Trade Interceptor – Desktop version ตอน 2 –ชาร์ตและฟังก์ชั่นการเทรด
ต่อจากตอน 1 ที่ได้พูดถึงภาพรวมในการนำเสนอการเทรดแบบ Interceptor เนื่องเพราะหลักการเทรดไม่ต่างจาก Metatrader หรือ cTrader เพราะเป็นตลาดเดียวกัน เงื่อนไขเลยอันเดียวกัน ต่างแค่ว่าแต่ละโปรแกรมเทรดจะนำเสนออย่างไร โดย Interceptor เห็นได้ชัดเจนและยังใช้งานง่ายด้วย
เรื่องแรกที่กล่าวต่อคือเรื่องของชาร์ต การนำสนอชาร์ตเปล่าเมื่อมอง price scale ถ้าเรียกตามแบบ Metatrader การแสดงราคาก็จะแบ่งออกด้วยการอิงระบบ grid เป็นหลัก ก็จะแสดงแต่เลขราคาหลักๆ มีผลทำให้ชาร์ตดูไม่รกไปด้วย จะง่ายต่อการมองหา price levels ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น support/resistance หรือ supply/demand และอีกจุดที่เด่นสำหรับชาร์ตของ Interceptor ที่เรียกว่า History Data Open โดยการแสดงผลชาร์ตจะเป็น GMT หรือ NYT (New York Time) ถ้าพูดง่ายๆ คือเลือกว่าจะแสดงผลชาร์ตแบบ New York close หรือแบบธรรมดาเวลา GMT ก็ได้ เพราะขาใหญ่ใช้ชาร์ตที่เป็น New York close เป็นหลัก
ดูเปรียบเทียบกันว่าชาร์ต GMT และ NYT ต่างกันอย่างไรนั่นก็จะมีผลต่อการเทรด price charts ที่มองแท่งเทียนเป็นหลักในการวิเคราะห์ ความแตกต่างก็จะเห็นชัดตั้งแต่ชาร์ต H4 ขึ้นมา ดังนั้นเมื่อมองภาพ price levels เช่น demand/supply zone ที่ timeframe ใหญ่ขึ้นแนะให้ใช้ NYT charts เป็นหลัก
อีกสิ่งที่จะช่วยในการจัดการชาร์ตได้ดีนอกจากฟีเจอร์ Chart Schemes แล้วก็จะมี Detach จะช่วยให้ท่านแยก Tab คู่เงินออกมา แยกมาทำเป็นแบบ Chart Schemes ก็ได้หรือชาร์ตเดียวก็ได้ แยกออกมาจากโปรแกรมหลัก
เช่น แยกออกมาและใช้ฟีเจอร์ Chart Schemes เพื่อเปรียบเทียบการวิ่งราคาของคู่เงินที่เกี่ยวกัน GBP ก็จะเหมาะสำหรับดูเปรียบเทียบความแข็งของค่าเงินด้วยการดูคู่เงินอื่นประกอบหรือเพื่อดูเรื่อง correlation พื้นที่ๆ เป็น demand/supply zone ในการเทรดคู่ที่ท่านเห็น trade setup
ทั้งเรื่องชาร์ต GMT/NYT, Chart Schemes, และ Detach จะช่วยในการวิเคราะห์ได้เยอะมาก
ส่วนเรื่องการเทรด ก่อนอื่นท่านต้องกำหนดการเทรดว่าจะเป็นแบบ 1-CLICK หรือเปล่าด้วยการดูตัวเลือกด้านบนขวาที่จะบอกสถานะว่าเป็น 1-CLICK ON/OFF แล้วท่านก็กำหนดในส่วน Settings ด้านบนขวาว่าจะโชว์ trading buttons หรือไม่ ถ้าแสดงก็จะแสดงปุ่มด้านบนขวาของแต่ละชาร์ต
โดยการเปิดเทรดท่านสามารถเทรดได้ 3 แบบ อย่างแรกใช้ปุ่มที่อยู่ด้วยของชาร์ต อย่างที่สองท่านเปิด Dashboard ขึ้นมาแล้วเลือกคลิกเปิดเทรดจากตรงนี้ หรืออย่างที่สามจากส่วนที่เป็น Quotes ท่านเลือกคู่เงินแล้วคลิกขวาก็จะมีเมนูขึ้นมา แล้วเลือก Order window
เมื่อท่านเลือกเปิดเทรดที่ Order window ท่านจะเห็นฟีเจอร์ที่ถือว่าเป็นจุดเด่นมากของ Trade Interceptor ตรงที่ Account ถ้าท่านมีหลายเลขบัญชีเทรดท่านสามารถ logon พร้อมกันได้ แล้วตรงนี้ท่านสามารถเลือกได้ว่าท่านจะเทรดบัญชีไหนเรื่องอื่นก็ไม่ต่างกัน เรื่องล็อตที่กำหนดเทรดก็เรียกเป็น Quantity (ก็จะมีข้อมูลด้านบนคำนวนให้ว่า pip cost เท่าไร) การตั้ง stop loss และ take profit สามารถกำหนดได้แบบนับ pips หรือกำหนดราคาลงไปเลย เมื่อท่านเลือกก็จะมีเส้นขึ้นที่ชาร์ตด้านขวามือให้ท่านปรับเปลี่ยนได้ง่ายด้วยการคลิกแล้วลากไปมาได้ตามต้องการ โหมดการเทรดก็แบบ Instant Execution (หรือ market orders เปิดทันที) หรือแบบ Pending order (หรือ Limit order) จากนั้นก็กดที่ปุ่ม Place Order
