แท่งเทียน ออเดอร์และ psychology ตอน 2
การเข้าใจว่าแท่งเทียนเสนออะไร ออเดอร์ทำงานอย่างไรและ psychology หลังภาพที่เปิดเผยผ่านแท่งเทียนเป็นอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญต่อการอ่าน price chart และอ่านปริบทเพื่อช่วยในการเทรด
Psychology Trade
แท่งเทียนหนึ่งนอกจากบอกเรื่อง ราคาเปิด ราคาสูง ราคาต่ำ และราคาปิดแล้ว ส่วนที่เรียกว่าหางหรือ wick หรือ tail บอกอะไร ส่วนที่เป็น body บอกอะไร และทำไมสำคัญ
เริ่มที่บาร์ที่ลูกศรชี้ จะเห็นว่าราคาขึ้นไปและมีการ rejection ที่เดียวกันพื้นที่ๆ ก่อนนี้ 4 บาร์ที่เลข 1 และ 4 บาร์ก่อนหน้านี้ก็มี rejection พื้นที่เดียวกันกับ พื้นที่ทางช้ายมือ อย่างแรกที่เกิดขึ้นราคามาถึงตรงนี้แล้วหยุดแสดงว่ามี sell limit orders หลักๆ ก็มาจากเมื่อมองมาทางช้ายมือเป็นพื้นที่ราคาเคย rejection ก็มักจะเป็นจุดอ้างอิงในการเข้าเทรดหรือเป็นจุดอ้างอิงในการออกเทรด (resistance หรือ supply) ก็จะเห็นเทรดเดอร์ที่เปิด long positions ด้านล่างขึ้นมาด้วยก็จะมาตั้ง take profit ของ long positions ด้านล่างที่แถวจุดนี้ก็คือคำสั่ง sell limit orders ที่แถวนี้ ดังนั้นในที่นี้ sell limit orders ก็มาจาก sell limit orders เพื่อจะเข้าตลาดตรงนี้และ take profit orders เพื่อออกจากตลาดตรงนี้ของเทรดเดอร์เปิด long positions ที่กำไรด้านล่าง แต่การเทรดมีเรื่องซับซ้อนกว่านั้น เพราะการที่ขาใหญ่จะเข้าเทรดด้านบนด้วยการตั้ง sell limit orders ไว้ตรงนั้น เพราะหากขาใหญ่จะเข้าเทรดสิ่งที่พวกเขาต้องการคือออเดอร์ตรงข้ามที่มีวอลลูมมากพอจำนวนวอลลูมของออเดอร์ที่พวกเข้าต้องการเทรด อย่างกรณีนี้เป็นการตั้ง sell limit ไว้ด้านบน
ก่อนที่ราคาจะถึงจุดบน ท่านดูพื้นที่เลข 3 จะเห็นว่ามีการเข้าเทรด ดูแท่งเทียนประกอบก็จะเห็นเรื่อง absorption และ rejection ก็เกิดขึ้นเยอะ สิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้คือ short positions หรือ positions ที่เปิดเทรดไปทางลง ค่อนข้างเยอะเพราะ consolidation เกิดขึ้นพื้นที่เดียวกันหลายบาร์ วิธีการเบื้องต้นที่เทรดเดอร์กลุ่มนี้จำกัดความเสี่ยงคือ ตั้ง stop loss และหลักการตั้ง stop loss ทั่วๆ ไปก็เหนือ high พื้นที่เทรดขึ้นไป ดังนั้นเมื่อขาใหญ่จะเปิด short positions บ้างแต่เพราะมีแต่เทรดเดอร์เปิด sell ออเดอร์ตรงข้ามคือ buy orders ก็จะไม่พอ แต่จากข้อมูลแท่งเทียนที่บอก absorption/rejection บอกว่ามีการเปิด positions แถวนั้น ถ้าราคาตลาดไปแตะ stop loss ของ short positions พวกนี้ได้ก็จะกลายเป็นเงื่อนไขเกิด buy market orders ที่เปิดโดยตลาดเอง จึงไม่แปลกถ้ามีพื้นที่เข้าเทรดก่อนขาใหญ่จะเทรดมักมีการ stop hunting เกิดขึ้นประจำ เพราะเป็นออเดอร์ที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอนเมื่อราคาไปแตะ stop loss ยิ่งถ้า stop loss ออเดอร์กองกันอยู่พื้นที่ตรงนั้นเยอะก็จะทำให้ stop loss กลายเป็น buy market orders เยอะแล้วก็จะแตะ stop loss ที่อยู่เหนือขึ้นไปทำให้ stop loss แตะ stop loss ด้านบนขึ้นไปถ้า limit order ไม่พอ สิ่งนี้ก็จะเรียกกันว่า stop cascades แล้วราคาก็วิ่งขึ้นไปหา Liquidity ตรงจุดที่พวกเขาต้องการเทรด
