ทฤษฎีดาว ( Dow Theory)
Dow Theory หรือที่เรียกว่าทฤษฎีดาว กำเนิดขึ้นเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว ผู้ที่คิดค้นคือ Mr. Charles Henry Dow เขาเป็นผู้พัฒนาการวิเคราะห์ทางเทคนิค การเก็งกำไร รวมทั้งกฎ Industrial average ในตลาดหุ้น จนทำให้ในช่วงนั้น (ปลายศตวรรตที่ 19) เกิดทฤษฎีใหม่ๆขึ้นมา

Dow ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ The wall street journal โดยมีเพื่อนของเขาเป็นหุ้นส่วน ชื่อ Edward Jones รูปแบบฉบับของหนังสือพิมพ์จะเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งหุ้นต่างๆ แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีอะไร จึงเป็นการยากที่จะเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ เขาเลยคิดดัชนีขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อตัวเขากับเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วน ชื่อว่าดัชนีดาวโจนส์ โดยเอาหุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนี ใช้เป็นตัวอ้างอิง เพื่อจะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด รวมทั้งมีการนำตัวเลขดัชนีมาเขียนเป็นกราฟ ให้เห็นรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา (Price Pattern) เพื่อที่จะสามารถคาดคะเนแนวโน้มได้
ปี 1902 Dow ได้เสียชีวิต แต่ก็ยังคงมีหนังสือออกมาใหม่มากมายที่อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขา เช่น The ABC of stock speculation , The stock market barometer จากกฏหรือหลักการรวมทั้งแนวคิดต่างๆของเขาทั้งหมด ทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิคของฝั่งตะวันตก ปัจจุบัน (กันยายน 2016) ถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่ทฤษฎีของ Dow ยังคงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคทั้งในตลาดหุ้นและตลาดฟอร์เร็กซ์อย่างต่อเนื่อง เช่น การต่อยอดพัฒนามาเป็นการนับคลื่นใน Elliott wave เป็นต้น ในบทความนี้เราจะมาสรุปว่า กฎ-หลักการ หรือทฤษฎีที่ Dow ได้กล่าวไว้ ว่ามีอะไรบ้าง มาดูกัน
ทฤษฎี Dow แบ่งออกเป็น 6 หลักการสำคัญ คือ
- ตลาดมีการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ (The market has three movements) คือ
- แนวโนมโหญ่(The main movement or Primary trend) = 1-3 ปี หรือมากกว่า
- แนวโน้มกลาง(The medium swing or Intermediate trend) = 3 สัปดาห์ – 3 เดือนหรือมากกว่า
- แนวโน่้มระยะสั้นๆ (The short swing or Minor trend) = รายวัน – เดือนหรือมากกว่า
- ตลาดหุ้นมี Trend แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ (Market trends have three phases) คือ
- ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase)
- ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase)
- ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase)
- ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดอยู่แล้ว (The prices reflect the market already)
- ทุกอย่างต้องมีความสอดคล้องกัน (Market Indexes Must Confirm Each Other)
- ถ้าตลาดจะมีเทรนด์ต้องมีปริมาณยืนยัน (Volume Must Confirm The Trend)
- ราคาจะขึ้นจนกว่ามันจะไม่ขึ้น และจะลงจนกว่ามันจะลง (Trends exist until definitive signals prove that they have ended)
หมายเหตุ:การเทรดในตลาดฟอร์เร็กซ์จะนิยมเล่นในช่วงสั้นๆ กัน หากอาศัยกฏและหลักการตามทฤษฎีของดาว ไทม์เฟรมที่เหมาะสมก็คือ แนวโน้มใหญ่=MN- W1 แนวโน้มกลาง= D1-H4 แนวโน้มย่อยระยะสั้นๆ= H1-M1
สรุปง่าย ๆ สั้นนะครับ ว่า มีแค่ 3 ส่วน คือ
1. แนวโน้มขาขึ้น ( up trend )
2. แนวโน้มขาลง ( down trend )
3. แนวโน้มออกข้าง ( side way )
ซึ่งตลาดจะมี 3 ช่วงนี้อยุ่เสมอ ซึ่งผมจะกล่าวถึงแบบทีล่ะ แนวโน้มในหัวข้อถัดไปนะครับ
1.รูปแบบแนวโน้มขาขึ้น Up trend
กฎของแนวโน้มขาขึ้น คือ ทำ hi ที่สูงขึ้น และ ทำ Low ที่สูงขึ้น จากในรูป คือ H1 H2 H3 และ L1 L2 L3 จะสูงขึ้นจากจุดเดิม เสมอ
ในภาพ ใช้คู่เงิน AUD/JPY กราฟ 4 hr ขาขึ้น ในตำนาน กราฟสวยงามมาก
2.รูปแบบแนวโน้มขาลง Down trend
กฎของแนวโน้มขาลง คือ ทำ hi ที่ต่ำลง และ ทำ Low ที่ต่ำลง จากในรูป คือ H1 H2 H3 และ L1 L2 L3 จะต่ำกว่าจากจุดเดิม เสมอ
สภาพแบบนี้เป็นสภาพที่ เทรดเดอร์ อึดอัดที่สุด นั่งรอ ไปเถอะครับ ดู แมนซิ กะ ลิเวอร์พูล รอเหอะ
ทีนีมาดูว่า จะหาจุดเข้า ออร์เดอร์ กันยังงัย ในทั้งขาลงและขาขึ้น อันดับแรกที่เราควรจะรู้คือการมองเทรนให้ออกก่อน ว่าตอนนี้เราอยุ่ในเทรนอะไร โดยการมองทุก TF ของคู่นั้นๆเน้นนะครับว่า ถ้ามองไม่ออก ไม่ต้องไปพยายามหา เพราะถ้ามันเป็นเทรนชัดเจนเราจะมองออกทันที อย่าลืมนะครับ การเทรดให้อยุ่รอด คือ เทรดในโซนที่เราชำนาญหรือได้เปรียบเท่านั้น ตลาดมีโอกาสเสมอ ตราบใดที่เรายังไม่ออกออเดอร์เงินยังอยุ่กับเรา ไม่ต้องรีบโตครับ ค่อยๆโตไป
ตอนนี้ขอใช้คู่ AUD/JPY เริ่มต้นดูเทรนที่ กราฟ 4 hr มาดูขาขึ้น
ในภาพ เราเฝ้าดู L1 จน เจอ L2 ที่ยกตัวสูงขึ้น และ H1 เปรียบเทียบ กับ H2 ซึ่ง H2 ก็ ปิดสูงกว่า จากนั้น แท่งต่อมาที่ปิดสูงกว่า H2 ก็ จัดการเข้า Buy เลย …
มาดูขาลง กัน
ในภาพนี้ ดูแล้ว เป็นขาลงที่ แรง มาก จน หา H1 , H2 แทบไม่เจอ เรามารอจังหวะ L2 ที่เปิดต่ำกว่า แท่ง L1 ค่อยเข้า Sell ดู ดูแล้ว เหมือน ไม่ยาก แต่ .. พอเทรดจริง ๆ แล้ว เป็นอีกเรื่อง
พอหอมปาก หอมคอ กันนะ ทฤษฎีดาว พบกัน ตอนต่อไปครับ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com