Bar Replay ของ Trading view ช่วยการเรียนรู้ (ตอน 1)
Bar Replay ของ trading view เป็นฟีเจอร์หนึ่งของ platform ของ trading view (สามารถสมัครฟรีได้ มีทั้งฟรีฟีเจอร์และแบบจ่ายเงิน) ฟีเจอร์นี้สามารถใช้ประโยชน์ได้เยอะมากในการมองการพัฒนาการของราคาผ่านชาร์ต หรือสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการฝึกการมองชาร์ตหรือ back testing อย่างโปรแกรม forex Testest หรือ Forex Simulator อีเอ
หลักการทำงานของ Bar Replay คือ back testing ให้ท่านใช้ย้อนหลังหรือฝึกการมองชาร์ตย้อนหลังได้เพื่อประยุกต์เข้ากับการเทรดสองระบบหรือการมองพัฒาการ trade setup ที่ท่านกำลังศึกษาว่า trade setup จะทำงานหรือได้ผลหรือผิดการคาดการณ์ ต้องมีตัวแปรไหนบ้างที่ท่านต้องเรียนรู้ให้ได้ โดยเฉพาะเรื่องเวลาและความอดทน เมื่อ trade setup ที่เกิดขึ้น และสถานการณ์ที่เรียกว่าถ้า price structure ไม่เปลี่ยน ทำไมท่านต้องทนให้ได้ ทำไมเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจึงบอกว่าความอดทนสำคัญมาก
ท่านสามารถเริ่มใช้ Bar Replay ด้วยการคลิกที่ Replay ไอคอนตรง toolbar ส่วนด้านบนของจอ แล้วโปรแกรมจะเปิด toolbar ส่วนควบคุมขึ้นมาพร้อมทั้งเส้น vertical line ที่ให้ท่านเลือกกำหนดว่าจะให้โปรแกรมเริ่มจากตรงไหนมา ให้ท่านขยับเส้น vertical line ไปตรงเวลาหาส่วนชาร์ตที่ท่านต้องการศึกษาเป็นต้นมา
เมื่อคลิกกำหนด vertical line ตามเวลาที่ต้องการแบบชาร์ตด้านบน โปรแกรมก็จะไปเริ่มต้นที่บาร์ก่อนบาร์ที่ท่านกำหนดนั้นให้ท่านเลยแบบภาพด้านล่าง พร้อมกับมีสถานะบอกว่าเป็น Replay Mode ด้านบนทางขวา (ในที่นี้ใช้ D1 เป็นหลักในการนำเสนอเพราะเวอร์ชั่นที่ให้ฟรี ให้ใช้ข้อมูลตั้งแต่ D1 วัน แต่ที่ต้องการนำเสนอที่นี้คือหลักการของ price chart ทำงานอย่างไร ควบคู่ไปกับ price structure ที่เปลี่ยนไปเมื่อเจอ support/resistance หรือ demand/supply แล้วจะได้เรียนรู้ว่าอดทนเหนือปรับกลยุทธ์ตามอย่างไร เมื่อท่านเข้าใจหลักการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล จาก time frame ไหนใช้ได้หมด)
ขั้นตอนง่ายๆ คลิกที่ ไอคอน Replay ส่วนด้านบนของจอ 2. เมื่อคลิกก็จะมี toolbar ใหม่ปรากฏบนชาร์ตพร้อมทั้งเส้น vertical line ที่ตำแหน่งเม้าส์ coursor ก็จะมีรูปไอคอนมือพร้อมนิ้วชึ้ให้ท่านเลือกเพื่อกำหนดว่าจะเริ่มจากตรงไหน เช่นในตัวอย่างนี้จะเริ่มที่ 23 Aug 18 ของชาร์ต USDJPY ข้อมูล D1 เป็นจุดเริ่มต้น