ภาพต่อมาหลังจากเข้าเทรดท่านจะเห็นว่า lower wick ที่แทงหางลงมา มองมาทางช้ายมือจะเห็นว่ามีการแทงหางลงมาก่อนนี้ 2 ครั้ง หางบาร์นอกจากบอกเรื่อง rejection หรือ trading pressure ที่เกิดขึ้นแล้วยังบอกว่ามีการใช้ออเดอร์พื้นที่ตรงนั้นไปด้วย บาร์ที่ลูกศรชี้เลยเป็นการมาครั้งที่ 3 และราคายังลงมาได้ต่ำกว่า 2 บาร์ก่อนนี้ด้วย ท่านจะเห็นว่ามีหางบาร์ไม่มาก เมื่อเทียบกับส่วน body ที่บอกว่าเป็นการเข้าเทรดจริงเพราะขนาด body บอกถึง momentum ด้าน sell จะเห็นผลเรื่องการเคลียร์ออเดอร์หรือ absorption ชัดเพราะราคาเด้งจากพื้นที่นี้น้อย และดูบาร์ต่อมาราคาไม่ไปไหน และบาร์ต่อมา ราคาเบรค low ของบาร์ที่ลูกศรชี้ก็ได้เวลาเริ่มเกิด liquidation จาก trapped traders ที่มีการเข้าเปิด long positions ก่อนบาร์ที่ลูกศรชี้
เรื่องพวกนี้เกี่ยวข้องกับแท่งเทียนการทำงานของออเดอร์และ psychology ของเทรดเดอร์ต่างๆ ทั้งที่รอเข้าและที่กลายเป็น trapped traders เมื่อราคาวิ่งสวนพวกเขา จุดไหนที่พวกเขาตั้ง stop loss หรือต้องปิดเอง และอีกอย่างแท่งเทียนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนข้อมูลแต่ละจุดไปด้วย ต้องไม่ลืมว่าเทรดเดอร์มีทั้งที่รอหาโอกาสเข้าเทรดและรอหาโอกาสออกจากการเทรด โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่ติดลบหรือกลายเป็น trapped traders เมื่อราคาวิ่งสวนพวกเขาพวกนี้จะเดือดร้อน
การมอง price chart พวกนี้แนะให้มองเป็นปริบทต่อเนื่องกันไม่ใช่บาร์ต่อบาร์ ยิ่งสัมพันธ์กับ Impulsive move ยิ่งดี มองเหตุคือความพยายามและผลที่ตามมาเป็นอย่างไร หาจุดอ้างอิงหรือที่เกิด rejection เพราะอะไร หาเหตุผลที่จุดนั้นก่อน ค่อยๆ มองปริบทที่เกิดขึ้นตามมาจนถึงราคาปัจจุบันโต้ตอบ ก็จะเปิดเผยว่าโอกาสเทรดจะเทรดทางไหน การอ่านพวกนี้จะมองแค่อดีต หรือแนวรับแนวต้าน หรือ demand/supply อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองที่ราคาปัจจุบันบอกว่าราคาโต้ตอบอย่างไรเป็นสำคัญประกอบกันด้วย
มาดูที่เลข 2 ต่อจะเห็นว่า sell market orders มาจาก trapped traders ด้านช้ายและมาจาก trend traders ที่เปิดตอนราคาเบรคพื้นที่ด้านช้ายลงมาด้วย ดังนั้นหลักการบอกว่า market orders เป็นตัวขับเคลื่อนราคาไปทางนั้นๆ ถ้า limit orders ทางที่ราคาไปไม่พอจะหยุดราคา จะเห็นว่าอย่างที่เลข 2 market orders ไม่ได้มาจากการเปิดเทรดเพื่อเข้าตลาดอย่างเดียว แต่มาเพราะเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดด้วย ที่ต้องออกเพราะราคาลงมาต่อ ขาใหญ่เขาสามารถอ่านข้อมูลพวกนี้ออกจากเรื่องการเข้าเทรด ออเดอร์ตรงข้าม พวกเขาก็ทำการ stop hunting ปั่นราคาเล่นกับเทรดเดอร์รายย่อย ด้วยเรื่องเกี่ยวกับ psychology แบบนี้เพื่อความเป็นไปได้จะเกิดขึ้นทางพวกเขา
ทีมงาน : thaiforexbroker.com