/lows มากจะเห็นเป็นหางบาร์ยาวๆ เกิดขึ้น เมื่อประยุกต์หลักการของ impulsive move เป็นเรื่องของ corrective move ก็ตรงกันข้าม

               หลักการเข้าเทรดที่ corrective move เมื่อเห็นจบหรืออาจหาตรงจุดเทรดจากที่ราคาเอาชนะตอนเกิด impulsive move ที่เป็นผลจากการเข้าเทรดของขาใหญ่ หรือใช้หลักการ confluence เช่นใช้ Fibonacci Retracements ประกอบแต่ละ impulsive move เพื่อหาเลข Fibo ที่เข้าเทรด หรือใช้เทรนไลน์หรือใช้ Round Numbers ประกอบอินดิเคเตอร์

               ราคาทำ impulsive move บอกว่าขาใหญ่เข้าเทรด ด้วยบาร์ยาวๆ สีเดียวกัน ปิดทางเดียวกัน จนเบรคกรอบ supply หรือเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามได้ มีหยุดพักหน่อยแล้วขึ้นไปต่อ ราคาชึ้นไปทำ higher high แล้วมีการปิดทำกำไรและมีเทรดเดอร์ที่เทรดสวนเข้าตลาด เริ่มช่วง corrective move ก็ดูว่าจะจบตรงไหน ดูลักษณะบาร์เล็กกว่าเมื่อเทียบกับบาร์ตอน impulsive move และมีทั้ง bearish bar และ bullish bar และราคาปิดแถวพื้นที่ราคาเอาชนะ ดูที่เลข 1 ที่บอกว่าเป็นจุดที่ราคาเอาชนะ จะเห็นราคาหยุดและมีการเด้งกลับ การเทรดอาจเปิดตอนกลับเลยหรืออาจรอยืนยัน แต่ถ้ามั่นใจเรื่องการตีความ impulsive move ก็ไม่ต้องรอยืนยัน เพราะราคาเปิดเผยชัดเจนด้วยการเอาชนะ แถมมี trapped traders และการย่อตัวนั้นเมื่อใช้ Fibonacci Retracement ประกอบก็ตกที่ 50.0 ที่ถือว่าเป็นการเทรดตอนที่เทรนกำลังแรงมีความเป็นไปได้สูง การเทรดตอน corrective move จบแบบนี้เลยเรียกว่า pullback

               เมื่อท่านมองเรื่อง การพัฒนาการของเทรนที่เกิดจาก swing highs/lows เช่น higher highs ตามด้วย higher lows ถือว่าเป็นเทรนขึ้น ท่านจะพบว่า ทั้ง impulisve move และ corrective move เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นคู่กัน เพราะเมื่อเกิด impulsive move ก็มักจะตามด้วย corrective moves เป็นหลักและ corrective moves ก็มักจะตามด้วย impulsive move เป็นหลักเช่นกันไปทางที่ราคาทำ impulsive move เหตุผลหลักๆ เป็นเพราะว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายคุมตลาดตอนนั้นๆ ก็จะยังคุมตลาดต่อไปถ้าไม่เห็นเทรนหรือการเคลื่อนไหวตรงข้ามที่แข็งๆ พอ  ราคาก็จะทำแบบนี้ต่อเนื่องจนกว่าเกิด impuslive move ที่สวนเทรนเกิดขึ้น ก็จะกลายเป็นเปลี่ยนข้างหรือจากเทรนขึ้นกลายมาเป็นเทรนลง ราคาก็จะทำ Lower Lows ตามด้วย Lower Highs แล้ว corrective move ก็เกิดทางตรงกันข้ามกับขาใหญ่ หลักการเดียวกันแต่ต่างทิศทางกันเท่านั้นเอง

               การเข้าใจเรื่อง impulsive move และ corrective move ช่วยท่านหลายๆ อย่างเช่น ช่วยในการหาเทรนที่ถูกว่าราคากำลังไปทางไหน ช่วยให้ท่านสามารถถือ positions ที่กำไรให้ได้กำไรมากกว่าเดิมได้เพราะท่านรู้เรื่องเทรน ช่วยให้ท่านหาโอกาสเข้าเทรด pullback เพื่อเทรดตามเทรนได้ตลอด ช่วยให้ท่านรู้ว่าตลาดจะไปต่อเมื่อไร จะกลับเทรนเมื่อไร ช่วยให้ท่านหาโอกาสเทรดที่ค่อนข้างจะทำกำไรดีเมื่อเทรดตาม Impuslive move เพราะเป็นการเทรดตามขาใหญ่ ช่วยให้ท่านรู้ว่าฝ่ายไหนกำลังคุมตลาดเป็นต้น

ทีมงาน : thaiforexbroker.com