รายการ positions และ orders เมื่อท่านเปิดแล้วจะแสดงผลที่ส่วน Bottom Panel ด้านล่างที่ประกอบด้วย 2 ส่วนแสดงผลหลักๆ ด้านช้าย จะเป็นรายละเอียดแต่ละบัญชีเทรด ก็จะแสดงสถานะ เลขที่บัญชี, Currency, Balance, Equity, P/L (Profit/Loss), Margin Level, Used Margin, Free Magin และปุ่มอื่นๆ Trading Report, Logoff/Logon, Active (หมายถึง open positions), Pending (มหายถึง Limit orders – Sell Limit, Buy Limit, Sell Stop และ Buy Stop) และ History (positions ที่ปิดไปแล้ว) โดยส่วนทางขวามือก็จะแสดงผลของเมื่อท่านคลิก Active, Pending, และ History
การจัดการ position ที่เปิดอยู่ทำได้ด้วยการคลิกขวาที่ position นั้นๆ ก็จะมีเมนูขึ้นมา หลักๆ ก็มี Modifiy Position เมื่อต้องการแก้ไข เช่นเรื่อง stop loss หรือ take profit , Partial Close เมื่อต้องการปิดบางส่วนไม่ทั้งหมด เปิดขึ้นมาก็จะมีส่วนที่ให้กำหนดปิด Close Position ถ้าต้องการปิด position นั้นๆ Refresh Position ให้โปรแกรมอ่านข้อมูลอีกรอบ Close Selected Positions กรณีที่เปิดหลาย positions แล้วเลือกเฉพาะ positions ที่ต้องการปิดเท่านั้นและ Close All Positions เมื่อต้องการปิด Positions ทั้งหมด
เมื่อคลิกชาร์ตเปล่า ถ้าต้องการตั้งกำหนด pending orders โปรแกรมก็จะแยกประเภทให้เองเพื่อง่าย เช่นเมื่อคลิกเม้าสที่เหนือราคาปัจจุบันเมนูก็จะขึ้น Buy Stop และ Sell Limit เมื่อคลิกด้านล่างก็จะเป็น Buy Limit และ Sell Stop โดยขนาดล็อตก็จะกำหนดค่าตาม trading button ด้านบนของชาร์ต
การปรับเปลี่ยนค่าสามารถทำง่ายๆ ด้วยการคลิกเม้าส์ไปที่เส้นแล้วลากไปจุดที่ต้องการ หรือด้วยการคลิกขวาที่รายการ pending order แล้วคลิก Modify Order โดยเมื่อท่านคลิกขวามือที่รายการ pending order ก็จะมีเมนู Open Chart, New Order เมื่อต้องการเพิ่ม, Modify Order เมื่อต้องการแก้ค่า, Partial close เมื่อต้องการลดบางส่วน Cancle Order ถ้าต้องการยกเลิก Refresh Order ให้โปรแกรมอ่านค่าใหม่และ Cancel All Orders ยกเลิกทั้งหมด
แต่ถ้าโหมดเทรดเลือกเป็น 1-CLICK OFF เมื่อท่านคลิกที่ trading buttons โปรแกรมจะเปิด Order window ขึ้นมาแบบเดียวกับที่ท่านคลิกขวาที่คู่เงินตรงที่ Quotes และเลือก Order window รายละเอียดก็แบบด้านบนที่อธิบายมาแล้ว
นอกจากนั้น Intercepter ยังมาพร้อมกับชุดอินดิเคเตอร์ของโปรแกรมเองเรียก Trend Risk มีหลายตัวที่ใช้ด้วยกัน สำหรับเทรดเดอร์ที่มองอินดิเคเตอร์ช่วยเทรด
จะเห็นว่าค่อนข้างจะใช้ง่าย และวิธีการนำเสนอค่อนข้างจะช่วยในการวิเคราะห์เทรด price chart แบบชาร์ตเปล่าได้เยอะมากไม่ว่าจะเป็นเรื่อง grid, chart schemes ที่สามารถกำหนดลิงค์ระหว่างชาร์ตได้เพื่อง่ายต่อการเปลี่ยนค่าเงินและวิเคราะห์หลายๆ ชาร์ตพร้อมกัน การเทรดแบบ 1-CLICK และการจัดการ positions และ pending orders สามารถทำได้ง่ายหมดดังที่กล่าวมาตอนต้น Trade Interceptor มีข้อเสียอย่างเดียวคือจะหาเทรดได้เมื่อท่านเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ ThinkMarkets เท่านั้น
ทีมงาน : thaiforexbroker.com