วีธีการใช้ trendlines กับการเทรด

วีธีการใช้ trendlines กับการเทรด

วีธีการใช้ trendlines กับการเทรด

                วิธีการตีเส้น trendlines จะต้องออกไปจากวิธีการตีแนวรับแนวต้านที่จะตีเป็นเส้นตรงที่ Price levels ที่เราสนใจหรือจะวิเคราะห์ต่อการเทรด แต่ trendlines จะตีเป็นขึ้นหรือลงเป็นองศา โดย trendline ก็จะใช้กันทั่วไปในการตีเส้นเพื่อกำหนดเทรนการวิ่งของราคาว่าไปทางขึ้นหรือทางลงอยู่ การตี trendlines ก็เพื่อกำหนดว่าเทรนยังอยู่ไปทางขาขึ้นหรือขาลงอยู่หรือเปล่าเป็นหลัก หรืออยู่ในช่วง consolidation เพื่อช่วยในการเทรด 

                วิธีการตีเส้น trendlines ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเพราะบางเทรดเดอร์ใช้ประกอบกับวิธีการเทรดอย่างอื่นเพื่อหา confluence เพื่อช่วยเพิ่มความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นของแต่ละ trade setup แต่วิธีการตี trendlines ก็จะใช้จุดอ้างอิงในการตีอย่างน้อย 2 จุดจาก swing highs และ swing lows  หลักการทำงานเบื้องต้นคือ ยิ่งราคาไปถึงเส้นแล้วเด้งที่เส้น trendlines ถือว่า trendlines นั้นๆ ยังจะทำงานแบบเดิมจนกว่าราคาเบรค   (ตรงนี้จะต่างจากหลักการออเดอร์เพราะทุกครั้งที่ราคาวิ่งมาจะลดพื้นที่ออเดอร์นั้นๆ จะทำให้ราคาผ่านไปได้ง่าย )

                Trendlines ขาขึ้น หลักการง่ายๆ ตราบใดที่ราคายังเหนือกว่าเส้นก็ยังถือว่าเป็นเทรนขาขึ้นหรือ uptrend อยู่ โดยการกำหนดเทรนขาขึ้นบนชาร์ตเปล่า ก็จะหา higher lows อย่างน้อย 2 จุดเป็นตัวอ้างอิงในการตีเส้น trendlines การหาจุดที่เป็น higher lows แนะให้หาจุดที่เป็นพวก extreme low ที่เมื่อราคาวิ่งกลับมามีการเอาชนะ high จะยิ่งดี  เพราะบอกถึงการแทรดขาใหญ่ที่จุดนั้นๆ เป็นสำคัญ

trendline

เส้น trendline ขาขึ้นจะเห็นว่าลากจากจุดที่ 1 เป็นจุดแรกที่ใช้อ้างอิงราคาวิ่งเกินกรอบ supply แรกที่เห็น แล้วขึ้นไปทำ higher high ได้ที่จุด 2 ตำแหน่งเดียวกันราคาลงมาทำ higher low เป็นจุดอ้างอิงในการตีเส้น trendline ที่ 2 แล้วราคาก็เบรคจุด higher high เดิมแล้วไปทำ higher high ที่ supply ตัวบนแล้วราคาก็ลงมาทำ higher low ที่เป็นจุด 3 ที่แสดงว่าราคายังโต้ตอบเส้น trendline ที่ท่านตีจนราคาขึ้นไปทำ higher high และแตะเบรค supply บนสุด  พอมาถึงเลข 4 ที่ท่านจะเห็นว่าราคาสามารถวิ่งลงเกิน trendline ได้  (เรื่องออเดอร์บอกจุดนี้ buy limit orders/unfilled buy orders ถูกชึมซับไปหรือลดไป ถ้าราคากลับมาอีก เป็นไปได้ที่ราคาจะลงต่อได้ง่าย)  ราคาสามารถทำ lower low ได้ก่อน ตามด้วย higher low ที่ราคาไม่สามารถเบรค high เดิมได้ ราคาลงมาที่เลข 5 แล้วเบรค trendline ได้อย่างง่าย

                หลักสำคัญของการเลือก higher lows เพื่อตีเส้น trendline ขาขึ้น เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปจากจุด higher lows พวกนี้ราคาต้องการมาเอาชนะ highs ประกอบ  ถ้าราคาไม่สามารถเบรคหรือทำ higher highs ใหม่ได้ และยิ่งมีการเบรค higher lows ที่ใกล้ที่สุดได้ อาจะทำ lower low หรือ lower high ก่อนก็ได้ ดู  price structure ประกอบจุดเข้าเทรด  ให้พึงระวังว่าราคากำลังบอกข้อมูลใหม่ให้ท่าน จะเป็นการเปลี่ยนเทรนหรือเปล่า

