การใช้ Pending Order ในการส่งคำสั่ง

Pending Order

การใช้ Pending Order ในการส่งคำสั่ง

คำสั่ง Pending Order เป็นการส่งคำสั่งที่ใช้ในกรณีที่เราต้องการส่งคำสั่งซื้อขายในระดับราคาที่เราต้องการ ณ ราคาที่เราต้องการหลังจากที่ได้ผลจากการวิเคราะห์ การส่งคำสั่งแบบ Pending Order ทำให้เราไม่ต้องนั่งเฝ้าหน้าจอ เพราะเราสามารถส่งคำสั่งทิ้งไว้ และเมื่อราคามาถึงจุดที่เรากำหนดไว้ คำสั่งก็จะถูกเปิดโดยอัติโนมัติ การส่งคำสั่ง Pending Order สามารถแยกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ การส่ง Limited Order และการส่งแบบ Stop Order โดยจะมีรายละเอียดังนี้

เมื่อไหร่ที่เราควรใช้คำสั่ง Pending Order

การจะใช้คำสั่ง Pending Order เราจะต้องทำการกำหนดจุดที่เราจะเข้าเทรดไว้ก่อน โดยใช้การวิเคราะห์ ในตัวอย่างนี้เราจะทำการวิเคราะห์โดยใช้ Trend Chanel หรือ Indicator ที่เรียกว่า Equidistance Chanel ดังนี้

Equidistance Chanel

รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างการวิเคราะห์ โดยใช้ Equidistance Chanel เพื่อกำหนดจุดเข้า-ออกไว้ล่วงหน้า

จากรูปข้างต้น เราได้ทำการวิเคราะห์ตามเครื่องมือ Equidistance โดยใช้สมมุติฐานว่า ถ้ามันแตะเส้นสีน้ำเงินด้านล่างของเส้น Equidistance มันจะดีดกลับ เมื่อเราวิเคราะห์ออกมาเช่นนั้น เราจึงยึดเส้นสีน้ำเงินเป็นเกณฑ์ในการส่งคำสั่ง จึงตั้งราคา Pending ไว้ที่จุดนั้น การตั้งคำสั่งในลักษณะนี้ เรียกว่า คำสั่ง Limited Order นั่นคือ เราคาดหวังว่าราคาจะวิ่งไปชนจุดนั้นแล้วจะดีดกลับ โดยมีวิธีการส่งคำสั่งดังนี้

คำสั่ง Limited Order

รูปที่ 2 แสดงขั้นตอนการส่ง Limited Order

การจะส่งคำสั่ง ให้เปิดหน้าจอ MT4 ในค่าเงินที่เทรด ในตัวอย่างเราเปิดค่าเงิน EURUSD ขึ้นมาเสร็จแล้วกด F9 จะได้หน้าต่างดังรูปขึ้นมา แล้วให้ไปที่ หมายเลข 1 ดังรูปทำการกดที่กล่องข้อความ จะปรากฏข้อความให้เลือก 2 อัน คือ Market Execution คือการส่งคำสั่ง ณ ราคาที่ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ ณ ตอนนั้น กับคำสั่ง Pending Order คือคำสั่งที่เราจะเลือกตั้งราคา ซึ่งในตัวอย่างจากการวิเคราะห์โดยใช้เส้น Equidistance Chanel เราจะส่งคำสั่ง Buy เมื่อราคาเคลื่อนไหวมาชน เส้นสีน้ำเงินด้านล่าง โดยการเลือกไปที่ Buy Limit ในภาพคือ หมายเลข 2 เสร็จแล้วทำการกรอกราคาซึ่งในตัวอย่างสมมุติให้ เส้นสีน้ำเงินด้านล่างของกราฟตรงกับราคา EURUSD = 1.13338 หลังจากนั้นกด Place ในหมายเลข 4 เมื่อเราส่งคำสั่งไปแล้วเส้นจะปรากฏขึ้น การเทรดคำสั่ง Limit Order จึงเป็นความคาดหมายว่าราคาจะเกิดจุดกลับตัว