เมื่อท่านคลิกที่กำหนดเริ่มเวลาได้ Toolbar ที่ควบคุมก็จะมี เลข 1 สำหรับขยับตำแหน่ง Toolbar เลข 2 Jump to สำหรับกำหนดจุดเริ่มต้นใหม่ เลข 3 Play สำหรับกดเพื่อเริ่ม เลข 4 Forward หรือขยับไปที่ละบาร์ เลข 5 Speed สำหรับปรับความเร็วสำหรับ Play เลข 6 To Real-time สำหรับกำหนดให้วิ่งไปเวลาปัจจุบัน และเลข 7 สำหรับยกเลิก
เมื่อท่านกำหนเวลาได้ว่าจะเริ่มตรงไหน ในตัวอย่างเริ่มที่ 23 Aug 18 เมื่อได้เวลาโปรแกรมจะเริ่มก่อน 1 บาร์ ก็เป็นวันที่ 22 Aug 18 ตามรูป
สิ่งที่ Bar Replay มีประโยชน์มากคือว่า มันสามารถช่วยพัฒนาการเทรดท่านได้อย่างไร
สิ่งสำคัญสุดของ Bar Replay คือให้ท่านได้เรียนรู้หลายๆ ครั้งของเหตุการณที่เกิดขึ้นให้ท่านเข้าใจ เรียนรู้ และคุ้นตา จนตามทันเมื่อมองราคาที่วิ่งไปเปิดเผยอย่างไร แต่สิ่งพวกนี้ต้องมาหลังจากสามารถอ่านชาร์ตเป็น แม้ว่าการใช้ทูลประเภท back testing ให้ท่านสามารถทดสอบยุทธการเทรดต่างๆ ของท่านและปรับจูนกลยุทธได้ แต่ต้องมาจากการเข้าใจหรือสามารถหา trade setup เป็นก่อน
อย่างแรกใช้ในการเรียนรู้ตลาด เริ่มที่ภาพแรก
อย่างแรกเลยเราต้องหาจุดอ้างอิงที่เป็นพวก key levels ที่นี้ก็ตีกรอบ supply 2 กรอบและ demand 2 กรอบ เนื่องจากต้องการเทรดกับ momentum ที่เป็นปัจจุบันเลยไมได้กำหนดไกล รอดูการพัฒนาการของราคาประกอบ 4 จุดนี้ค่อยหา trade setup
ราคาผ่านไปหลายบาร์ จุดน่าสนใจจนกว่าเกิดที่เลข 1 เพราะราคาสามารถปิดบนกรอบ supply 1 ที่เราตีไว้ได้ เราได้ข้อมูลเพิ่มมาว่าพื้นที่ supply ตรงนี้มี unfilled orders ที่ได้ใช้ไปแล้ว ถ้าราคากลับมาอีกเป็นไปได้ราคาจะดันขึ้นไปได้ง่าย ตรงนี้ก็หาดูว่าต้นตอหรือความพยายามที่ทำให้ราคาเกิน supply 1 ได้เป็นอย่างไรและอยู่ตรงไหน ท่านก็จะเห็นที่ลูกศรชี้ที่เลข 2 จะเห็นว่าเป็นบาร์ยาวๆ 2 บาร์ดันขึ้นมา และตามด้วยอีก 3 บาร์ที่ราคาลงจาก high ของบาร์ที่ลูกศรชึ้น้อยมาก แสดงว่าไม่มี sellers อยากเทรดตรงนี้เพิ่มหลังจากที่ sell limit orders ได้ใช้ไป สุดท้ายก็เปิดเผยจนได้ด้วยการที่ราคาสามารถปิดบนได้ เลยบอกว่านี่เป็นข้อมูลน่าสนใจจุดแรก การเข้าเทรดอาจเป็นที่ต้นตอที่ทำให้เกิดหรือที่ demand ที่ 2 ด้านล่างก็ได้เพราะทั้ง 2 demand ที่ยกมาไม่มี price structure ที่บอกว่าเป็น demand ที่แข็ง เลยต้องดูข้อมูลที่ราคามาโต้ตอบประกอบ (สิ่งสำคัญที่บอกในที่นึ้คือว่า แม้ว่าเราสนใจหรือหา price levels ในที่นี้คือยกตัวอย่างออเดอร์แบบ demand/supply ประกอบ เราต้องให้ความสำคัญกับการโต้ตอบปัจจุบันเป็นสำคัญก่อน)
