วันนี้มีเทคนิคการเทรดเจ๋งๆ มาฝากกันครับ เป็นเทคนิคที่จะว่ายากก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นแต่ก็ไม่ง่ายต้องตั้งใจและทำความเข้าใจพอสมควรครับ โดยเทคนิคนี้คือ “CCI Breakout” จะเป็นเทคนิคแบบไหนมีประโยชน์อะไรบ้างไปติดตามกันนะครับ
Highlight บทคัดย่อ
- กลยุทธ์ CCI Breakout เป็นเทคนิคการเทรดที่รวมอินดิเคเตอร์ CCI และ EMA 3 เส้น โดยใช้เพื่อระบุแนวโน้มราคาของตลาด
- การตั้งค่า EMA ประกอบด้วยการใช้ค่า Period 34 และปรับ Apply to = High, Low, และ Close รวมทั้งหมด 3 เส้น
- ส่วนการตั้งค่า CCI ใช้ Period 20 และ Typical Price [(High + Low + Close) / 3] เพื่อประเมินความแข็งแกร่งและแนวโน้มราคา
- ตัวอย่างการเทรด
- การเทรดหน้า Buy เริ่มจากการตรวจสอบราคาที่อยู่เหนือ “Wave (เส้น EMA ทั้ง 3)” พร้อมค่า CCI ที่ตัดเส้น +100 ขึ้นไป ให้เข้าเทรดในแท่งเทียนถัดไป
- การเทรดหน้า Sell ตรวจสอบราคาที่อยู่ใต้ “Wave” และค่า CCI ที่ตัดเส้น -100 ลงมา ให้เข้าเทรดในแท่งเทียนถัดไป
- ข้อดีของกลยุทธ์นี้คือใช้ CCI ในการวัดแนวโน้มราคาและลดสัญญาณรบกวนแต่มีข้อเสียในเรื่องสัญญาณหลอกและเป็นอินดิเคเตอร์ที่ล่าช้า
กลยุทธ์ CCI Breakout
- กลยุทธ์ CCI Breakout เป็นกลยุทธ์เทรดที่เน้นการจับจังหวะระดับของ CCI คู่กับอินดิเคเตอร์ EMA ทั้งหมด 3 เส้นครับ
- โดยเทคนิคนี้สามารถใช้ได้กับ Timeframe 15 นาทีขึ้นไปได้ทั้งหมดและปรับใช้ได้กับทุกสกุลเงินในตลาด Forex
- เทคนิคนี้จะประกอบไปด้วยอินดิเคเตอร์หลักๆ 2 ตัวคือ CCI และเส้น EMA 3 เส้น วิธีการตั้งค่าอินดิเคเตอร์แต่ละตัว เราไปดูพร้อมกันเลยครับ
เส้น EMA
- อินดิเคเตอร์ตัวแรกที่เราจะใช้คือเส้น EMA ครับ โดยเทคนิคนี้เราต้องเซ็ต EMA ทั้งหมด 3 เส้นด้วยกันคือ
- EMA 34 Period และปรับ Apply to = High
- EMA 34 Period และปรับ Apply to = Low
- EMA 34 Period และปรับ Apply to = Close
- พอได้ทั้ง 3 เส้นนี้มา ให้จำไว้เสมอว่า…
- กราฟราคาวิ่งเหนือเส้นทั้ง 3 ให้เล่นหน้า Buy
- กราฟราคาวิ่งใต้เส้นทั้ง 3 ให้เล่นหน้า Sell
- เลข 34 Period เป็นระยะเวลานักวิเคราะห์ทางเทคนิคหลายคนเชื่อว่าเป็นตัวเลขสำคัญของลำดับ Fibonacci เหมาะสมในการดูแนวโน้มระยะกลาง
- ส่วน High, Low, Close มาจาก
- High แสดงถึงราคาสูงสุดที่ตลาดขึ้นไปในช่วงเวลานั้นๆ (ซึ่งก็คือ 34 Period) เพื่อดูว่าตลาดมีความแข็งแกร่งในการขึ้นมากแค่ไหน
- Low คือราคาต่ำสุดที่ตลาดลงไปในช่วงเวลานั้นๆ เพื่อดูว่าตลาดมีความอ่อนแอในการลงมากน้อยแค่ไหน
- Close คือราคาที่ตลาดปิดในช่วงเวลานั้นๆ อันนี้สำคัญมากเพราะแสดงถึงการตกลงซื้อขายกันในช่วงสุดท้ายของวัน

