พื้นฐานเทรดชาร์ตเปล่า ตอน แท่งเทียน

พื้นฐานเทรดชาร์ตเปล่า ตอน แท่งเทียน

               การเทรดด้วยชาร์ตเปล่าอย่างเดียว หรือเรียกได้ว่าเป็นการเทรดแบบ price action ก่อนจะเทรดได้ไม่ใช่ว่าจะเปิดชาร์ตขึ้นมาแล้วเทรดเลย ต้องเข้าใจพื้นฐานหลักๆ อย่างเมื่อมองผ่านชาร์ตที่เสนอแต่ละจุดว่าบอกอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตบอกอะไรได้บ้าง สิ่งที่กำลังเกิดบอกอะไร และเมื่อมองประกอบกันเป็นปริบทบอกอะไร มอง trading pressure ที่ไหนอย่างไร มองที่มาของออเดอร์อย่างไร

               สิ่งแรกคือการนำเสนอ candlestick charts – แนะนำให้ใช้ชาร์ตแบบแท่งเทียน แม้ว่าท่านจะสามารถใช้ Bar charts แทนได้ แต่รูปลักษณ์ของแท่งเทียนเมื่อมองจะง่ายกว่า  แท่งเทียนจะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ ของแต่ละแท่งเวลาคือ ราคา Open, High, Low และ Close ของแต่ละแท่งเทียนเวลาที่กำหนด

               แท่งเทียนบอกถึง trading transactions ที่เกิดขึ้นที่จากราคาไหนถึงราคาไหนในช่วงแท่งเทียนหรือโดยเฉลี่ยอยู่พื้นที่เดียวกัน  เมื่อแท่งเทียนหมดเวลา ก็จะเกิดเป็นแท่งเทียนอย่างสมบูรณ์  ก็จะมีเรื่องขนาด size เมื่อเปรียบเทียบกับแท่งเทียนก่อน และยังมีเรื่องระยะห่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิด กับส่วนที่เป็นหางด้านบนหรือ upper wick และส่วนหางด้านล่างหรือ lower wick ด้วย ก็จะได้ภาพต่อมาดังนี้

               ภาพ B จะเป็นภาพที่แท่งเทียนสำหรับตีความหมายว่ามีอะไร ส่วนรูป A บอกถึงส่วนประกอบ เวลามองแท่งเทียนต้องไม่ลืมข้อมูลหลักคือ Open High Low และ Close  

Trading transaction เกิดขึ้นเพราะการจับคู่ระหว่าง ออเดอร์ sell และ buy ออเดอร์ที่ราคาเดียวกัน และมีวอลลูมเท่ากันเลยเกิดการเทรดได้ ดังนั้นเมื่อเทียบที่ราคาเปิดและราคาปิดของช่วงเวลานั้นๆ ราคาไปได้มากกว่าหรือต่ำกว่า ราคาเปิด ก็บอกว่าฝ่ายไหนชนะของช่วงเวลาแท่งเทียนนั้นๆ เช่น แท่งเทียนที่เลข 1 ราคาปิดสามารถปิดได้เหนือกว่าราคาเปิดได้มาก เพราะขนาดแท่งเทียนที่ยาวเมื่อเทียบกับแท่งเทียนก่อนก็บอกว่าฝ่าย buyers เป็นฝ่ายชนะแท่งเทียนนี้  เลยมาถึงเรื่องความสำคัญของขนาดแท่งเทียนหรือ size โดยการกำหนดขนาดก็จะเทียบกับบาร์ก่อนๆ เป็นหลัก  ถ้าขนาดยาวหรือเกินบาร์ก่อนๆ เยอะ ก็บอกว่ามีการเข้าเทรดเยอะ แต่การจะดูว่าฝั่งไหนชนะต้องดูราคาเปิดและปิดประกอบเช่น ถ้าปิดที่ราคาเดียวกัน ก็เป็น Doji บอกความไม่แน่นอนว่าฝ่ายไหนชนะ หรือถ้าเป็น Pin Bar มีราคาเปิดและราคาปิดที่ใกล้ๆกัน ก็ให้ความสำคัญเรื่องของหางบาร์หรือ Wick เข้ามาว่าอยู่ทางไหน upper wick หางบาร์ส่วนด้านบนหรือ lower wick หางบาร์ส่วนด้านล่าง

ดังนั้นเมื่อบาร์หรือแท่งเทียนเกิดขึ้นเพราะ 4 ส่วนประกอบ open high low และ close ก็จบ ได้เวลาตีความ ก็มี ขนาดแท่งทียน ขนาดพื้นที่ราคาเปิดและราคาปิด หรือ Relay Body ของแท่งเทียนและ ส่วนหางบาร์ หรือ wick ก็เรียกตามแต่ว่าอยู่ตรงไหนของแท่งเทียน อยู่ด้านบนเรียก upper wick อยู่ด้านล่างเรียก lower wick  

