Trade Interceptor – Desktop version ตอน 1 – ภาพรวม

Trade Interceptor – Desktop version ตอน 1 – ภาพรวม

                Trade Interceptor เป็นอีก platform หนึ่งที่เป็นตัวเลือกสำหรับเทรดเพิ่มจาก Metatrader และ cTrader ที่เคยได้นำเสนอมา จุดเด่นของ platform น่าจะเป็นเรื่อง mobile technology แต่ที่จะเสนอในที่นี้เป็นเวอรชั่นที่เป็น Desktop  สำหรับวินโดวส์ ส่วนเวอร์ชั่นที่เป็น Mobile จะมานำเสนอทีหลัง สามารถดาวนโหลดได้ที่ http://www.tradeinterceptor.com/   ถือว่าเป็น platform ที่น่าใช้เพราะง่ายต่อการใช้งาน นำเสนอชัดเจน แต่อาจมีข้อเสียอย่างเดียวคือ platform นี้ใช้ได้แต่โบกเกอร์  Thinkmarkets ไม่ได้มีใช้ที่โบรกเกอร์อื่นๆ แบบ Metatrader และ cTrader

   เมื่อท่านติดตั้งเสร็จก็จะออกมาแบบนี้ก็คลิกตรงที่Sign up for free ได้เลยแต่ถ้ามี username/password ก็ใส่เลย การลงทะเบียนใหม่ไม่ยากป้อน email กำหนดรหัสผ่าน 2 ครั้ง และเลือกประสบการณ์เทรด ก็จะมี Beginner, Intermediate, Advanced และ Professional/Money Manager

เมื่อเข้ามาครั้งแรกก็จะเห็นหน้าตาหลักๆ แบบนี้ก็จะแบ่งออกเป็นส่วนหลักๆ

เลข 1 สำหรับเมนู

เลข 2 สำหรับ Toolbar

เลข 3 จะเป็น Left Panel

เลข 4 Tab Bar Position

เลข 5 ส่วนแสดงผลหลัก

เลข 6 Chart Toolbar Position

เลข 7 และ 8 จะเป็นส่วนที่เรียกว่า Bottom Panel โดยเลข 7 จะเป็นส่วนรายละเอียดแต่ละบัญชีเทรด และเลข 8 จะแสดงรายการเทรดออเดอร์ต่างๆ

ส่วนที่เป็น Left Panel ประกอบด้วยการนำเสนอข้อมูลหลายส่วนที่ตามที่เลือกด้านบนตั้งแต่ 1 ถึง 4

เลข 1 สำหรับ Quotes เลข 2 สำหรับ News เลข 3 สำหรับ Economic Calendar เลข 4 สำหรับ TrendRisk Scanner เลข 5 สำหรับ Alarms เลข 6 สำหรับ Contact Us  เลข  7 สำหรับ Info

เช่นเปิดชาร์ต USDJPY และเทรด 0.05 ตามภาพด้านล่าง

                จะเห็นภาพรวมทั้งหมดเมื่อมองทุกๆ ส่วนประกอบกัน เริ่มที่ชาร์ตตำแหน่งที่เปิด positions และมองมา Bottom Panel ที่เป็นส่วนรายละเอียด บัญชีเทรดและรายการ position ที่เปิดอยู่

เลข 1 จะเป็นการเลือกใช้ 1-click trading ถ้าเป็น ON ก็จะยอมให้เทรดด้วยการคลิกครั้งเดียวเมื่อท่านคลิก ที่ Trading Bottons ที่โชวบนชาร์ต แต่ถ้าเป็น OFF ก็จะขึ้นรายการขึ้นมา

เลข 2 เมื่อคลิกส่วนที่เป็น Dashboard ก็จะเป็นแบบด้านล่าง

เลข 3 จะเป็นส่วน Settings ก็จะมีให้กำหนดหลายๆ ส่วน

หลักๆ ที่มี กำหนด Trading bottons ก็จะอยู่ด้านบนทางขวา ตามด้วย Chart Toolbar Position ก็จะอยู่ด้านล่างตามลูกศรสามารถปรับได้ Top หรือ Bottom และ Tab Bar Posion ก็จะอยู่ด้านบนเลือกได้ 2 อย่างว่าจะเป็น Top หรือ Bottom ส่วนที่เป็น Show Trades แสดงตำแหน่ง positons หรือ orders บนชาร์ตหรือเปล่า

 เลข 4 คือ Hide Toolbar ต้องการซ่อนส่วน toolbar นี้หรือเปล่า สามารถเปลี่ยนได้ที่ เมนู แล้วจะมี Show Toobar หรือ Hide Toolbar ขึ้น

 เลข 5 จะเป็นการปิดและเปิด ส่วนแสดงผลด้าน Left Panel และเลข 6 จะเป็นปิดและเปิดแสดงผลส่วน Bottom Panel เพื่อช่วยให้โฟกัสชาร์ตได้ง่ายขึ้นหรือมีพื้นที่แสดงผลหลักมากขึ้นเพื่อแสดงผลอย่างอื่น