CCI
- CCI คืออินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มราคา รวมถึงสามารถใช้ระบุสภาวะซื้อมากเกินไป (overbought) และขายมากเกินไป (oversold) และระบุแนวโน้มของราคาได้ด้วย
- ในเทคนิคนี้เราจะตั้งค่า CCI Period 20 หมายถึงช่วงเวลาที่ใช้ในการคำนวณ CCI โดยใช้ข้อมูลราคาในช่วง 20 แท่งเทียนล่าสุด
- โดยปรับ Apply to = Typical Price ซึ่งคำนวณจากค่าเฉลี่ยของราคาสูงสุด (High), ราคาต่ำสุด (Low) และราคาปิด (Close) ของแต่ละแท่งเทียน [(High + Low + Close) / 3]

ตัวอย่างการเทรด CCI Breakout
เรามาดูตัวอย่างในการเทรดแบบของจริงสำหรับเทคนิค CCI Breakout กันบ้างครับ ผมจะยกตัวอย่างทั้งการเทรดหน้า Buy และหน้า Sell ให้ดูครับ
การเทรดฝั่ง Buy

- อันดับแรกเทรดเดอร์ต้องมั่นใจว่าตลาดมีแนวโน้มชัดเจน(ไมใช่ Sideway) โดยใช้ “Wave (เส้น EMA ทั้ง 3)” เป็นตัวช่วยระบุ เช่น
-
- แนวโน้มขาขึ้น: ราคาต้องตัด “Wave” ขึ้นไป และราคาปัจจุบันต้องอยู่เหนือ “Wave-bottom“
- หลังจากราคาอยู่เหนือ “Wave-top” ราคาอาจจะย่อตัวลงมาเล็กน้อยอาจจะหลุดเข้ามาใน Wave ได้
- ดูค่า CCI ต้องตัดเส้น +100 ขึ้นไป เพื่อเป็นสัญญาณเข้าซื้อในแท่งเทียนถัดไป โดยระหว่างนี้ให้ตรวจสอบว่า CCI อยู่ต่ำกว่าเส้น +100 อย่างน้อย 5 แท่งก่อนที่จะตัดขึ้น
- หากทุกอย่างตรงตามเงื่อนไข ให้เข้า Buy ในแท่งถัดไป โดยตั้ง Stop Loss ตามความเหมะสมหรือเซ็ต Trailing Stop Loss ตามก็ได้
การเทรดฝั่ง Sell

