การวิเคราะห์ : Technical หรือ Fundamental

การวิเคราะห์ : Technical หรือ Fundamental

การวิเคราะห์ข้อมูลในการเทรตต่างกัน ทำให้รูปแบบการเทรดต่างกัน เลยทำให้เกิดมุมมองการเทรดจากจุดเดียวกันต่างกันออกไป ดังนั้นชาร์ตเดียวกันแต่ละเทรดเดอร์มองต่างกันออกไป เพราะทั้งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ เทรดแบบอิงข้อมูลข่าวหรือที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ หรือเทรดเพราะดูข้อมูลจากราคาหรือ price chart อย่างเดียว

การเทรดที่เกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ และเพราะการวิเคราะห์ price chart มีข้อดีและข้อเสียต่างกันขึ้นกับเทรดเดอร์ประยุกต์ไป เพราะหลักการทำงานออเดอร์อย่างไรก็เป็นเรื่องเดียวกัน ข่าวยิ่งถ้าเป็นข่าวแรงมีผลต่อพฤติกรรมของเทรดเดอร์เลยทำให้เกิด volatility ช่วงนั้นๆ เยอะเลยมักจะตามมาด้วยการวิ่งที่แรงเกิดขึ้นในเวลาอันสั้นแต่ข่าวก็จะมีผลระยะยาวเป็นหลัก หรือถ้าเป็นการเทรด chart pattern ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์แบบ technical เมื่อโครงสร้างเปิดเผยเป็น pattern มักจะตามมาด้วยการเทรดทางนั้นเยอะเพราะเทรดเดอร์ทั้งหลายต่างก็รู้จักเช่น head and shoulders

เปรียบเทียบระหว่างการวิเคราะห์แบบ technical และ fundamental

Technical Analysis Fundamental Analysis
นิยาม การพยากรณ์การเคลื่อนไหวราคาดู price chart หรือ chart patterns ใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อเป็นตัวกำหนดหรือเป้าหมายราคา
ข้อมูลในการวิเคราะห์ Price actions หรือชาร์ต ข้อมูล ภาวะเงินเฟ้อ, GDP, อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
ช่วงเวลากระททบ เวลาสั้น ปานกลาง และระยะยาว ระยะปานกลาง และระยะยาว
ความสามารถที่ต้องการ วิเคราะห์ชาร์ตเป็น วิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและสถิติเป็น

 

วิเคราะห์แบบข้อมูลพื้นฐานหรือ Fundamental analysis

การวิเคราะห์แบบนี้จะประเมินค่าหรือตีค่าจากข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ เป็นหลัก เพื่อเป็นตัวกำหนดราคาจะขึ้นหรือลง โดยไม่ได้ใส่ใจเรื่องการเคลื่อนไหวราคาของค่าเงินนั้นๆ ถ้าตัวเลขไปทางบวกก็จะมองหาโอกาสเทรดไปทางขึ้นเป็นสำหรับค่าเงินนั้นๆ โดยเทรดเดอร์ที่เทรดแนวอิงการวิเคราะห์แบบนี้ก็จะใช้ตัวเลขจากข้อมูลพื้นฐานพวกนี้เป็นตัวกำหนด ความแข็งของค่าเงินนั้นๆ

เทรดเดอร์ที่วิเคราะห์ด้วยข้อมูล fundamental ก็จะวิเคราะห์อัตราเงินเฟ้อ ดุลย์การค้า  GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ) การเติบโตและการว่างงาน หรือแม้แต่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ที่เกี่ยวกับค่าเงินที่เทรดเดอร์ต้องการจะเทรด เช่นอย่างข้อมูลข่าวที่มีการอัพเทดตลอดที่ forexfactory ก็นำเสนอให้ท่านปรับ time zone ให้เข้ากับเวลาประเทศเรา และมีการให้เรื่องผลกระทบต่อค่าเงินด้วยการใช้สี สีเหลืองสำหรับข่าวที่ธรรมดาไม่มีผลกระทบมาก   สีส้มสำหรับข่าวที่มีผลกระทบปานกลาง และสีแดงสำหรบข่าวที่มีผลกระทบมากสุด โดยเทรดเดอร์ก็จะใช้ข้อมูลที่ได้จากข้อมูลพื้นฐานพวกนี้ที่เกียวกับค่าเงินนั้นๆ ตามผลกระทบที่ต่างกันออกไปเพื่อเป็นตัวคาดการณ์การขึ้นหรือลงของราคาในอนาคต ไม่ได้คาดการณ์ทันทีแต่เป็นช่วงปานกลางและระยะยาวขึ้นเป็นหลัก เพราะเทรดเดอร์พวกนี้เชื่อว่าอย่างไร ราคาก็ต้องวิ่งมาทางข้อมูลพื้นฐานอยู่ดี