ขณะที่ ยังมีการส่งคำสั่งอีกประเภท นั่นคือ เราคาดการณ์ว่าราคาจะเกิด Break Out หรือทะลุขึ้นไปจากการวิเคราะห์ของเราและไม่กลับตัวลงมา การส่งคำสั่งใน Metatrader 4 จะแตกต่างออกไป เราจะใช้คำสั่ง Stop Order เข้ามาแทน ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

รูปที่ 3 แสดงคำสั่ง Buy Stop Order จากการวิเคราะห์

การส่งคำสั่ง Buy Stop ออเดอร์ เราคาดหมายว่าราคาจะขึ้นสูงกว่าเส้นสีน้ำเงินด้านบน เราจึงทำการส่งราคาไว้ล่วงหน้าจากราคาปัจจุบัน ซึ่งลักษณะการเทรดแบบนี้เรียกว่าการเทรด Break Out และเพื่อให้เข้าใจลักษณะการส่งคำสั่ง Pending 2 แบบมากขึ้น จึงขอแสดงตัวอย่างในหัวข้อถัดไป

คำสั่ง Pending แบบ Stop Order และ Limit Order

คำสั่งแบบ Limit Order และ Stop Order สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งคำสั่ง Buy และคำสั่ง Sell โดยแสดงเป็นภาพประกอบในกรณี Buy และ Sell แยกกันดังต่อไปนี้

จุด Buy Stop และ Sell Limit 

รูปที่ 4 แสดงจุด Buy Stop และ Sell Limit

จะเห็นได้ว่า การส่ง Buy Stop และ Sell Limit นั้นจะเป็นเส้นเดียวกัน สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เป้าหมายของการเทรด ถ้าคาดว่าราคาจะไปต่อจะส่ง Stop และถ้าราคากลับตัวจะส่งคำสั่ง Sell Limit นั่นเอง

จุด Sell Stop และ Buy Limit

รูปที่ 5 แสดงจุดคำสั่งแบบ Sell Stop และ Buy Limit

จากรูปข้างต้นก็จะเห็นเช่นกันว่า จุด Sell Stop และ Buy Limit เป็นจุดเดียวกัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือ เป้าหมายของเทรดเดอร์ ตรงกันข้ามกับคำสั่ง Buy Stop และ Sell Limit นั่นเอง

ส่วนใหญ่การใช้คำสั่งแบบ Pending Order จะใช้กับการพยากรณ์ราคาโดยใช้เครื่องมือบางประเภทเท่านั้น เครื่องมือที่บอกเทรนด์ ประเภท Moving Average มักจะไม่ได้รับความนิยม หรือ เครื่องมือ ประเภท Oscillator เช่น RSI  Stochastic MACD ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากหาจุดเข้าเทรดที่แน่นอนไม่ได้ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อส่งคำสั่ง Pending Order บ่อย ๆ ได้แก่  Fibonacci  Retracement เครื่องมือ Regression Line เส้น Trend Line และ Horizontal Line นอกจากเครื่องมือประเภท Indicator ดังกล่าว ก็ยังมีการใช้ Price Action หรือ Price Pattern เช่นรูปแบบผีเสื้อ รูปแบบค้อน จุดกลับตัวแบบ Moring Star การวิเคราะห์จุดกลับตัวต่าง ๆ ก็สามารถใช้ในการคาดการณ์การกลับตัวของราคา ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าเราต้องส่งคำสั่งล่วงหน้า ณ จุดใด

วัตถุประสงค์ของการใช้คำสั่ง Pending Order เป็นการส่งคำสั่งไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ความสะดวกสบายสำหรับวิธีการเทรดเพียงบางวิธีการเท่านั้น ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องมือบางประเภท นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของราคาไม่สามารถคาดเดาได้แน่นอน ผู้ใช้เครื่องมือ หรือ Indicator ใด ๆ ควรมีความเข้าใจเรื่องอื่นประกอบด้วย ตัวอย่างเช่น การจัดการการเงิน ความเสี่ยงและความน่าจะเป็น อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการตัดสินใจในแต่ละครั้ง

Keywords: Buy Stop, Buy Limit,  Sell Stop, Sell Limit,  การใช้ Pending Order การวิเคราะห์กราฟสำหรับ Pending Order

ทีมงาน : thaiforexbroker.com