ต้องเข้าใจก่อนว่า wick เกิดขึ้นได้อย่างไร

วิธีการดูว่า wick เกิดขึ้นได้อย่างไรที่แท่งเทียนที่เปิดดู ให้เลือก time-frame น้อยลงไปเช่น ดู แท่งที่ยน H4 ที่มี lower wick ก็เปิดมาดูชาร์ต M30 แบบด้านบน จะเข้าใจ – อะไรเกิดขึ้น ดูเส้นที่ตีบอกเวลาของบาร์ H4 ประกอบ จะเห็นว่าเมื่อขึ้นบาร์ H4 ใหม่ที่เราโฟกัสว่าเปิด lower wick ได้อย่างไร บาร์เปิดมาแล้วราคาก็ลงมาเพราะ trading transaction ที่เกิดขึ้นมี sell orders เข้ามามากกว่าเลยดันราคาลงมาได้ จนกว่าผ่านมา 3 บาร์และจบลงไป พอบาร์ที่ 4 ราคาลงไป แต่ดันขึ้นมาที่เดิม เมื่อดู transaction ที่เกิดขึ้น มีการเทรดจริงแต่ไม่ได้บอกว่าฝ่ายไหนชนะแท่งเทียนนี้ และบาร์ต่อมาอีกก็เหมือนกัน สุดท้ายพอจบแท่งเทียน H4 ราคาก็ถูกดันขึ้นมา เกือบจะถึงราคาที่เปิดมีระยะหน่อยก็เป็ยส่วนของ Real Body ที่เกิดขึ้น ราคาเปิด ราคาปิด  พร้อมขนาดที่เกิดขึ้น ในที่นี้บอกถึงว่า มีการเกิดขึ้นตรงไหนและฝ่ายไหนเป็นฝ่ายชนะ ตอนแรกก็เป็นฝ่าย sellers พอจบเป็นฝ่าย buyers เพราะสามารถดันราคากลับมาได้ ก็หมดเวลาของแท่งเทียนไปก่อน แท่งทียนก็มี lower wick เกิดขึ้น

หางบาร์ที่เกิดขึ้นบอกมีการเทรดเกิดขึ้นหรือ trading transactions พื้นที่ของแท่งเทียน หรือพูดง่ายๆ ก็บอกว่ามี trading transaction มากเกิดขึ้นจากทางไหน   ดังนั้นเมื่อ trading transactions เกิดขึ้นตรงนั้น หมายความว่ามี long positions (จากเทรดเดอร์ที่เปิด buy orders) และ short positions (จากเทรดเดอร์ที่เปิด short orders) เมื่อมองดูที่เกิด lower wick ของ H4 จะเห็นว่าเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดในส่วนของ wick เมื่อดู M30 ก็ตรงก่อนที่ราคาจะเด้งขึ้นมา ตอนนี้ก็กลายเป็น trapped traders เพราะติดลบราคาวิ่สวนและยังไม่ได้ออก

ดังนั้นเรื่องของแท่งเทียนเมื่อเข้าใจส่วนประกบอที่ทำให้เกิดและ trading transactions เกิดขึ้นที่ไหนและฝ่ายไหนเป็นฝ่ายชนะ แต่ละแท่งเทียนบอกความต่อเนื่องของ transaction ที่เกิดขึ้น ดังนั้นการอ่านแท่งเทียน จำเป็นต้องอ่านต่อเนื่อง หรือมีปริบทนำหน้า transactions ที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่ามีการเทรดที่ไหน มีการเทรดอย่างไรว่ามีขาใหญ่เข้าเทดหรือเปล่า เพราะ transactions จะเกิดขึ้นได้เมื่อ match-and-fill ของออเดอร์ที่เกิดที่เวลาและวอลลูมเท่ากัน เมื่อจำนวนอีกข้างไม่พอกะจะทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ จะเห็นว่าการอ่าน price action patterns ต่างๆ ก็เทียบบาร์นำหน้าหรือปริบทที่นำหน้าเป็นสำคัญ เช่น Inside Bar, Outside Bart เพราะจะได้อ่านความหมายต่อเนื่องกัน

แท่งเทียนเลยเป็นข้อมูลอันแรกที่ต้องดูให้ออกว่ามีการเทรดตรงไหน และอย่างไร เลยกลายมาเป็นพื้นที่แนวรับ หรือแนวต้าน หรือมองเป็น demand/supply zone ที่เกิดขึ้นแล้วรอการเทรดเมื่อราคากลับมา เพราะ transactions บอกว่ามีการเทรดตรงไหน หรือร่องร่อยก็จะเป็นจุดอ้างอิงในการเข้าเทรดอีกรอบเมื่อราคากลับมา

ทีมงาน : thaiforexbroker.com