เช่น ถ้าตัวเลขของ GDP (Gross Domestic Product) ที่เกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ สูงกว่าที่คาดการณ์ก็จะส่งผลด้านบวกกับค่าเงินนั้นๆ หรือ CPI (Consumer Price Inflation) สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ก็จะส่งผลด้านบวกกันค่าเงินนั้นๆ หรือดุลการค้า (Trade Balance) เช่นขาดดุลการค้าเพราะนำเข้ามากกว่าส่งออก ก็จะส่งผลลบต่อค่าเงินนั้นๆ หรือ Central Bank benchmarket rate มีการขึ้นดอกเบี้ยก็จะทำให้ค่าเงินนั้นๆ ไปทางบวก การดูผลกระทบสำหรับเทรดเดอร์ที่ใหม่ต่อการวิเคราะห์เทรดแบบอิง fundamental สามารถดูข่าวจากที่ forexfactory แล้วเปิดชาร์ตย้อนหลังวันนั้นๆ ประกอบได้ว่ามีผลอย่างไร แต่ต้องเข้าใจเรื่องผลกระทบจากการเคลื่อนไหวราคาจากข้อมูลพวกนี้ไม่ได้มีผลทันทีแต่มีผลกระทบระยะปานกลางและระยะยาวเป็นหลัก กลยุทธ์ที่เห็นส่วนมากจะเป็นการเทรดที่ timeframe ใหญ่ขึ้นหรือเช่นพวก swing traders หรือ position traders

สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดๆ เป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีข่าว fundamental แรงๆ มักจะส่งผลต่อ volatility ของคู่เงินที่เกี่ยวข้องกับข่าวเลยทำให้ราคาวิ่งดี มักจะเปิดโอกาสให้เข้าเทรดทำกำไรในเวลาอันสั้นได้

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ technical หรือ technical analysis

การวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสเทรดแบบนี้เรียกสั้นๆ ว่า TA เป็นการใช้ข้อมูลจากราคาที่เปิดขึ้นเป็นหลักที่เกิดขึ้นกับ price chart เป็นทั้งรูปแบบการใช้อินดิเคเตอร์หรือ chart patterns, หรือ price levels ไม่ว่าจะเป็น support/resistance, supply/demand หรือ pivots, Fibonacci Retracements, Elliot Wav, Gartley patterns เป็นต้น ที่เป็นการใช้ข้อมูลจากชาร์ตเป็นหลักในการวิเคราะห์เป็นตัวนำ

โดยวิธีการพวกนี้ เทรดเดอร์ก็จะมีการกำหนดจุดเข้า จุดออก จุด stop loss และ take profit แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ pattern หรือหลักการเทรด  เช่น Double Bottom หลักการทั่วไปสำหรับรายย่อยก็จะเข้าเทรดเมื่อราคาเบรคส่วนที่เป็น high ลงจากที่ราคาลงไปทำ Bottom ที่ 2 และการตั้ง stop loss ก็แถว Bottom ที่ 2 เป็นต้น

ส่วนมาก เทรดเดอร์ด้าน TA ก็จะมีทั้งที่อ่านชาร์ตเปล่า อ่านแนวรับ-แนวต้านหรือ demand/supply และใช้อินดิเคเตอร์ประกอบ แล้วแต่รูปแบบการเทรดและความรู้ความเข้าใจตลาดของแต่ละเทรดเดอร์เป็นหลัก  หรือมีการใช้หลายๆ อย่างประกอบกัน เช่นทั้งแนวรับแนวต้าน อินดิเคเตอร์ และการวิเคราะห์หลาย timeframes ประกอบกันใช้หลักการ confluence ที่เกิดจากหลาย TA ประกอบกันเพื่อเป็นการเพิ่มความเป็นไปได้แต่ละ trade setup ที่เกิดขึ้น

จะเห็นว่าทั้งการวิเคราะห์แบบ technical และ fundamental เพื่อการเข้าเทรดต่างมีประโยชน์ต่างกันออกไปแล้วแต่กลยุทธ์การเทรดของแต่เทรดเดอร์ หรือใช้ทั้งสองอย่างเข้าดัวยกันเป็นตัวช่วยกรองข้อมูลก่อนการตัดสินใจเข้าและออกจากการเทรด

ทีมงาน : thaiforexbroker.com