                อีกภาพเทียบหลักการเดียวกันกับด้านบนจนกว่าราคาเบรค trendline จะเห็นอีกอย่าง จุด trendline ที่โดนเบรคก็จะเป็นจุดเปลี่ยนข้างเทรด เป็นจุดที่มีการเข้าและการออกหรือจัดการออเดอร์ที่อยู่ในตลาด

                Trendlines ขาขึ้น หลักการเดียวกันแต่คนละทางของการวิ่งราคา การหาจุดอ้าอิง ก็เป็นการหาจาก lower highs อย่างน้อย 2 จุด ที่พอราคาวิ่งลงไปมาและเอาชนะ low เพราะบอกถึงว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่เพื่อจะเอาชนะหรือดันราคาไปทางนั้นๆ จริง หรือเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็น impulsive move ก็จะเกิดขึ้นหลังจากราคาลงไปต่อแต่ละครั้งเป็นข้อมูลสำคัญ

                 การเลือกจุดที่เป็น extreme high หรือ extreme low ไม่จำเป็นต้องเป็น wicks หรือ bodies ของแท่งเทียน  ไม่ใช่รูปร่างแท่งเทียนที่ แต่เป็นพื้นที่หรือตรรกะที่เป็น extreme lows หรือ extreme highs ที่ตามด้วยการเอาชนะ highs หรือ lows เมื่อราคาวิ่งจากจุดพวกนั้น แต่ถ้าเมื่อ extreme highs/lows ที่เป็นจุดอ้างอิงและจุดเทสไม่ได้ตามด้วยการเบรคหรือเอาชนะแบบที่ออกมา ให้ท่านระวังว่าราคากำลังบอกอะไรท่านหรือเปล่าต้องดู price structure ประกอบ

                สิ่งอื่นที่ต้องใส่ใจเมื่อใช้ trendlines  เรื่อง slope ของ trendlines คือเรื่อง timeframes ที่ใช้หา extrme highs/lows ประกอบเพื่อกำหนด trendline ขาขึ้นหรือขาลง หรืออาจใช้ correlation กับคู่เงินอื่นเพื่อดูเทรนของค่าเงินที่เทรดว่าเป็นไปทางเดียวกันเปล่า หรือถ้า trendlines โดนเบรคต้องดูลักษณะสำคัญของการเทรด เช่นการซึมชับออเดอร์ และการเบรคด้วย momentum เป็นสำคัญ

                       จากที่อธิบายมา trendlines ถ้าเป็นขาขึ้นให้ความสำคญเรื่อง higher lows เป็นสำคัญและดูว่าราคาวิ่งจากเป็นอย่างไร ถ้ายังเป็นลักษณะที่วิ่งแล้วเอาชนะฝั่งตรงข้ามหรือเห็นราคาเบรค higher highs เดิมและไปทำ higher highs ยิ่งถือว่าเทรดนั้นแรงต่อเนื่อง และระยะห่าง higher lows ต้องจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่อยู่แถวเดียวกันเพราะเป็นการสร้างขั้น demand หรือ support เกิดขึ้นไปด้วย และการที่ราคาทำ higher highs ประกอบเพราะบอกว่าขาใหญ่ยังต้องการเข้าเทรดอยู่ แต่ถ้าราคาหรือ higher low ล่าสุดมาแถวเดียวกับ higher low ก่อน หรืออยู่พื้นที่แถวเดียวกัน แสดงว่าขาด market orders ที่เข้ามาจะดันราคา คือจำนวนเทรดเดอร์ที่อยากเปิด buy ต่อน้อยลง ยิ่งเห็นราคาไม่สามารถทำ higher high ด้วย ราคากำลังบอกว่าอาจเกิดเปลี่ยนเทรน เพราะราคาสามารถอยู่พื้นที่ higher lows เดียวกันได้ อย่างแรกเลย buy limit orders ถูกใช้ไปและไม่มีเทรดเดอร์สนใจเพิ่มเข้ามาใหม่ และราคาไม่สามารถทำ higher high ได้เพราะไม่มีเทรดเดอร์เปิด market orders เพื่อดันราคาแต่เป็นการเปลี่ยนข้างเทรน ด้วยการ absorption ก่อนแล้วตามด้วย break แล้วก็กลายเป็นวัฏจักรการทำเทรน ของราคา

 

ทีมงาน : thaiforexbroker.com