เราก็กด Forward เพื่อดู price structure ใหม่ที่เกิดขึ้น
จะเห็นว่าราคามา rejection ที่พื้นที่ต้นตอ แม้ว่ามี Bar ยาวๆ ลงมาแต่เกิด rejection ทันทีที่พื้นที่ๆ เป็นต้นตอ ที่เราวิเคราะห์ก่อนว่าทำให้ราคาเปิดเกิน supply 1 ได้ นั่นคือข้อมูลแรกที่เรามองเป็นแนวทางมา (ต้องไม่ลืมว่าวิเคราะห์อะไรไว้ เพราะความพยายามที่เป็นผลที่เปิดเผย มักจะตามด้วยความพยายามที่จะรักษาต่อเสมอเพราะเป็นการเทรดของขาใหญ่)
ตรงจุดนี้เมื่อดู time frame ย่อยประกอบเป็นโอกาสเข้าเทรด นึ่คือสิ่งที่หางบาร์ใน D1 บอก ตรรกะต่อเนื่องหลังจากที่ราคาได้ปิดบน supply 1 สร้าง demand ใหม่ตรงที่จุด demand 1 พอดี เราก็ดูราคาโต้ตอบปัจจุบันประกอบ ราคามาลงแล้วรีบเด้งในวันต่อมาแสดงว่ามี buy limit orders มากพอบาร์สีแดงที่ลงไปเลยไปต่อไม่ได้และมี buy market orders เข้ามาประกอบด้วย วันต่อมา buy market orders ก็มาอีกเลยทำให้บาร์ขึ้นมาเมื่อเรามองไปด้านบน supply 1 มีการใช้ unfilled orders ไปแล้ว และถ้ามี sellers เปิด short positions ตอนราคาลงมามากก็จริงแต่ราคาก็ต้องสามารถเอาชนะต้นตอที่ทำให้ราคาเกินได้ (วิเคราะห์ความต่อเนื่องหรือปริบทราคาประกอบ) จากสถานการณ์ปัจจุบันราคาน่าจะขึ้นไปต่อได้ง่าย โอกาสเปิด buy เกิดขึ้นและ stop loss ก็ต่ำกว่าต้นตอที่ราคาขึ้นไป
คลิกที่ปุ่ม Forward เพื่อสร้างบาร์ต่อไปว่าเป็นอย่างไร พอราคาผ่านไป ตามที่คาดการณ์เพราะเทรดความเป็นไปได้ที่เปิดเผยปัจจุบันประกอบกับร่องรอยเก่าที่เปิดเผย สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือราคาสามารถมาเหนือกว่า High ตอนที่ราคาดันลงไปได้ด้วย (ที่ก่อนไว้ข้างบนที่บอกตอนแรก) price chart แบบนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ stop orders จะโดนล่าหรือเปล่า มองดูโครงสร้างประกอบจะรู้ว่าเทรดเดอร์ที่เปิด short positions ตอนที่ราคาลงไปตอนนี้เดือดร้อน ถ้าราคาไปต่อยิ่งเดือดร้อนหนักขึ้นเริ่มปรับกลยุทธ์ว่าจะจำกัดความเสี่ยงอย่างไร และเทรดเดอร์ใหม่เห็น price structure เปลี่ยนไปก็เริ่มเข้าเทรด และเทรดเดอร์ breakout ก็เริ่มเทรด เงื่อนไขพวกนี้มีแต่ความเป็นไปได้ว่า buy market orders จะเข้ามาที่เหลือคือเวลาและความอดทน
สุดท้ายก็มา เพราะราคายังไม่เคยเกิดที่จุดนี้เมื่อเราเทรดด้านล่างก็ออกไปก่อน รอให้ราคาเปิดเผยต่อไปว่าราคาโต้ตอบจุดนี้อย่างไรค่อยหาโอกาสต่อ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com