เมื่อต้องการเพิ่มคู่เงินเข้าตรงส่วนที่เป็น Quotes (จะเหมือนส่วนที่เป็น Market Watch ของ Metatrader) คลิกที่เครื่องหมาย + ด้านล่าง และถ้าอยู่ที่คู่เงินนั้นๆ สามารถคลิกที่ – เพื่อลบรายการออกจาก Qoutes ได้เลย

การเพิ่มคู่เงินเข้ากับ Quotes ก็ทำง่าย ตามขั้นตอน 1 คลิกที่ + โปรแกรมก็จะโชว์ หมวดหมู่สินค้าที่ให้เทรดขึ้นมาเมื่อคลิกก็จะแสดงรายการขึ้นมาให้คลิกเลือกที่ต้องการแสดงผล

                เมื่อท่านต้องการเข้าถึง Settings ด้านบนช้ายของแต่ละชาร์ต ภาพด้านล่าง ก็จะเข้าถึงส่วนที่โปรแกรมเรียกว่า Chart themes สำหรับกำหนดรูปลักษณ์ เช่นสี และขนาดในการแสดงผล ประเภทชาร์ต มี Candlesticks, HeikenAshi, Bar Chart, Line Chart, Mountain Chart, CandleVolume, EquiVolume, Renko Chart, PF Chart และ Kagi Chart   จะมีส่วนที่ตีกรอบไว้ทั่วๆ ไปคือ Common จะให้กำหนดสีสำหรับแท่งเทียนและเส้นรอบแท่งเทียน

ส่วนที่เป็น Chart Toolbar ประกอบด้วย

เลข 1 – สำหรับแสดงผล Information เลข 2 สำหรับเลือกใช้ Crosshair เมื่อคลิกที่ชาร์ตแทนที่ ลูกศรเม้าส์ เลข 3 สำหรับเลือกการแสดงผลของชาร์ตมี Candlesticks, Bar Chart, Line Chart, Heikin Ashi, HLC Chart, Mountain, Candlevolume, Equivolume, Renko, Point & Figure และ Kagi

เลข 5 จะเห็นการเลือก timeframes มี M1,M2,M3,M5,M10,M15,M30,H1,H2,H3,H4,H8, D1, W1, MN จะมี timeframe ให้เลือกมากกว่า Metatrader 4

เลข 6 การแสดงผลชาร์ตจะแบบ Average หรือ Bid หรือ Ask ก็ได้

เลข 7 เลือกคู่เงินที่ต้องการแสดงเพื่อง่ายต่อการเปลี่ยนคู่เงิน

เลข 8 Tools ตรงส่วนนี้แบบเดียวกับส่วน Objects ใน Metatrader 4 แต่ค่อนข้างจะมากกว่ามี Lines, Regressions, Fibonacci, Gann, Elliott Waves, Harmonic Patterns, Texts, Objects, Others, และ Icons โดยแต่ละรายการก็จะมีรายการย่อยอีก

 

เลข 9 เมื่อต้องการใช้ snap ฟีเจอร์กับ objects ต่างๆ

เลข 10  สำหรับ Show/Hide objects ที่ท่านสร้างบนชาร์ต เลือกตรงนี้ได้ถ้ายังไม่ต้องการลบ แต่เป็นการซ่อนชั่วคราว

เลข 11  Chart objects สำหรับจัดการหรือปรับแต่งค่าสำหรับแต่ละ chart object เช่น ลำดับการแสดงผล ล็อคหรือเปล่า โชว์หรือไม่ ปรับค่าอื่นๆ และลบ object ออกจากชาร์ตนั้นๆ

เลข 12 เป็น Chart Schemes หรืออาจเรียกว่าเป็น chart layouts ก็ว่าได้เพราะจะช่วยในการแบ่งพื้นที่ให้แสดงผลหลายๆชาร์ตได้ เหมาะสำหรับวิเคราะห์หลาย timeframes หรือดูหลายชาร์ตหลายคู่เงินเทียบกัน

โดย 2 ชาร์ตนี้ถ้าท่านต้องการลิงค์ชาร์ตเข้าด้วยกันเพื่อง่ายในการเปลี่ยนคู่เงิน ชาร์ตอื่นก็จะเปลี่ยนไปด้วยเหมาะสำหรับวิเคราะห์หลาย timeframes แต่คู่เงินเดียวกัน ให้ท่านคลิกที่เลข 15 แล้วคลิกพื้นที่ชาร์ตที่ต้องการจะลิงค์ก็จะมีข้อความขึ้นบอก ต่อมาเวลาท่านลากคู่เงินจาก Quotes ใส่ชาร์ตที่ท่านกำหนดลิงค์ไว้ก็จะเปลี่ยนคู่เงินไปด้วย

เลข 13 – Templates ท่านสามารถ save หรือโหลดชาร์ตที่ท่านปรับแต่งมาใช้ทีหลังแบบ Metatrader 4 ได้

เลข 14 – Indicators – ให้ท่านสามารถเพิ่มอินดิเคเตอร์เข้ากับชาร์ตได้

เลข 15 – Linking – ใช้คู่กับเลข 12 ที่กล่าวมาก่อนนี้

เลข 16 – ตัวเดียวกันที่เกี่ยวกับ Settings ที่อธิบายมาก่อนนี้

 

ทีมงาน : thaiforexbroker.com