- การเทรดฝั่ง Sell ก็ใช้หลักการเดียวกับฝั่ง Buy เลยครับแต่แค่สลับฝั่งกัน อันดับแรกให้เราตรวจสอบก่อนว่ากราฟราคาวิ่งอยู่ใต้ Wave เพื่อแสดงถึงแนวโน้มขาลงเป็นหลัก
- อาจจะมีช่วงที่ราคาขึ้นไปพักตัวแต่ต้องไม่หลุด Wave ขึ้นไปและ CCI ยังไม่หลุด -100
- สังเกตที่กราฟ CCI ในจังหวะที่หลุด -100 ลงมา ให้ดูว่ากราฟแท่งเทียนก่อนหน้า 5 อยู่ใต้ Wave และ CCI ของทั้ง 5 แท่งยังไม่หลุด -100
- หากทุกอย่างตรงตามเงื่อนไข ให้เข้า Sell ในแท่งถัดไป โดยตั้ง Stop Loss ตามความเหมะสมหรือเซ็ต Trailing Stop Loss ตามก็ได้
ข้อดี-ข้อเสียของ CCI Breakout
ทีนี้เรามาดูในส่วนของข้อดีและข้อเสียของกลยุทธ์แบบ CCI Breakout กันบ้างครับว่าจะเหมาะกับเทรดเดอร์แบบไหน มีจุดเด่นและจุดด้อยตรงไหนเพื่อเทรดเดอร์จะได้ระวังตัว
ข้อดี
- อินดิเคเตอร์ CCI สามารถช่วยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มราคาได้ โดยการดูการตัดผ่านเส้นระดับ +100 และ -100 ทำให้เทรดเดอร์เข้าเทรดด้วยกลยุทธ์นี้ได้อย่างชัดเจน
- การใช้ Typical Price ช่วยลดสัญญาณรบกวนจากความผันผวนของราคา ทำให้สัญญาณ CCI มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- CCI สามารถใช้ได้กับตลาดการเงินหลากหลายประเภท เช่น Forex, หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น
ข้อเสีย
- ระวังเรื่องสัญญาณหลอกโดยเฉพาะเทรดเดอร์มือใหม่ที่ยังไม่มีแผนการรองรับที่รัดกุม
- CCI เป็นอินดิเคเตอร์แบบล่าช้า (lagging indicator) ซึ่งหมายความว่าสัญญาณอาจเกิดขึ้นหลังจากที่ราคาได้เคลื่อนไหวไปแล้ว จึงไม่ใช่เทคนิคที่ได้จุดเข้าเทรดที่ราคาดีที่สุด
- การใช้กลยุทธ์นี้จำเป็นต้องมีความอดทนและชำนาญในการใช้+ตั้งค่าอินดิเคเตอร์ เพราะต้องใช้อินดิเคเตอร์หลายตัวและต้องตั้งค่าใหม่ทั้งหมด

วิดีโอเกี่ยวกับ CCI
ทีมงาน Thai Forex Broker ไปเจอคลิปวิดีโอตัวหนึ่งที่น่าสนใจและยังตรงกับเนื้อหาในบทความของเราครับ เป็นคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการเทรดโดยใช้ CCI ซึ่งในคลิปจะอธิบายวิธีการอ่านค่า CCI แบบเบื้องต้นเพราะในบทความของเราจะเป็นแบบค่อนข้างเฉพาะเจาะจง
- Focus นาทีที่ 00:16 การตีความ CCI
- Focus นาทีที่ 00:49 สัญญาณการซื้อ-ขาย
- Focus นาทีที่ 01:11 การกำหนดแนวโน้มด้วย CCI
- Focus นาทีที่ 01:42 เคล็ดลับสำคัญ
สรุป
การเทรดด้วย CCI Breakout ถือว่าเป็นเทคนิคการเทรดที่น่าสนใจไม่น้อย โดยใช้ประโยชน์จาก CCI และเส้น EMA ทั้ง 3 เส้นในการวิเคราะห์ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีความซับซ้อนอยู่พอสมควร เทรดเดอร์มือใหม่ควรเรียนรู้และฝึกฝนกลยุทธ์นี้ให้ชำนาญก่อนที่จะเริ่มต้นใช้จริง
สุดท้ายนี้ การเทรดด้วย CCI Breakout จำเป็นต้องใช้งานร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ เช่น แนวรับแนวต้าน รูปแบบกราฟและปริมาณการซื้อขาย เพื่อเพิ่มความแม่นยำของผลลัพธ์ยิ่งขึ้น หากเทคนิคนี้น่าสนใจอย่าลืมแชร์และบอกต่อพร้อมรอติดตามใหม่กับบทความต่อไปนะครับ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com